BMW (บีเอ็มดับเบิลยู) อเมริกาเหนือ ประกาศเรียกคืนรถลอตใหญ่กว่า 5 หมื่นคัน ประกอบไปด้วยรถหลายรุ่นที่ทำตลาดอยู่ทั้งรถยนต์นั่งและเอสยูวี รวมไปถึงรถสปอร์ตของค่าย และที่เป็นเรื่องเซอร์ไพร์สก็คือ พวกเขาได้ทำการรีคอลล์รถยี่ห้ออื่นมาพร้อมกัน
รถยนต์รุ่นที่ถูกรีคอลล์มาพร้อม ๆ กันในครั้งนี้ ก็คือ 2021 Toyota Supra (โตโยต้า ซูปร้า) จำนวน 13,014 คัน ซึ่งถูกเรียกเข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับซอฟแวร์ที่อาจจะก่อให้เกิดการเสียหายต่อปั้มน้ำมันที่ส่งน้ำมันสู่ระบบเบรก ซึ่งเป็นระบบสำคัญของรถ
อย่างไรก็ตาม บีเอ็มดับเบิลยูระบุว่าปัญหาดังกล่าวจะไม่ส่งผลให้รถถึงขั้นเบรกไม่ได้แต่อย่างใด แต่เพื่อความปลอดภัย พวกเขาได้ทำการเรียกคืนรถจำนวนมากทั้งสิ้นกว่า 50,024 คัน นับรวมได้ทั้งสิ้น 7 รุ่น นับรวมโตโยต้า ซูปร้า ในการรีคอลล์ครั้งนี้เลยทีเดียว
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
ทำไมบีเอ็มดับเบิลยูรีคอลล์ซูปร้าได้
แม้จะฟังดูแปลกประหลาดที่มีการรีคอลล์รถยนต์ข้ามค่ายกันได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เหนือความคาดหมาย เพราะทุกคนก็รู้กันดีอยู่แล้วว่า โตโยต้า ซูปร้านั้น เป็นผลงานความร่วมมือระหว่าง Toyota (โตโยต้า) และบีเอ็มดับเบิลยู ที่ทำการพัฒนาร่วมกันมาแต่แรก
เอาจริง ๆ แม้จะพูดว่าเป็นการพัฒนาร่วมกัน แต่จริง ๆ แล้วดูเหมือนค่ายใบพัดฟ้าขาวจะเป็นผู้นำหลักในการพัฒนาเสียด้วยซ้ำ และรถยนต์สปอร์ตอย่าง BMW Z4 (บีเอ็มดับเบิลยู แซด4) ก็คือฝาแฝดที่แน่นอนว่าถูกเรียกคืนเพื่อแก้ไขปัญหานี้ไปพร้อม ๆ กัน
และเมื่อปัญหาเกิดขึ้นกับระบบหลักของรถยนต์ ซึ่งบีเอ็มดับเบิลยูอธิบายในเชิงเทคนิคว่าเป็นปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้เมื่อคุณกดปุ่มสตาร์ทเครื่องยนต์พร้อมเหยียบเบรกไปด้วย อาจจะส่งผลกระทบต่อระบบช่วยเบรก และตัดสินใจเรียกคืนรถมาปรับปรุงแก้ไข
โตโยต้า ซูปร้า ซึ่งเป็นพันธมิตรระดับแฝดไข่ใบเดียวกัน ก็ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข และคงเป็นการง่ายกว่าที่บีเอ็มดับเบิลยูจะประกาศเรื่องนี้และทำการดูแลให้เลย ซึ่งก็รวมไปถึงการประกาศหยุดการจำหน่ายรถยนต์ในสต็อกของดีลเลอร์ไปพร้อม ๆ กัน
มีรานงานว่าตัวแทนจำหน่ายของโตโยต้าได้รับคำสั่งหยุดจำหน่ายซูปร้าในสต็อกที่มีเหลืออยู่ราว ๆ 260 คันเอาไว้ก่อน จนกว่าปัญหาดังกล่าวจะได้รับการแก้ไข โดยดีลเลอร์คาดว่าจะได้รับอะไหล่สำหรับการจัดการปัญหาทั้งหมดภายในเดือนสิงหาคมนี้
อนาคตที่อาจจะเกิดขึ้นอีกมากสำหรับเคสแบบนี้
ภายใต้การทำตลาดรถยนต์ของโลกในยุคปัจจุบัน ที่หลายค่ายรถยนต์เริ่มจับมือกันเป็นพันธมิตรมากขึ้น นำมาซึ่งคำถามว่า จะมีการใช้ศูนย์บริการหรือการซ่อมบำรุงรถร่วมกันได้หรือไม่ ซึ่งหลายค่ายก็ยังคงปฏิเสธอยู่ แม้จะรู้อยู่แก่ใจว่าทำได้อย่างไม่มีปัญหา
อย่างไรก็ตาม จากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นทั้งเรื่องของการพัฒนาสินค้าและการให้บริการลูกค้าที่เป็นเรื่องที่ค่ายรถทุกรายต่างมุ่งมั่นพัฒนาอย่างเต็มที่ เราอาจได้เห็นความร่วมมือของค่ายรถที่เหนือไปกว่าการพัฒนารถยนต์ร่วมกันเพื่อลดต้นทุนในอนาคตได้
จะดีแค่ไหนกันหากรถของคุณมีปัญหาระหว่างทาง แล้วคุณสามารถเข้าศูนย์บริการของแบรนด์และเครือพันธมิตรได้ ซึ่งให้ทั้งความสะดวกสบายและความมั่นใจในการใช้งานรถ ขณะเดียวกัน ก็ถือเป็นการลดต้นทุนในการขยายศูนย์บริการของค่ายรถได้
ลองคิดดูในเคสของแซด4 และซูปร้านี้ หากเกิดขึ้นในประเทศไทย ลูกค้าที่ขับแซด4 ที่จังหวัดมุกดาหาร ในกรณีที่เกิดปัญหาลักษณะเดียวกัน อาจจะต้องขับเข้ามาแก้ปัญหาที่ดีลเลอร์ของบีเอ็มดับเบิลยูที่ขอนแก่น อุดรธารีหรืออุบลราชธานี ซึ่งไกลพอสมควร
แต่หากพันธมิตรอย่างโตโยต้าสามารถให้บริการรถคันนี้ได้เลย แน่นอนว่าเครือข่ายผู้จำหน่ายของโตโยต้านั้นมีมากกว่าในทุกพื้นที่ อันนี้ถือเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคแบบเต็ม ๆ ซึ่งน่าจะเป็นภาพที่เห็นชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต รอแค่ให้ค่ายรถเห็นตรงกันก็พอ
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });