window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_breadcrumb_above_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678150997-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678150997-0'); });

การจับพวงมาลัยที่ตำแหน่ง 10.10 น. มีที่มาอย่างไร และยังจำเป็นอยู่ไหมในรถสมัยนี้ ?

Salin · Feb 14, 2022 06:19 PM

การจับพวงมาลัยที่ตำแหน่ง 10.10 น. มีที่มาอย่างไร และยังจำเป็นอยู่ไหมในรถสมัยนี้ ? 01

  • การจับพวงมาลัยมักจะอ้างอิงตามนาฬิกา
  • มีวิธีอื่น แต่ให้ผลลัพธ์เดียวกัน
  • หลายคนจับบริเวณด้านล่างพวงมาลัย จะอันตรายหรือเปล่า?
  • เหตุผลเนื่องจากพวงมาลัยแบบเก่า

การจับพวงมาลัยที่ตำแหน่ง 10.10 น. มักเป็นวิธีที่ถูกแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญและโรงเรียนสอนขับรถกันอย่างแพร่หลายตั้งแต่เริ่มมีรถยนต์ แต่เมื่อเวลาผ่านมาและเทคโนโลยีที่มีวิวัฒนาการมากขึ้น การจับพวงมาลัยแบบนี้ยังจำเป็นอยู่ไหม ?

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีการสอนจับพวงมาลัยในตำแหน่งที่เปลี่ยนไปเล็กน้อย (เช่น ตำแหน่ง 9.15 น.) แต่เหตุผลที่ต้องจับพวงมาลัยนั้นตัดสินจากอะไรบ้าง?

การจับพวงมาลัยที่ตำแหน่ง 10.10 น. มีที่มาอย่างไร และยังจำเป็นอยู่ไหมในรถสมัยนี้ ? 02

window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });

ก่อนที่จะสามารถขับรถบนถนนสาธารณะเราจำเป็นต้องมีใบอนุญาตขับขี่ส่วนบุคคลก่อนเป็นอันดับแรกสำหรับรถยนต์ทั่วไป

แต่ก่อนจะได้ใบขับขี่ ผู้คนส่วนใหญ่จะไปเรียนขับรถเพื่อเรียนรู้วิธีการขับรถทั้งกฎจราจรและมารยาทในการขับรถก่อนไปสอบใบอนุญาตขับขี่

การจับพวงมาลัยที่ตำแหน่ง 10.10 น. มีที่มาอย่างไร และยังจำเป็นอยู่ไหมในรถสมัยนี้ ? 01

ระหว่างการเรียนขับรถ เราอาจได้รับการสอนนอกจากการใช้งานพื้นฐานอย่าง “การเร่ง” “การเลี้ยว” และ “การหยุด” แต่ยังมีการปรับตำแหน่งเบาะนั่งและพวงมาลัย และการจับพวงมาลัยด้วย

การจับพวงมาลัยมักถูกสอนโดยอ้างอิงถึงนาฬิกา และผู้ที่มีใบขับขี่แล้วหลายคนก็ยึดถือวิธีจับพวงมาลัยที่อ้างอิงวิธีดังกล่าวมาตลอด

การจับพวงมาลัยที่ตำแหน่ง 10.10 น. มีที่มาอย่างไร และยังจำเป็นอยู่ไหมในรถสมัยนี้ ? 02

ไม่ใช้แบบนาฬิกา แต่ก็ให้ผลเหมือนกัน

โรงเรียนสอนขับรถแห่งหนึ่งในญี่ปุ่นกล่าวเกี่ยวกับการสอนวิธีจับพวงมาลัยไว้ว่า “ในวิธีการสอนขับรถของเรา เราจะไม่ได้อ้างอิงโดยใช้นาฬิกาเหมือนในสมัยก่อน แต่เราจะสอนให้จับเหนือกึ่งกลางพวงมาลัยมาเล็กน้อย

นอกจากนี้ การจับพวงมาลัยเหนือกึ่งกลางจนมือทั้งสองติดกันก็เป็นเรื่องที่ไม่ดีเท่าไหร่ เพราะจะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวต่อไป จึงออกมาเป็นผลลัพธ์ได้ว่าเราควรจับพวงมาลัยที่ตำแหน่ง 10.10 น.”

กล่าวอีกนัยหนึ่ง นอกจากวิธีการใช้นาฬิกาอ้างอิงแล้ว วิธีจับเหนือกึ่งกลางพวงมาลัยก็ทำให้ตำแหน่งเป็น 10.10 น. เหมือนกัน

การจับพวงมาลัยที่ตำแหน่ง 10.10 น. มีที่มาอย่างไร และยังจำเป็นอยู่ไหมในรถสมัยนี้ ? 03

จากวิธีที่ครูสอนขับรถได้บอกไว้ข้างต้น ตำแหน่งการถือพวงมาลัยจะมีผลต่อคะแนนของการทดสอบทักษะการขับขี่ในโรงเรียนสอนขับรถในญี่ปุ่น โดยกล่าวว่า “ ถ้าถือพวงมาลัยที่ตำแหน่งครึ่งล่าง ก็จะถูกตัดคะแนน”

แต่เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังตำแหน่ง 10 และ 2 นาฬิกา ที่ถูกแนะนำจนกลายเป็นมาตรฐานในการทดสอบทุกวันนี้คืออะไร โดยผู้สอนขับรถได้อธิบายไว้ดังนี้

“ในขณะที่ขยับพวงมาลัยไปมา หากคุณจับที่ส่วนบนของพวงมาลัย คุณจะสามารถหมุนพวงมาลัยได้สะดวกด้วยการดึงจากด้านบนลงมาด้านล่าง

หรืออีกนัยหนึ่ง หากคุณจับพวงมาลัยที่ส่วนล่าง คุณจะต้องใช้แรงมากขึ้นในการหมุนพวงมาลัยจากล่างขึ้นบน

การจับพวงมาลัยที่ตำแหน่ง 10.10 น. มีที่มาอย่างไร และยังจำเป็นอยู่ไหมในรถสมัยนี้ ? 04

นอกจากนี้ การหมุนพวงมาลัยจากด้านบนลงล่างทำให้การขยับไปทำอย่างอื่นทำได้ง่ายขึ้น เช่นการเปลี่ยนเกียร์หรือการเปิดไฟเลี้ยว”

ด้วยวิธีนี้ การจับพวงมาลัยที่ส่วนบนมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพในการขับขี่และความปลอดภัยในการเปลี่ยนไปสู่การเปลี่ยนเคลื่อนไหวอย่างราบรื่น

การจับพวงมาลัยที่ตำแหน่ง 10.10 น. มีที่มาอย่างไร และยังจำเป็นอยู่ไหมในรถสมัยนี้ ? 05

แต่ยังเห็นหลายคนจับพวงมาลัยด้านล่างอยู่นะ

ในปัจจุบัน รูปถ่ายที่หลายคนลงในอินเทอร์เน็ตหรือโซเชี่ยลมีเดีย นอกจากการจับพวงมาลัยตำแหน่ง 10.10 น. แล้ว ยังเห็นหลายคนจับพวงมาลัยจากด้านในอยู่บ้าง

การจับพวงมาลัยจากด้านในคือการจับพวงมาลัยที่จะหันฝ่ามือมาทางผู้ขับขี่ ซึ่งเป็นวิธีที่อันตรายอย่างมาก เนื่องจากเป็นการจับพวงมาลัยที่ผิดธรรมชาติ และมีโอกาสที่แขนจะหักได้หากถุงลมนิรภัยทำงานเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

การจับพวงมาลัยที่ตำแหน่ง 10.10 น. มีที่มาอย่างไร และยังจำเป็นอยู่ไหมในรถสมัยนี้ ? 06

นอกจากนี้ บางคนที่จับพวงมาลัยบริเวณด้านล่างมักจะมีวิธีจับที่ไม่ชัดเจน เช่น การจับแบบหลวม ๆ หรือแค่เพียงเอานิ้วมาเกี่ยวไว้

แม้จะไม่สามารถบอกได้ว่าวิธีแบบนี้ถูกต้องหรือไม่ แต่การจับพวงมาลัยแบบดังกล่าวไม่น่าจะเป็นผลดีและหากเกิดเหตุการณ์กระทันหันอาจมีความเสี่ยงที่จะตอบสนองผิดพลาดได้

การจับพวงมาลัยที่ตำแหน่ง 10.10 น. มีที่มาอย่างไร และยังจำเป็นอยู่ไหมในรถสมัยนี้ ? 07

ยุคนี้ไม่มีพวงมาลัยเพาเวอร์แน่นอน

เหตุผลเนื่องจากพวงมาลัยแบบเก่า

เหตุผลเบื้องหลังการจับพวงมาลัยลักษณะนี้มาจากกลไกของรถในสมัยก่อน เพราะพวงมาลัยแบบเก่าจะใช้แรงจากแขนของเราไปยังยางโดยตรง และจะเป็นไปได้ยากหากคนที่มีแรงไม่มากจะต้องใช้งานพวงมาลัยโดยไม่ได้จับให้ถูกวิธี 

การจับพวงมาลัยที่ตำแหน่ง 10.10 น. มีที่มาอย่างไร และยังจำเป็นอยู่ไหมในรถสมัยนี้ ? 08

ในทางกลับกัน ในรถสมัยใหม่ทุกคันย่อมมี “พวงมาลัยเพาเวอร์” ซึ่งจะช่วยในการหมุนพวงมาลัยด้วยการใช้ไฟฟ้าหรือไฮดรอลิก คุณจึงสามารถหมุนพวงมาลัยได้โดยไม่ต้องออกแรงมาก

เนื่องจากความสะดวกของการบังคับพวงมาลัยสมัยนี้ ทำให้หลายคนอาจไม่ให้ความสำคัญกับวิธีจับพวงมาลัยเหมือนแต่ก่อน

อ่านเพิ่มเติม : วิจัยเผย พวงมาลัยรถยนต์สกปรกกว่าห้องน้ำถึง 4 เท่า

ขอบคุณรูปภาพจาก kuruma-news.jp

window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });
window._taboola = window._taboola || []; _taboola.push({ mode: 'thumbnails-a-2x2-stream', container: 'taboola-below-article-thumbnails', placement: 'Below Article Thumbnails', target_type: 'mix' });

ขายรถคันเดิมเพื่อซื้อรถมือสองคุณภาพดีได้ง่ายและสะดวก

Toyota Yaris Ativ 1.2 Sport CVT 2022

แลก

เพิ่มรถของคุณ

ไม่อยากรอแลกรถ?   ขายรถ