GAC แบรนด์รถยนต์จากจีน เปิดตัว GAC GS3 เอสยูวีขนาดเล็กในมาเลเซีย โดย GS3 อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันกับ Honda HR-V, Toyota Corolla Cross, Haval Jolion
ซึ่งตลาดเอสยูวีขนาดเล็กในเมืองไทยถือว่ากำลังร้อนแรง อาจมีความเป็นไปได้ที่ค่ายรถจากจีนจะนำ เข้ามาขายในบ้านเราบ้าง แต่ GS3 มีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง?
GAC GS3 โฉมที่จะจำหน่ายในมาเลเซียจะผ่านการไมเนอร์เชนจ์มาเรียบร้อย และเป็นรถนำเข้า (CBU) ทั้งคันจากจีน และจะมีให้เลือก 2 รุ่น เริ่มต้นที่รุ่น Standard ในราคา 7.09 แสนบาท
และรุ่น Premium ในราคา 7.74 แสนบาท โดยราคานี้จะไม่รวมประกันและปัจจัยด้านการยกเว้นภาษีของมาเลเซีย (50%) ที่ขยายถึงกลางปี 2022
สีทูโทนมีในรุ่นท๊อปเท่านั้น
ในเรื่องสีของตัวถังมีให้เลือกหลากหลาย แต่ในรุ่น Standard จะมีให้เลือก 3 สีเท่านั้น ได้แก่ Lunar Grey, Ivory White และ Starlight Silver
ส่วนรุ่น Premium จะมีสีแบบทูโทนให้เลือก ในสี Rosefinch Red และ Ivory White ตัดกับหลังคาสีดำ ส่วนถ้าต้องการสีจากรุ่นธรรมดาก็เลือกได้แค่สี Lunar Grey เท่านั้น
มิติตัวถัง
|
GAC GS3 |
Honda HR-V |
Haval Jolion |
ความยาว (มม.) |
4,358 |
4,385 |
4,472 |
ความกว้าง (มม.) |
1,825 |
1,790 |
1,841 |
ความสูง (มม.) |
1,660/1,685(ราวหลังคา) |
1,590 |
1,619 |
ระยะฐานล้อ (มม.) |
2,560 |
2,610 |
2,700 |
จะเห็นได้ว่า GS3 จะกว้างและสูงกว่า แต่สั้นกว่า HR-V และแพ้ที่ระยะฐานล้อ ส่วนถ้าเทียบกับเพื่อนร่วมชาติอย่าง Jolion จะชนะแต่ความสูงเท่านั้น
GS3 มีพื้นที่การเก็บสัมภาระทางด้านท้ายได้ 356 ลิตร และขยายเป็น 780 ลิตรเมื่อพับเบาะหลังลงไป เบาะหลังสามารถพับแยกแบบ 60:40 ได้แม้ไม่ได้เรียบไปทั้งหมด
ช่วงล่างของ GS3 ด้านหน้าเป็นแบบแมคเฟอร์สันสตรัท ด้านหลังเป็นทอร์ชั่นบีม มีดิสก์เบรคทั้ง 4 ล้อและพวงมาลัยไฟฟ้า
ไม่มีไฮบริดอย่างคู่แข่ง
ในด้านขุมพลังมีให้เลือกเพียงแบบเดียวคือเครื่องยนต์เบนซินขนาด 4 สูบ 1.5 ลิตร หายใจธรรมดา ที่ให้กำลังสูงสุด 114 แรงม้า ที่ 6,000 รอบต่อนาที และมีแรงบิดสูงสุด 150 นิวตันเมตร ที่ 4,500 รอบต่อนาที
จับคู่กับระบบขับเคลื่อนล้อหน้า พร้อมเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด แบบ torque converter มีอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันอยู่ที่ 14.5 กม./ลิตร(มาตรฐาน NEDC) ในขณะที่คู่แข่งในประเทศไทยเป็นเครื่องยนต์ไฮบริดกันเกือบหมดแล้ว
อุปกรณ์มาตรฐานแบบเพียงพอ
อุปกรณ์มาตรฐานก็มีให้อย่างเพียงพอ รุ่น Standard จะมาพร้อมล้ออัลลอยขนาด 17 นิ้ว รัดด้วยยางขนาด 215/60 ไฟหน้าโปรเจคเตอร์แบบฮาโลเจน, ไฟท้ายแบบ LED, กระจกปรับไฟฟ้า, เบาะนั่งหุ้มด้วยผ้าสลับหนังพร้อมปรับด้วยมือคู่หน้า, โหมดการขับขี่แบบ Eco, ระบบปรับอากาศแบบธรรมดา(พร้อมกรองฝุ่น PM2.5), จอกลางขนาด 8 นิ้ว แบบทัชสกรีน รองรับ Apple CarPlay และสามารถต่อเชื่อมหน้าจอมือถือกับจอกลางได้
ในด้านความปลอดภัยรุ่น Standard จะมีแอร์แบ็ค 4 ตำแหน่ง ระบบ ABS, EBD, ESP, BA, HSA(ช่วยออกตัวบนทางลาดชัน), hill descent control ควบคุมการลงทางลาดชัน, blind spot monitoring, กล้องมองหลัง และจุดติดตั้งที่นั่งเด็ก Isofix
ส่วนรุ่น Premium จะมีออพชั่นที่เหนือกว่ารุ่นธรรมดาอยู่เล็กน้อย ได้แก่ ไฟตัดหมอกหน้า, กระจกมองข้างพับไฟฟ้า, เสาอากาศแบบครีบฉลาม และตัวเลือกสีแบบทูโทนแบบที่กล่าวไว้ข้างต้น, ราวหลังคา และการตกแต่งกระจกมองข้างสีดำ
ส่วนภายในที่เพิ่มมาในรุ่นนี้คือจอ LCD หลังพวงมาลัยขนาด 3.5 นิ้ว, keyless entry และปุ่มสตาร์ท, เบาะหุ้มหนังแท้, เบาะด้านหลังมีที่พักแขนและหมอนพิงศีรษะตรงกลาง และมีแอร์แบ็คเพิ่มอีก 2 เป็น 6 ตำแหน่ง
ถ้านำเข้าไทยอาจราคาพอ ๆ กับคู่แข่ง
ถึงแม้ราคาจำหน่ายของ GAC GS3 ในมาเลเซียในรุ่นท๊อปจะไม่ถึง 8 แสนบาท แต่เป็นราคาที่ยังไม่รวมภาษีและอื่น ๆ ด้วยความเป็นรถนำเข้าจากจีน
อาจนำกรณีของ ORA Good Cat ที่นำเข้าจากจีนทั้งคันเช่นกันมาอ้างอิง โดยมีราคามากกว่าที่จำหน่ายในจีนประมาณ 18.5% และยังไม่รวมกับภาษีของเครื่องยนต์เบนซิน 1.5 ลิตร ที่ต้องเสียเต็ม ๆ ต่างจาก Good Cat ที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้า
จึงคาดได้ว่าถ้านำเข้ามาขายไทยก็คงมีราคาไม่หนีกับคู่แข่งมากนัก และถ้าราคาพอกับคู่แข่งแล้วมีออพชั่นแบบนี้ GS3 จะยังน่าสนใจอยู่ไหม?
อ่านเพิ่มเติม : GAC Aion LX Plus สร้างสถิติใหม่วิ่งได้ไกล 1,008 กม. เฉือนชนะ Tesla และ Lucid
ตารางสเปคของ GAC GS3 ในมาเลเซีย