รถยนต์ในทุกยุคทุกสมัยต่างมีการแข่งขันกันในด้านการออกแบบ ยิ่งในยุคที่น้ำมันแพง การออกแบบให้รถประหยัดน้ำมันก็เป็นสิ่งที่ค่ายรถแข่งขันกัน พอมาในยุคของรถยนต์ไฟฟ้า การออกแบบรถและระบบให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดก็เป็นสิ่งที่ผู้ผลิตอีวีแข่งขันกันอีกเช่นกัน
หนึ่งในสิ่งที่ช่วยให้รถมีประสิทธิภาพก็คือ ค่าสัมประสิทธิ์แรงต้านอากาศหรือค่า Cd หากค่านี้มีน้อยเท่าไหร่ ยานพาหนะของเราก็จะต้านลมน้อยลงเท่านั้น ซึ่งความต้านลมจะมีผลต่ออัตราสิ้นเปลืองของรถเช่นกัน
ซึ่งความต้านลมเหล่านี้เป็นผลมาจากการออกแบบตัวถังที่มีความลู่ลมไม่เท่ากันตามหลักอากาศพลศาสตร์ หรือแอโรไดนามิกส์
การแข่งขันด้านแอโรไดนามิกส์เป็นสิ่งที่ค่ายรถทำกันมานานแล้ว
แอโรไดนามิกส์เป็นสิ่งจำเป็นในการออกแบบรถ
การเข้ามาของ EV ทำให้แอโรไดนามิกส์จำเป็นขึ้น
การดีไซน์ตามแอโรไดนามิกส์อย่างเดียวอาจทำให้รถมีรูปร่างแปลก
เทคโนโลยีและวิธีการดีไซน์รถแบบใหม่เพื่อให้มีแอโรไดนามิกส์ที่ดี
Mercedes-Benz W125
ผู้มาก่อนกาล
การออกแบบรถยนต์ที่มีความต้านอากาศน้อยมาก ๆ มีมาหลายสิบปีแล้ว มนุษย์พยายามทำลายสถิติใหม่ทั้งด้านความเร็วสูงสุด โดยเฉพาะบนสนามแข่ง
เพราะแรงต้านอากาศเป็นสิ่งที่มีผลมากที่สุดเมื่ออยู่ในความเร็วสูง(แม้อยู่บนทางด่วน กำลังเกินครึ่งหนึ่งถูกลงไปที่การแหวกอากาศออกไป) การลดสัมประสิทธิ์ความเสียดทานจึงเป็นกุญแจสำคัญ
ในปัจจุบันเรามี Bugatti Veyrons และ Chirons ที่มีกำลังกว่า 1,000 แรงม้า และสามารถทำความเร็วสูงสุดมากกว่า 400 กม./ชม. ได้อย่างง่ายดาย แต่มีผู้ที่มาก่อนกาลตั้งแต่ปี 1938 เพราะ Mercedes-Benz ได้ทำความเร็วสูงสุดที่ 432.7 กม./ชม. ด้วยรุ่น W125 บนถนนหลวงได้ตั้งแต่ตอนนั้น !
Mercedes-Benz W125 ที่มีค่า Cd อยู่ที่ 0.235
สิ่งที่ทำให้ Mercedes-Benz W125 เอาชนะ Veyron ได้ตั้งแต่หลายสิบปีก่อน นั่นเป็นเพราะหลักอากาศพลศาสตร์ พลังของอากาศพลศาสตร์มีไว้เพื่อดันอากาศออกไปโดยวัดจากความเร็วของอากาศที่ไหลผ่าน แรงที่ใช้ดันอากาศเหล่านั้น ทำให้แรงจากระบบขับเคลื่อนนั้นสูญเสียไป(รวมถึง ความต้านทานการหมุน) โดยวัดกับความเร็วลมที่ปะทะมาเป็นเส้นตรง
ด้วยความเร็วนั้น พลังงานกว่า 90% จากระบบทั้งหมด จะใช้เพื่อเอาชนะอากาศพลศาสตร์หรือแอโร่ไดนามิกส์
Bugatti Chiron
Bugatti Chiron มีค่า Cd อยู่ที่ 0.36 ซึ่งอาจไม่ดีมากเท่าไหร่ แต่รถสปอร์ตส่วนใหญ่มีเป้าหมายที่แรงกดและการขับขี่ที่ดี ตัวอย่างเช่น รถ F1 มีค่า Cd อยู่ถึง 1.00 แต่พลังของมันก็มีมากเพียงพอที่จะเอาชนะแรงต้านอากาศเพื่อเพิ่มแรงกดของตัวรถ
แต่หากเป้าหมายคือการทำลายสถิติความเร็วสูงสุด มันจะต่างจากกรณีแรกทันที เพราะ W125 มีม้าเพียง 616 ตัวใต้ฝากระโปรง แต่ยังสามารถทำความเร็วสูงสุดกว่า 400 กม./ชม. ได้ ด้วยตัวถังที่เพรียวบางเป็นพิเศษซึ่งทำให้ค่า Cd ต่ำลงถึง 0.235 ซึ่งทำให้แรงต้านลมน้อยกว่า Chiron ถึงหนึ่งในสามเลยทีเดียว
Ford Probe V ที่มีค่า Cd เพียง 0.137 เท่านั้น
แอโรไดนามิกส์ส่งผลต่ออัตราสิ้นเปลือง
รถยนต์ทั่วไปที่ใช้โดยสารคนเป็นหลัก ควรจะเป็นอะไรที่ใช้งานได้จริง ปลอดภัย และมีราคาที่สามารถเข้าถึงได้ ดังนั้น แอโร่ไดนามิกส์จึงไม่ใช่เรื่องสำคัญที่สุดสำหรับรถทั่วไป แต่ก็มีความจำเป็น เพราะแอโร่ไดนามิกส์ก็ยังเป็นส่วนที่ทำให้มีการสูญเสียพลังงานมากที่สุด
ประสิทธิภาพของแอโรไดนามิกส์ที่ดีมีผลโดยตรงต่อการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง ยกตัวอย่างเช่น Ford ได้ทดลองรูปทรงต่าง ๆ สำหรับซีรี่ส์ของรถต้นแบบ “Probe” ซึ่ง Probe V มีค่า Cd ถึง 0.137 เท่านั้น
จะลู่ลมอย่างเดียวไม่ได้ ต้องหน้าตาเหมือนรถปกติด้วย
แล้วเหตุใดทำไมรถทุกคันถึงไม่มีหน้าตาแบบนี้? นอกจากเรื่องของการใช้งานจริงแล้ว สิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่ที่สุดก็คือรูปลักษณ์ แม้ทุกคนจะอยากได้รถที่มีแอโร่ไดนามิกส์ที่ดี แต่สำหรับรถทั่วไปแล้วก็ต้องสวยด้วย
ผู้ผลิตรถต่างก็พยายามทำรถที่มีแอโร่ไดนามิกส์ดีและยังมีรูปร่างที่สวยอยู่ เช่น Lightyear One ที่มีค่า Cd “ต่ำกว่า” 0.20 หรือ Mercedes-Benz EQXX ที่มีค่า Cd เพียง 0.17
แม้ในที่สุดแล้วจะออกมาดูดี และการออกแบบเป็นอะไรที่เจอกัน “ตรงกลาง” แล้ว เช่น การที่คนเจอรถที่ในด้านท้ายของรถที่ยาวเกินไป คนอาจจะไม่ได้ชอบตั้งแต่แรกเห็น
รถอีวีในปัจจุบันอย่าง Tesla Model S Plaid หรือ Lucid Air ก็ทำได้ดีในการออกแบบให้รถยังดูสวยแต่ยังคงค่า Cd ไว้ได้ดี(ที่ต่ำกว่า 0.20) แม้จะไม่ได้ดีเท่า Lightyear One หรือ EQXX แต่ก็ยังพอเหมือนรถทั่วไปบนท้องถนน
อ่านเพิ่มเติม : Lightyear One เป็นอีวีพลังแสงอาทิตย์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในโลกได้อย่างไร
Lucid Air
การผลักดัน EV
ตั้งแต่การเข้ามาของรถยนต์ไฟฟ้า ผู้คนต่างคำนึงถึงระยะทางที่รถจะขับได้ต่อหนึ่งการชาร์จเป็นส่วนใหญ่ ยิ่งตัวเลขของ km./kWh มีมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้รถถูกลง (เพราะใช้เซลล์แบตเตอรี่น้อยกว่า) เบาลง(น้ำหนักแบตเตอรี่ลดลง) และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ผู้ซื้อหลายคนอาจมีความกังวลเรื่องระยะทางขับขี่ แอโร่ไดนามิกส์จึงกลายเป็นตัวแปรสำคัญที่หากค่า Cd ของตัวถังยิ่งน้อยลงเท่าไหร่ ยิ่งทำให้มีระยะทางเพิ่มขึ้นหากเทียบด้วยแบตเตอรี่ขนาดเดียวกัน
Rivian R1T
นั่นทำให้ผู้ผลิตรถยนต์อย่าง Tesla ได้เน้นถึงเรื่องแอโร่ไดนามิกส์ที่มีผลต่อรถโดยเฉพาะ และรวมไปถึงรถบรรทุกของค่าย Tesla Semi truck และไม่ได้มีแค่เทสล่า แต่ Lucid และ Rivian ก็ทำงานอย่างหนักเพื่อทำให้รถมีประสิทธิภาพสูงสุด เท่าที่จะทำได้
ยานยนต์แห่งอนาคตจะเป็นอย่างไร
หากในอนาคตดีไซน์ของรถจะไม่มีการเจอกัน “ตรงกลาง” จะเป็นอย่างไร แต่นั่นก็ขึ้นอยู่ว่าใครเป็นคนนิยาม และอาจเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยด้วย
GAC ENO. 146 มีค่า Cd เพียง 0.146
สำหรับรถที่ต้องการแอโร่ไดนามิกส์ที่ดีจริง ๆ จะต้องมีอะไรปิดบริเวณล้อเอาไว้ด้วยเหตุผลต่าง ๆ แต่สำหรับ GAC ENO. 146 concept ที่เปิดตัวเมื่อปี 2019 ไม่มีอะไรแบบนี้ แต่มีค่า Cd เพียง 0.146 ซึ่งต่ำมาก และเมื่อเทียบกับ EQXX จะเห็นว่าเส้นสายบริเวณท้ายรถนั้นดูมีสัดส่วนที่ดีกว่าอีกด้วย
ลองเพิ่มความลู่ลมของรถที่ตัวเองมีด้วยซอฟท์แวร์
หากอยากทดลองดูว่ารถของเราจะมีแอโร่ไดนามิกส์ได้ดีกว่านี้ต้องทำอย่างไรบ้าง เราสามารถใช้โปรแกรมสามมิติ A2MAC1 โดย Vincent Keromnes
เริ่มจากมีคนใช้ Tesla Model S Plaid ของตัวเองทำการแสกนสามมิติลงโปรแกรมดังกล่าว และลองใช้การปิดบริเวณล้อให้มันลู่ลมยิ่งขึ้นคล้าย Lightyear One
Vincent ได้ลองทำเช่นนี้ถึงสองครั้ง ผลออกมาว่า หลังจากการปิดล้อหลังแล้ว จะช่วยลดการใช้พลังงานได้มาก ซึ่งจะทำให้ค่า Cd ลดลงถึง 3.5% ซึ่งมีผลอย่างมากในแง่ของประสิทธิภาพของแอโร่ไดนามิกส์
Aptera
Aptera ที่มีรูปร่างต่างจากรถทั่วไป
และหากต้องการไปไกลกว่ารถที่มีอยู่ในปัจจุบัน Aptera ก็เลยได้รูปร่างรถแบบใหม่ขึ้นมาซึ่งต่างจากรถทั่วไปเพราะมีเพียง 3 ล้อ !
Aptera มีค่า Cd เพียง 0.13
ค่า Cd จากโรงงานอาจมีมาตรฐานต่างกัน
แม้ค่า Cd ที่ปรากฏในบทความนี้จะมาจากค่าอย่างเป็นทางการจากผู้ผลิตรถยนต์ ซึ่งอาจจะมีการทดสอบหาค่า Cd ที่ไม่เหมือนกัน เช่น การทดสอบในอุโมงค์ลมอาจใช้ยาง ขนาดล้อ ความสูงของรถ หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจทำให้การเปรียบเทียบกันนั้นยากขึ้น
อย่างไรก็ตาม วิวัฒนาการของแอโร่ไดนามิกส์นั้นแสดงถึงการพัฒนาของยานยนต์ได้เป็นอย่างดี
แอโร่ไดนามิกส์จะมีผลมากขึ้นในอนาคต
ประสิทธิภาพตามหลักแอโร่ไดนามิกส์นั้นลดลงเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่อถึงในยุคของรถยนต์ไฟฟ้า และเราก็จะยังเห็นรถรูปร่างแปลก ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต
ทั้งรถที่รูปร่างที่ปกติแต่มีความลู่ลมที่เหนือชั้น หรือรถที่มีรูปร่างแปลกแต่สามารถดึงดูดคนได้มากกว่า แต่แอโร่ไดนามิกส์จะมีผลมากขึ้นแน่นอนสำหรับการออกแบบรถยนต์ในอนาคต
อ่านเพิ่มเติม : อะไรทำให้ Mercedes-Benz VISION EQXX วิ่งไกลได้ถึง 1,000 กิโลเมตร?