อุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เกิดจากผู้ขับขี่สูงอายุมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวแล้วในปี 2564
กระทรวงสาธารณสุขไทยระบุว่า ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปี 2548 ตอนนั้นเรามีผู้สูงอายุ 10.4% และในปี 2564 นี้ ไทยได้เข้าสู่ “สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์” ตามหลักเกณฑ์ชี้วัดคือมี “คนแก่” อายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ และคาดการณ์ว่าในปี 2574 เราจะเข้าสู่ “สังคมสูงอายุระดับสุดยอด”
ปัญหาสังคมผู้สูงอายุไม่ได้เป็นวาระแห่งชาติของไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประเทศญี่ปุ่นที่มีอัตราการเกิดต่ำที่สุดแห่งหนึ่งในโลก หนึ่งในปัญหาที่ตามมาของสังคมผู้สูงอายุก็คืออุบัติเหตุบนท้องถนนที่พบเห็นได้บ่อยครั้ง
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่นลดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2020 โดยมีจำนวนอยู่ที่ 2,839 ราย แต่ในจำนวนผู้เสียชีวิตดังกล่าวกลับมีผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีถึง 56.2% ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่มีการเก็บสถิติแบบแยกอายุครั้งแรกในปี 1966
เผยระบบความปลอดภัยที่ช่วยเหลือผู้ขับขี่สูงอายุได้ดี
เชื่อว่าบุตรหลานหลายคนมักมีความเป็นห่วงทุกครั้งที่พ่อแม่หรือญาติผู้สูงอายุของตนเองต้องขับรถไปไหนมาไหนคนเดียว อุบัติเหตุบนท้องถนนที่เกิดกับผู้สูงอายุในประเทศญี่ปุ่นนั้นมีตั้งแต่สร้างความเสียหายทางทรัพย์สินเล็กน้อยไปจนถึงบาดเจ็บสาหัสและมีผู้เสียชีวิตหลายราย
ศูนย์วิเคราะห์อุบัติเหตุจราจรของญี่ปุ่น (ITARDA) ระบุว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนสูงอายุประสบอุบัติเหตุมากที่สุดคือการเหยียบคันเร่งผิดพลาดหรือผู้ขับขี่ตั้งใจเหยียบเบรกแต่กลับไปเหยียบคันเร่งแทน ทำให้ตัวรถพุ่งไปข้างหน้าหรือถอยหลังโดยไม่ตั้งใจ สร้างความเสียหายมากน้อยแล้วแต่สถานการณ์
ITARDA ระบุด้วยว่า เมื่อผู้ขับขี่เหยียบคันเร่งผิดพลาดแล้วตัวรถพุ่งไปข้างหน้า ส่วนใหญ่จะเกิดอาการตกใจและกดคันเร่งเพิ่มเติม ทำให้ความเร็วพุ่งสูงขึ้นนำไปสู่ความเสียหายมากขึ้น
อุบัติเหตุดังกล่าวป้องกันได้ด้วยระบบความปลอดภัยที่พัฒนาขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงในการเหยียบคันเร่งผิดพลาดโดยเฉพาะ อย่างระบบ Radar Sensing Misacceleration Mitigation System-Forward หรือระบบตัดกำลังเครื่องยนต์ชั่วขณะเมื่อเหยียบคันเร่งอย่างรุนแรงและรวดเร็วซึ่งติดตั้งอยู่ในรถยนต์ซิตี้คาร์อย่าง Mitsubishi Mirage (มิตซูบิชิ มิราจ) และ Mitsubishi Attrage (มิตซูบิชิ แอททราจ) รวมถึง Mitsubishi Outlander PHEV (มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี)
ระบบนี้เป็นระบบเสริมความปลอดภัย ช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการชน โดยใช้คลื่นเรดาร์ตรวจจับวัตถุด้านหน้าในระยะไม่เกิน 4 เมตร ในขณะที่เกียร์อยู่ตำแหน่ง “D” หากมีการเหยียบคันเร่งผิดพลาดอย่างรุนแรง และรวดเร็ว ระบบจะทำการเตือนและตัดกำลังเครื่องยนต์ชั่วขณะอัตโนมัติ และทำงานที่ความเร็วต่ำกว่า 10 กม./ชม.
ระบบนี้ยังมีอยู่ใน Isuzu MU-X (อีซูซุ มิวเอ็กซ์) ในชื่อ "ระบบตัดกำลังเครื่องยนต์เมื่อเหยียบคันเร่งผิดพลาด" (Pedal Misapplication Mitigation) ระบบจะตรวจจับการเหยียบคันเร่ง และสิ่งกีดขวางด้านหน้าด้วยกล้องหน้าคู่ เมื่อพบว่ามีการเหยียบคันเร่งมากเกินไปโดยไม่ได้ตั้งใจด้วยแรงเหยียบเกินกว่า 30% ขณะรถยนต์จอดอยู่ หรือเคลื่อนที่ช้า ๆ และกล้องหน้าคู่พบสิ่งกีดขวางด้านหน้ารถยนต์มีระยะห่างน้อยกว่า 4 เมตร ระบบจะตัดการทำงานของเครื่องยนต์เพื่อป้องกันหรือลดความเสียหายของการชน
ขณะที่รถยนต์ของ Toyota บางรุ่นอย่าง Corolla Cross (โตโยต้า โคโรลล่า ครอส) ก็มาพร้อมระบบป้องกันการออกตัวฉุกเฉิน (Drive Start Control) ซึ่งมีหลักการทำงานแตกต่างออกไปเล็กน้อยแต่ก็สามารถช่วยป้องกันการใส่เกียร์ผิด หรือการเหยียบคันเร่งผิดพลาดได้
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่จะช่วยลดอุบัติเหตุจากการขับขี่ของผู้สูงอายุได้ ไม่ว่าจะเป็นการมีระบบช่วยเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ ช่วยลดอุบัติเหตุได้อีกทางหนึ่ง ขณะที่การใช้รถยนต์ที่มีทัศนวิสัยกว้างขวางจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายและลดความเครียดในการขับขี่ด้วยเช่นกัน
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });