ปัจจุบัน การมาถึงของรถยนต์ไฟฟ้าเป็นการผลักดันให้ค่ายรถยนต์มีมาตรการจำกัดการปล่อยมลพิษกันมากขึ้น อนาคตของเครื่องยนต์สันดาปภายในก็อาจจะเป็นไปอย่างน่ากังวล รวมถึงกำไรของทางค่ายรถยนต์อีกด้วย
ล่าสุดในยุโรปกำลังจะมีการออกข้อเสนอมาตรฐานยูโร 7 จะช่วยลดการปล่อยมลพิษสูงสุด และเข้มงวดกว่า EURO 6 ออกมาในช่วงปี 2025-2026
ข้อเสนอ Euro 7 ส่วนหนึ่งต้องการที่จะให้รถเครื่องสันดาปติดตั้งตัวกรองแบบท่อแคทตาไลติกที่เป็นไฟฟ้าเพื่อกรองมลพิษที่ปล่อยออกมาจากเครื่องยนต์ รวมถึงระบบที่จะประเมินการเผาไหม้หลังจากผ่านระยะ 150,000 กิโลเมตรไปแล้ว ซึ่งจะเป็นเรื่องที่ทำได้ยากมากในรถขนาดเล็ก ๆ รวมถึงแพลตฟอร์มรถยนต์ที่ใช้ในปัจจุบัน จนอาจทำให้รถมีราคาแพงขึ้น
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
ผู้ผลิตรถยนต์กังวลว่ามาตรฐานการปล่อยมลพิษ EURO 7 จะเป็นการเพิ่มต้นทุนอย่างมาก จนไม่สามารถสร้างผลกำไรได้อีก ในการสร้างรถยนต์ไม่มีระบบปลั๊กอินไฮบริดหรือระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าให้ตามมาตรฐาน
วิศวกรอาวุโสของ Volkswagen ระบุว่า หากปล่อยมาตรฐาน EURO 7 มีผลบังคับใช้ตอนนี้ ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติเยอรมันจะต้องเพิ่มราคารถยนต์อย่างแน่นอน ซึ่งต้องพิจารณาถึงผู้บริโภคด้วย เนื่องจากไม่ใช่ว่าทุกคนจะมีกำลังซื้อรถยนต์ไฮบริด หรือรถยนต์ไฟฟ้า
มาตรฐานไอเสีย EURO คืออะไร?
การควบคุมค่ามาตรฐานไอเสีย เริ่มต้นจากปัญหาของมลพิษในอากาศที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งรถยนต์รที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์สันดาป คือสาเหตุหลักที่ทำให้มลพิษในอากาศเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นในแต่ละประเทศจึงจำเป็นต้องมีการควบคุมค่ามาตรฐานไอเสีย
โดยมีกลุ่มประเทศในทวีปยุโรป (EUROPEAN EMISSION STANDARDS) เป็นผู้ริเริ่มให้มีการวางกฎระเบียบต่าง ๆ โดยเริ่มมีการควบคุมการปล่อยมลพิษจากยานพาหนะอย่างเป็นระบบตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992
มีการกําหนดมาตรฐานไอเสีย EURO 1 สําหรับยานพาหนะควบคู่กับมาตรฐานของเชื้อเพลิง เพื่อให้ยานพาหนะที่ผลิตจําหน่ายออกมาปลดปล่อยไอเสียได้ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กําหนด
ไทยใช้มาตรฐานนี้ด้วยหรือไม่
สำหรับประเทศไทย เป็นมาตรฐานบังคับอยู่แล้ว ซึ่งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมีการควบคุมให้ ผลิตภัณฑ์เป็นไปตามมาตรฐาน
โดยปัจจุบันผู้ประกอบการรถยนต์ทั้งผู้ทำในประเทศและผู้นำเข้าต้องมีการขอใบอนุญาต “มอก.” สำหรับรถยนต์นั่งขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซล
ซึ่งประเทศไทยพยายามจะใช้ Euro 5 สำหรับรถยนต์ทุกคันภายในปี 2564 เพื่อลดการปล่อยฝุ่นพิษร้อยละ 80 และเตรียมยกระดับเป็น Euro 6 ภายในปี 2565 ต่อไป
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });