บริษัทวิจัยดัชนีการจราจร TomTom Traffic Index เปิดเผยผลวิจัยสภาพการจราจรในกรุงเทพฯ พบวันและช่วงเวลาที่มีความหนาแน่นมากที่สุด รวมถึงข้อมูลที่น่าสนใจสำหรับชาวเมืองหลวงที่ต้องเผชิญกับรถติดทุกเมื่อเชื่อวัน
เมื่อต้นปีที่ผ่านมา TomTom ระบุว่า กรุงเทพฯ รั้งอันดับที่ 11 ของการวิจัยเมืองที่มีการจราจรติดขัดที่สุดในโลกประจำปี 2019 โดยมีระดับ “ความหนาแน่นของการจราจร” อยู่ที่ 53% ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับ “สูงอย่างยิ่ง” อันดับดังกล่าวของกรุงเทพฯ ไม่มีเปลี่ยนแปลงจากปี 2018
ทั้งนี้ เมืองที่มีการจราจรติดขัดมากที่สุดท็อป 5 ของโลกประจำปี 2019 ได้แก่เบงกาลูรูของอินเดียที่นำโด่งมาเป็นอันดับ 1 ตามมาด้วยกรุงมะนิลาของฟิลิปปินส์และกรุงโบโกตาของโคลัมเบียในอันดับที่ 2 และ 3 ตามลำดับ ส่วนอันดับที่ 4 และ 5 คือนครมุมไบและเมืองพูนในประเทศอินเดีย
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
เผยวันที่รถติดมากที่สุดและน้อยที่สุด
TomTom จัดทำการวิจัยสภาพการจราจรในกรุงเทพฯ อย่างละเอียดตลอดทั้งปี ผลลัพธ์ที่ได้พบว่าการจราจรในเมืองหลวงของเรามีความหนาแน่นมากที่สุดในช่วงเช้าของวันจันทร์ และช่วงเย็นวันศุกร์ รองลงมาเป็นช่วงเย็นวันพฤหัสบดี
ช่วงเวลา “เร่งด่วน” ที่รถติดมากที่สุดในกรุงเทพฯ อยู่ที่ 7 โมงเช้าและ 6 โมงเย็นของวันธรรมดา ส่วนช่วงสุดสัปดาห์ ทั้งเสาร์และอาทิตย์นั้นรถจะมีความหนาแน่นมากที่สุดในเวลาประมาณ 6 โมงเย็น
TomTom ระบุด้วยว่าในปี 2019 วันที่มีรถติดมากที่สุดคือวันที่ 3 กรกฎาคม ถึงแม้จะไม่มีการระบุเหตุผลแต่คาดว่าจะเป็นช่วงฤดูฝน ส่วนวันที่รถบางเบาที่สุดคือวันที่ 16 เมษายนซึ่งเป็นวันหยุดชดเชยต่อเนื่องจากเทศกาลสงกรานต์นั่นเอง
สำหรับในปี 2020 ผลวิจัยพบว่าช่วงสัปดาห์ที่ 30 มีนาคมถึง 5 เมษายนที่ผ่านมา การจราจรมีความเบาบางที่สุดเป็นประวัติการณ์เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 แต่สภาพการจราจรเริ่มทวีความหนาแน่นจนกลับคืนสู่สภาวะปกติตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคมเป็นต้นมา
แนะนำวิธีการย่นระยะเวลาเดินทางในกรุงเทพฯ
ผลวิจัยของ TomTom พบว่าผู้ขับขี่ในกรุงเทพฯ ต้องใช้เวลามากกว่าปกติ 24 นาทีในการเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วนช่วงเช้าและอีก 30 นาทีในชั่วโมงเร่งด่วนช่วงเย็น (คำนวณจากการเดินทางเฉลี่ย 30 นาที)
รวมระยะเวลาที่สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์บนท้องถนนอยู่ที่ 207 ชั่วโมงหรือเท่ากับ 8 วัน 15 ชั่วโมงต่อปี นั่นหมายถึงคุณสามารถอ่านวรรณกรรม In Search of Lost Time ของมาร์เซล พรูสต์ที่ว่ากันว่ายาวที่สุดในโลกจบได้ 1 รอบกว่า ๆ หรือฟังเพลง Imagine ของจอห์น เลนนอนได้ถึง 3,968 รอบ
ที่น่าสนใจก็คือ TomTom แนะนำผู้ขับขี่ที่ต้องออกเดินทางกลับบ้านในช่วงเย็นวันศุกร์ ควรเริ่มออกเดินทางหลังเวลา 1 ทุ่มตรงหรือ 19.00 น. ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาได้ถึง 6 ชั่วโมงต่อปีเลยทีเดียว (คำนวณจากการเดินทางเฉลี่ย 30 นาที)
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });