ใน Ford Ranger Wildtrak (ฟอร์ด เรนเจอร์ ไวลด์แทรค) หรือกระบะรุ่นท็อปสุดของ Ford (ฟอร์ด) สิ่งที่น่าดึงดูดใจสำหรับสายกระบะก็คือเครื่องยนต์ขนาด 2.0 ลิตรเทอร์โบคู่ ที่มีขนาดเล็กกว่า แต่ให้กำลังได้มากกว่าเครื่อง 3.2 ลิตรธรรมดา
แบบนี้เครื่องเทอร์โบคู่ทำงานดีกว่าเทอร์โบเดี่ยวมากแค่ไหน
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
การติดตั้งเทอร์โบ 2 ตัว หรือเรียกว่าระบบเทอร์โบคู่ เริ่มมีให้เห็นในเครื่องยนต์ดีเซลมากขึ้น เดิมจะเรียกกันว่า Twin Turbo เนื่องจากใช้เทอร์โบ 2 ลูกมาทำงานร่วมกัน แต่ปัจจุบันจะเรียกแบบไหนก็ได้
การเซทเทอร์โบ 2 ลูก เดี๋ยวนี้นั้นเปลี่ยนไป มีการทำให้มีขนาดเล็ก-ใหญ่ไม่เท่ากัน แต่ยังคงทำงานร่วมกันได้เพื่อสร้างกำลังอัดอากาศสูงสุด เพิ่มประสิทธิภาพในการขับขี่
การทำงานแบบนี้เดิมเรียกว่าแบบ Sequential เพราะเทอร์โบแต่ละลูกจะทำงานกันต่อเนื่องเพื่อสร้างแรงดันสูงสุด และได้ถูกนำมาใช้ในระบบใหม่ด้วย แต่มีการทำงานที่เท่ากันไม่ได้อยู่ที่ลูกใหญ่อย่างเดียว
อ่านเพิ่มเติม Ford ประเมินตลาดรถยนต์ฟื้นตัวไตรมาส 4
หลักการทำงานของ Bi-Turbo ใน Ranger
ในการทำงานของ Bi-Turbo จะมีเทอร์โบขนาดเล็กแรงดันสูง ที่จะทำงานในความเร็วต่ำ เพื่อเพิ่มแรงบิด หลังจากนั้นเทอร์โบลูกใหญ่กว่าจะทำงานในความเร็วสูงเพื่อเพิ่มแรงม้า จึงมีการตอบสนองดีกว่าปกติ
อย่างเครื่องในของ Ford Ranger Wildtrak เป็น Bi-Turbo ขนาด 2.0 ลิตรมีกำลัง 213 แรงม้าที่ 3,750 รอบ/นาที และแรงบิด 500 นิวตันเมตรที่ 1,750-2,000 รอบ/นาที
เทียบกับเครื่องยนต์เดิม 3.2 ลิตรให้กำลัง 200 แรงม้าที่ 3,000 รอบ/นาที และแรงบิด 470 นิวตันเมตร ที่ 1,750-2,500 รอบ/นาที
จะเห็นว่าเครื่องยนต์ไบเทอร์โบ ให้ประสิทธิภาพในการขับขี่มากกว่าเครื่องยนต์เทอร์โบเดี่ยวเดิม แม้ว่าจะมีการลดขนาดเครื่องยนต์ลงก็ตาม แต่ก็มีแรงบิดที่มากกว่า
เทอร์โบเดี่ยวก็มีดีนะ
พูดง่าย ๆ ข้อดีของเครื่องเทอร์โบคู่นั้นคือพละกำลังจะมาไวกว่าเทอร์โบเดี่ยว โดยไม่สูญเสียเวลาในการดึงอากาศเข้าไป แต่ในเครื่องเทอร์โบเดี่ยวยังพอมีข้อดีอยู่บ้าง คือจะมีกำลังมากกว่าในตอนปลายเพราะว่าจะทำงานในรอบความเร็วสูง อีกทั้งยังมีน้ำหนักที่เบากว่าจึงทำให้การขับขี่จะคล่องแคล่วกว่าเล็กน้อย
แต่ก็ยังเสียตรงที่ว่าต้องรอรอบ ซึ่งเทอร์โบคู่จะไม่มีข้อเสียตรงนี้เพราะจะได้การตอบสนองของเทอร์โบในทันทีรู้สึกได้ถึงพลังอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังช่วยประหยัดน้ำมันเนื่องจากไม่ต้องเหยียบคันเร่งบ่อย ๆ อีกด้วย
อ่านเพิ่มเติม 7 รถกระบะตัวท็อปซดน้ำมันเยอะสุดในตลาดประเทศไทย
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });