- แผนการขยายสถานีซูเปอร์ชาร์จของ MG
- ทำไมไม่เปิดให้ลูกค้ายี่ห้ออื่นใช้งานด้วย
- ตกลงจะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทยหรือไม่
- บางจากกับเป้าหมายสถานีบริการชาร์จไฟ
- ความคืบหน้าโรงงานผลิตแบตเตอรี่
MG (เอ็มจี) ระบุโควิด-19 ทำแผนขยายสถานีซูเปอร์ชาร์จไม่เป็นไปตามเป้า เร่งเครื่องให้ครบ 500 สาขาในปีหน้า ประกาศจับมือพันธมิตรรองรับทุก 150 กิโลเมตร ชี้หากเพียงพออาจะเปิดให้ยี่ห้ออื่นมาใช้ พันธมิตรอย่างบางจากพร้อมร่วมลุยทุกแบรนด์
ผลกระทบจากโควิด-19 ในปีที่ผ่านมา นอกจากจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ด้านต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นยอดจำหน่ายหรือแผนการเปิดตัวสินค้าใหม่ แต่โครงการต่าง ๆ ก็ได้รับผลกระทบไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นเดียวกัน
นั่นก็รวมไปถึงแผนการขยายสถานีชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ของเอ็มจี ที่เดิมทีตั้งเป้าหมายที่จะขยายให้ครบ 500 แห่งในปีนี้ แต่ก็ไม่สามารถเดินหน้าได้ตามแผนงานดังกล่าว ซึ่งอาจจะทำให้รองรับความต้องการของลูกค้าของแบรนด์ได้อย่างไม่เต็มที่
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
จาง ไห่โป กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด และบริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่าเอ็มจีจะเดินหน้าสนับสนุนโครงการขยายสถานีซูเปอร์ชาร์จความแรง 120 กิโลวัตต์ชั่วโมงในประเทศไทยต่อไปตามเป้าหมายที่วางไว้
ล่าสุด ได้ร่วมมือกับสถานีบริการน้ำมันบางจาก เปิดให้บริการสถานีซูเปอร์ชาร์จในจังหวัดกรุงเทพมหานคร นนทบุรีและสมุทรปราการในเบื้องต้น 13 แห่ง และจะมีการขยายเครือข่ายให้เพิ่มเติมมากขึ้น เพื่อให้สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างทั่วถึง
ลั่นขยายครบ 500 แห่งในปีนี้หากไม่มีโควิด
จางบอกว่าผลกระทบจากโควิด-19 ในปีที่ผ่านมา ทำให้บริษัทสามารถขยายเครือข่ายสถานีซูเปอร์ชาร์จไปได้เพียง 120 แห่งในปัจจุบัน และได้เตรียมที่จะขยายเพิ่มให้ครบ 500 แห่งในปีนี้ หากไม่มีผลกระทบอย่างรุนแรง ซึ่งจะทำให้สามารถครอบคลุมระยะการเดินทางทุก ๆ 150 กิโลเมตรได้ ซึ่งจะทำให้ลูกค้าที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้าของเอ็มจีสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก
ยังไม่พร้อมเปิดให้ลูกค้าค่ายอื่นใช้งาน
"เป้าหมายหลักของเอ็มจีในการขยายเครือข่ายสถานีบริการ ก็คือการดูแลลูกค้าของบริษัทให้เกิดความอุ่นใจระหว่างการเดินทางและการใช้งานรถ" เอ็มจีจึงยังจะไม่เปิดให้ค่ายรถยี่ห้ออื่นนำรถมาใช้บริการที่สถานีซูเปอร์ชาร์จทั้งหมดในเร็ววันนี้ แต่ในอนาคต หากมีเครือข่ายที่เพียงพอต่อความต้องการใช้งานแล้ว ก็จะพิจารณาเพื่อให้รถยนต์ยี่ห้ออื่นมาใช้งานได้ด้วย
พร้อมผลิตรถไฟฟ้าหากนโยบายมีความชัดเจน
จางกล่าวว่าเอ็มจีเป็นผู้นำในการทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ด้วยการเปิดตัว MG ZS EV (เอ็มจี แซดเอส อีวี) และ MG EP (เอ็มจี อีพี) ก่อนใครในประเทศไทย และยังยืนยันที่จะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย หากนโยบายของภาครัฐมีความชัดเจน บริษัทก็พร้อมที่จะเดินหน้าลงทุนเพื่อเปิดสายการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยอย่างแน่นอน
บางจากมั่นใจขยายสถานีชาร์จเพิ่มครบ 200 แห่งปีหน้า
ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าในปัจจุบันบางจากมีสถานีชาร์จไฟในสถานีบริการน้ำมันทั้งสิ้น 67 แห่ง และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 100 แห่งในปีนี้ ก่อนที่จะขยายเป็น 200 แห่งในปีหน้า ซึ่งเชื่อว่าความต้องการของผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าจะเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย
หาแร่ธาตุเตรียมความพร้อมผลิตแบตเตอรี่
ในส่วนของโครงการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ขณะนี้ยังศึกษาความต้องการของตลาดว่ามีความพร้อมเมื่อใด เนื่องจากต้องการเป้าหมายไม่น้อยกว่า 1 แสนคันต่อปีในการผลิต แต่ได้มีการติดต่อเพื่อจัดหาแร่ลิเธียมปีละ 6,000 ตัน ซึ่งเพียงพอต่อการผลิตแบตเตอรี่เอาไว้แล้ว และอาจจะศึกษาโครงการอื่น ๆ อาทิ แบตเตอรี่สำรองไฟเพิ่มเติม
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });