หากใครยังจำกันได้ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 รถกระบะ Isuzu D-Max (อีซูซุ ดีแมกซ์) ตอนครึ่ง จอดเสียบนถนนเส้นพิษณุโลก-นครสวรรค์ จ.พิษณุโลก โดยรถกระบะคันดังกล่าวขนสับปะรดมาเต็มคัน อยู่ในสภาพแชสซีหักกลาง
แน่นอนว่าเหตุผลหลัก ๆ ของการเลือกใช้รถกระบะสำหรับหลาย ๆ คนนั้นคือการใช้งานบรรทุก แต่รู้ไหมว่าในทางกฎหมายนั้น มีการระบุเงื่อนไขของการบรรทุกของอยู่ เราจะพาไปดูเกี่ยวกับกฎหมายรถกระบะบรรทุกของ ต้องขนอย่างไร ไม่ให้ถูกจับ
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
ระยะการบรรทุก
ตามกฎหมายรถกระบะ ในการบรรทุกของ จะต้องคำนึกถึงระยะความกว้าง ยาว สูง เนื่องจากมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ โดยมีข้อกำหนดดังนี้
- ความกว้าง : ต้องบรรทุกของไม่ให้เกินส่วนกว้างของรถ
- ความยาว : ต้องบรรทุกของไม่ให้ระยะยื่นเกินหน้าของรถ และความยาวด้านหลังต้องยื่นพ้นตัวรถไม่เกิน 2.5 เมตร
- ความสูง : ตามมาตรฐาน จะต้องมีความสูงจากพื้นไม่เกิน 3 เมตร แต่ถ้าหากตัวรถมีความกว้างเกิน 2.3 เมตร จะสามารถบรรทุกสูงได้ไม่เกิน 3.8 เมตร
นอกจากนี้ ต้องมีเชือกหรือสายรัดในการผูกมัดสิ่งของ และต้องผูกอย่างแน่นหนา ป้องกันการตกหล่นและรั่วไหล
ส่วนเรื่องของน้ำหนักการบรรทุก ตามกฎหมายอนุญาตให้รถกระบะบรรทุกของได้ไม่เกิน 1,100 กิโลกรัม สำหรับผู้ฝ่าฝืน จะถูกโดนปรับตามกำหนดไม่เกิน 1 พันบาท
เปิดท้ายบรรทุกของ
ในกรณีที่จำเป็นต้องบรรทุกของโดยเปิดท้ายกระบะ ให้หาธงสีแดงเรืองแสงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 45 เซนติเมตร โดยให้ปักติดเอาไว้ที่ของเพื่อเป็นสัญญาณให้รถคันหลังระมัดระวังและมองเห็นได้ชัดเจน
หากเป็นช่วงเวลากลางคืน หรือในช่วงเวลาที่ไม่สามารถมองเห็นได้ในระยะ 150 เมตร จะต้องติดสัญญาณไฟสีแดงที่มองเห็นได้ชัดเจน
ดัดแปลงเพื่อขนของ
นอกจากนี้ การดัดแปลงหรือต่อเติมเพื่อการบรรทุกของ หรือการใส่โครงเหล็กตะแกรงบนหลังคาหรือเสริมรั้วกระบะข้าง หรือที่เรียกว่าติดคอก จะต้องเข้ารับการตรวจสภาพและแจ้งแก้ไขที่สำนักงานขนส่งที่จดทะเบียนเสียก่อน เพื่อตรวจสอบว่ามีความแข็งแรงทนทาน
แต่หากไม่ได้แจ้งแล้วนั้น ตามพ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 12 ประกอบกับมาตรา 60 ระบุเอาไว้ว่าในการดัดแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของตัวรถจากรายการที่จดทะเบียนนั้น มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท
นอกจากจะต้องคำนวนน้ำหนักในการบรรทุกแล้ว ควรที่จะคำนึงถึง น้ำหนักของตัวรถเองด้วย เนื่องจากการใส่อุปกรณ์ต่าง ๆ เพิ่มเติมเข้าไป จะเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับตัวรถ
อย่างรถกระบะทั่วไป สามารถบรรทุกได้ 1,100 กิโลกรัม หากใส่คอกเข้าไปซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 80 กิโลกรัม ก็จะเหลือน้ำหนักที่บรรทุกได้ 1,020 กิโลกรัมเท่านั้น
นอกจากนี้ อาจยังต้องนึกถึง "น้ำหนักของคนขับและผู้โดยสาร" ที่ขึ้นมาบนรถ ก็ต้องมีการหักลบเข้าไปอีก อย่าน้อยก็ 120 กิโลกรัม
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });