กลายเป็นข่าวปนฮา เมื่อเอ็นจีโอทางด้านสิ่งแวดล้อมรายใหญ่ของประเทศเยอรมนี ออกมายื่นฟ้องร้องต่อค่ายรถรายใหญ่ของประเทศอย่าง BMW (บีเอ็มดับเบิลยู) และ Daimler (เดมเลอร์) บริษัทแม่ของ Mercedes-Benz (เมอร์เซเดส-เบนซ์) อย่างใหญ่โต
ข้อกล่าวหาที่มีการฟ้องร้องกันก็คือ เอ็นจีโอรายนี้ระบุว่า ค่ายรถทั้ง 2 ไม่ได้เข้มงวดและรัดกุมกับมาตรการการลดการปล่อยคาร์บอนอย่างเพียงพอ อีกทั้งยังล้มเหลวในการเข้าจัดการปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก ซึ่งมีการรับฟ้องแล้ว
คดีนี้ถือเป็นคดีต้นแบบคดีแรกของการที่ประชาชนชาวเยอรมัน สามารถยื่นฟ้องร้องบริษัทเอกชนในเรื่องของปัญหาภาวะสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งอาจจะกลายเป็นบรรทัดฐานในอนาคต เหมือนที่ Volkswagen (โฟล์กสวาเกน) กำลังอาจจะเจอฟ้องจากกรีนพีซ
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
การฟ้องร้องดังกล่าว เกิดขึ้นท่ามกลางข้อตกลงและการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมยานยนต์จากผู้ประกอบการรายใหญ่ทั้ง 3 ราย ที่ต่างก็มุ่งมั่นที่จะพัฒนายานยนต์พลังงานไฟฟ้ารูปแบบต่าง ๆ ออกมามากมายในปัจจุบัน พร้อมผนงานที่ชัดเจนในอนาคต
อย่างไรก็ตาม เอ็นจีโอรายดังกล่าวกลับเห็นต่างกันออกไป และโต้แย้งว่าค่ายรถทั้งหมดยังไม่ได้ทำงานอย่างเพียงพอที่จะช่วยลดปัญหาทางด้านการปล่อยคาร์บอน พร้อมทั้งยกข้อกำหนดทางกฎหมายที่ประกาศใช้ในเดือนพฤษภาคม 2563 มากล่าวอ้าง
เกิดอะไรขึ้นกับวันนั้น ที่ทำให้พวกเขาโดนฟ้อง
ย้อนกลับไป 1 ปี ศาลสูงสุดของประเทศเยอรมนีประกาศว่า กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไม่สามารถให้ความคุ้มครองประชากรในเจนเนอเรชั่นถัดไปได้ และมีการตั้งงบประมาณเพื่อการลดการปล่อยมลพิษจากภาคธุรกิจต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม
แผนงานในครั้งนั้น ได้เร่งเครื่องให้พวกเขามีเป้าหมายในการลดการปล่อยมลพิษลงให้ได้ 65% จากปี 2533 ถึงปี 2573 ซึ่งเพิ่มจากเป้าหมายเดิมที่ระบุเอาไว้ 55% และยังเป็นก้าวแรกสู่การเปฺ็นสังคมที่ไม่ปล่อยคาร์บอนตามเป้าที่กำหนดเอาไว้ในปี 2588
แน่นอนว่าทั้งบีเอ็มดับเบิลยู เดมเลอร์ และโฟล์กสวาเกน ก็อยู่ในกลุ่มภาคธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มีการแบ่งปันเป้าหมายการลดมลภาวะในอนาคตเช่นกัน แต่เอ็นจีโอก็บอกว่า การทำงานของค่ายรถเหล่านี้ยังไม่สอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลที่วางไว้อยู่ดี
แม้จะมีการรับฟ้องกันเกิดขึ้น แต่ก็คงเป็นเรื่องที่ยากที่จะตัดสินได้ว่ามันจะออกมาในทิศทางใด เพราะเอาจริง ๆ ค่ายรถทุกค่ายต่างก็แข่งขันกันอย่างดุเดือดในเรื่องของการเปิดตัวสินค้าใหม่ และเกือบทั้งหมดก็พยายามจะทำรถไฟฟ้าเต็มรูปแบบอยู่แล้ว
โฟล์กสวาเกนเองมีแผนงานที่จะขึ้นไปเป็นผู้นำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าแข่งกับ Tesla (เทสล่า) ให้ได้ภายในปี 2568 ขณะที่เมอร์เซเดส-เบนซ์ก็ตั้งเป้าที่จะขายรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดก่อนสิ้นทศวรรษนี้ และบีเอ็มดับเบิลยูก็เดินสายไปในทิศทางเดียวกันแน่นอน
Pisan
หัวหน้าทีมบรรณาธิการ
Head of Content ของ AutoFun Thailand ผู้ใช้ชีวิตกับรถมาตั้งแต่สมัยใส่ขาสั้นไปโรงเรียน ทุกวันนี้รถติดบนถนนมากกว่าวันละ 2-3 ชั่วโมง ที่้บ้านใช้งานรถหลายแบบ ตั้งแต่อีโคคาร์ เอ็มพีวีไปยันปิกอัพ อยู่ในวงการมายาวนานกว่า 2 ทศวรรษ ทำมาแล้วทุกอย่างทั้งงานเปิดตัว ทดสอบรถ ผ่านการอบรมการขับขี่ตั้งแต่คอร์สเริ่มต้นไปจนแอดวานซ์จากค่ายรถมากมายทั้งในและต่างประเทศ ยังเชื่อว่ารถทุกคันทำมาสำหรับลูกค้าบางกลุ่ม ถ้ามันไม่เหมาะกับคุณ ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะไม่ดีสักหน่อยนะ...
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });