ชนิดของจานเบรก และการเลือกใช้ที่ถูกต้อง
คนเราเวลาซื้อรถใหม่ ก็มักจะหาของแต่งมาเพิ่มเติมความสวย ความแรง เช่น สเกริ์ตหน้า, สเกริ์ตข้าง เปลี่ยนกรองอากาศ หรือเปลี่ยนท่อไอเสียเพื่อให้เสียงเพราะขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่จะขาดไม่ได้เลยก็คือ ระบบเบรก นั่นเองครับ เพราะมันเป็นสิ่งชี้ชะตาชีวิตของผู้ขับขี่ได้เลย เนื่องจากถ้ารถเรามีความเร็วมากเท่าไหร่ เบรกของเราก็ควรจะรับมันได้เช่นกัน ซึ่งในระบบเบรกนั้นมีหลายปัจจัยมากที่ให้การหยุดรถ หนึ่งในนั้นคือ จานเบรก ที่เราจะมาทำความรู้จักกันในวันนี้นั่นเองครับ
จานเบรก หนึ่งในระบบเบรกที่ทำหน้าที่ชะลอความเร็วและหยุดรถ แต่ในปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าก็ทำให้ชิ้นส่วนนี้มีหลายรูปแบบมากมาย แล้วแต่ละแบบมันต่างกันยังไง? ข้อดีและข้อเสียมีอะไรบ้าง? แล้วจะเลือกใช้งานยังไงดี?
จริงๆแล้วจานเบรกนั้นโดยหลักๆจะแบ่งได้ 4 ประเภท ดังนี้
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
1.จานเบรกแบบเรียบ (Smooth Break Rotor)
เป็นจานที่ติดตั้งมาจากโรงงาน จะเห็นได้อย่างแพร่หลายในรถบ้าน และใน Supercars บางคัน ซึ่งข้อดีก็คือ เป็นจานที่แข็งแรงและทนต่อการรับแรงกดมากที่สุด แต่ข้อด้อยคือ มีอุณหภูมิที่สูงและมักจะระบายความร้อนได้ไม่ดีเนื่องจากหน้าสัมผัสที่เรียบ ทำให้อากาศเข้ามาระบายได้น้อย และรวมถึงเรื่อง ฝุ่น ที่มักจะเกาะผ้าเบรกและจับตัวเป็นชั้นที่จานเบรก จะสังเกตได้จากการที่ใช้ไปนานๆแล้ว ต้องออกแรงกดเบรกมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาก็คือ น้ำ เหตุผลก็คล้ายๆกับฝุ่นที่เกาะอยู่เป็นชั้นบางๆระหว่างผ้าเบรกและจานเบรกที่เรียบ ทำให้ประสิทธิภาพเวลาเบรกลดลงไปครับ วิธีการแก้ปัญหาคือ จำเป็นที่จะต้องใช้งาน ผ้าเบรคและน้ำมันเบรคที่คุณภาพค่อนข้างสูงเพื่อให้ทนความร้อนและปัญหาอื่นๆ
2.จานเบรกแบบแบบเจาะรู (Drilled Brake Rotors)
จานชนิดนี้ออกแบบมาเพื่อลดข้อด้อยของแบบเรียบคือเรื่องความร้อน โดยมีการเจาะรูจานเบรกเพื่อให้อากาศไหลเข้ามาระบายความร้อนได้ดีขึ้นและลดโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์เบรกจมได้ รวมถึงช่วยไล่ฝุ่นที่เกาะอยู่บนผ้าเบรกได้ดีกว่า
แต่ก็แลกมาด้วยข้อด้อย นั่นคือความแข็งแรงที่ลดน้อยลงเนื่องจากการเจาะรู และปัญหาจานแตกร้าวที่เกิดขึ้นเมื่อจานเบรกนั้นมีอุณหภูมิที่สูง แต่ในรูนั้นอุณหภูมิที่ต่ำกว่าทำให้จานเบรกมีการผิดรูปจนกระทั่งร้าวในที่สุด เรียกว่า Thermal cracking แต่ปัญหานี้ก็แก้ได้ด้วยการใช้วัสดุที่ดีขึ้นนั่นเองครับ
3.จานเบรกแบบเซาะร่อง (Slotted Break Rotor)
มีลักษณะเป็นร่อง ตามแนวหมุนของจานเบรก จานชนิดนี้ได้พัฒนาเพื่อแก้ข้อด้อยของจานแบบเจาะรูที่มีโอกาส Thermal cracking โดยการเซาะร่องบนจานเบรกเพื่อระบายความร้อนได้ดีขึ้น แล้วยังช่วยในการขจัดฝุ่น ช่วยเพิ่มความแข็งแรงและประสิทธิภาพในการจับตัวของเบรกที่ดีขึ้นแบบจานเรียบ เนื่องจากร่องที่เซาะช่วยเพิ่มแรงเสียดทานกับผ้าเบรก จึงเหมาะสำหรับรถแข่งรถสมรรถนะสูงๆ ที่จะต้องใช้เบรกอย่างหนักหน่วง แต่ข้อด้อยของจานชนิดนี้ก็คือทำให้ผ้าเบรกหมดเร็วขึ้น
4.จานเบรกแบบเจาะรูและเซาะร่อง (Drill and Slotted Break Rotor)
จานชนิดนี้เป็นการรวมข้อดีของจานทุกๆแบบ คือ ช่วยทั้งระบายความร้อนและช่วยขจัดฝุ่นได้เร็ว ทำให้ประสิทธิภาพการเบรกดีขึ้น และ
อย่างไรก็ตาม มันก็ยังรวมข้อเสียไว้ด้วย นั่นคือผ้าเบรกที่หมดไวขึ้น และมีโอกาสแตกร้าวได้ง่ายขึ้นจากการเจาะรู ได้ เพราะฉะนั้นแล้ว จานเบรกประเภทนี้ จึงไม่ได้รับความนิยมในวงการรถแข่งเท่าไหร่นัก มันจะเหมาะกับรถที่แต่งใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่า
สำหรับข้อมูลในวันนี้ หวังว่าจะช่วยเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจสำหรับผู้ที่กำลังจะเปลี่ยนจานเบรก จนถึงตอนนี้ ผู้อ่านก็คงจะมีเลือกไว้ในใจกันบ้างแล้ว อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือเรื่องความปลอดภัยของผู้ขับขี่ ไม่ใช่แค่เพียงเพราะความสวยงามนะครับ
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });