ทำไมรัฐบาลญี่ปุ่นไม่เห็นด้วยเป้าหมาย “ลดมลพิษในรถยนต์” ของชาติมหาอำนาจ G7

May · Jul 12, 2022 09:07 AM

ทำไมรัฐบาลญี่ปุ่นไม่เห็นด้วยเป้าหมาย “ลดมลพิษในรถยนต์” ของชาติมหาอำนาจ G7 01

รัฐบาลญี่ปุ่นตกเป็นข่าวว่ากำลัง “วิ่งเต้น” เพื่อเปลี่ยนกลยุทธ์เป้าหมายมลพิษเป็นศูนย์ของชาติมหาอำนาจกลุ่ม G7 โดยต้องการให้ความสำคัญกับระบบขับเคลื่อนที่หลากหลาย

สำนักข่าว Reuters รายงานโดยอ้างเอกสารภายในกลุ่มชาติ G7 ว่าญี่ปุ่นกำลังผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงข้อความเกี่ยวกับกลยุทธ์การลดมลพิษให้ “นุ่มนวลลง” ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดนโยบายการเปลี่ยนผ่านจากเครื่องยนต์สันดาปสู่รถยนต์ไฟฟ้า

รายงานข่าวระบุ เดิมทีข้อความของชาติ G7 ระบุว่า “ผนึกกำลังร่วมกันสู่เป้าหมายรถยนต์ที่มีมลพิษเป็นศูนย์อย่างน้อย 50% ภายในปี 2030” แต่จะถูกเปลี่ยนเป็น “การเพิ่มยอดขายของรถยนต์ที่มีมลพิษเป็นศูนย์ด้วยการให้ความสำคัญกับทางเลือกที่หลากหลายของชาติต่าง ๆ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย”

รถยนต์ไฮบริดเชื้อเพลิงสังเคราะห์

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สำนักข่าว Reuters รายงานว่า อากิโอะ โตโยดะ ประธานกรรมการ Toyota และประธานใหญ่สมาคมผู้ผลิตยานยนต์แห่งญี่ปุ่น (JAMA) ออกโรงเตือนรัฐบาลญี่ปุ่นว่าจะต้องถูกต่อต้าน หากไม่ผนวกรวมรถยนต์ไฮบริดที่ใช้เชื้อเพลิงสังเคราะห์ให้อยู่กลุ่มเดียวกับรถยนต์ไฟฟ้า

ทำไมรัฐบาลญี่ปุ่นไม่เห็นด้วยเป้าหมาย “ลดมลพิษในรถยนต์” ของชาติมหาอำนาจ G7 01

อากิโอะ โตโยดะ ประธานกรรมการ Toyota

อากิระ อามาริ สมาชิกสภาผู้แทนญี่ปุ่นออกมาเปิดเผยเรื่องนี้ว่า เขาได้พูดคุยกับโตโยดะหนึ่งวันก่อนที่จะเสนอให้มีการรวมรถยนต์ไฮบริดเข้ากับรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจของประเทศ

“ท่านประธานโตโยดะต้องการจะบอกว่ารถยนต์ไฮบริดที่ใช้เชื้อเพลิงสังเคราะห์นั้นมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและประหยัดน้ำมันอย่างยอดเยี่ยม” อามาริ กล่าวเพิ่มเติม “โตโยดะยังเน้นย้ำว่าเขาจะไม่พึงพอใจอย่างยิ่งหากรัฐบาลปฏิเสธรถยนต์ไฮบริด”

นอกจากการล็อบบี้ของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ของญี่ปุ่นที่ทำให้รัฐบาลต้องพยายามนำเรื่องนี้หารือบนเวทีโลก ตลาดรถยนต์ของแดนอาทิตย์อุทัยยังเป็นปัจจัยสำคัญ โดยในปี 2021 ยอดขายรถไฮบริดและปลั๊กอินไฮบริดมีสัดส่วนสูงถึง 44% ของยอดขายรถทั้งหมด แต่รถยนต์ไฟฟ้ามีสัดส่วนเพียง 1% เท่านั้น

Toyota มองว่าเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การลดมลพิษ ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่เครื่องยนต์สันดาป แต่ควรมีระบบขับเคลื่อนที่หลากหลายที่มีศักยภาพลดมลพิษเป็นศูนย์ได้เหมือนกัน ขณะเดียวกันยังสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในแต่ละประเทศได้อีกด้วย

ทำไมรัฐบาลญี่ปุ่นไม่เห็นด้วยเป้าหมาย “ลดมลพิษในรถยนต์” ของชาติมหาอำนาจ G7 02

ฟูมิโอะ คิชิดะ (สวมสูท) นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตาม โตโยดะไม่ใช่ผู้บริหารบริษัทรถยนต์รายเดียวที่ล็อบบี้เรื่องนี้ ทาง Porsche และ BMW ก็ตกเป็นข่าวว่ากำลังทุ่มเงินลงทุนพัฒนาเชื้อเพลิงสังเคราะห์สำหรับใช้กับเครื่องยนต์สันดาปเช่นกัน ซึ่งจะช่วยให้มีมลพิษต่ำมากหรือมีมลพิษเป็นศูนย์

กระทรวงการคลังของเยอรมนียังต้องการให้รัฐบาลนำเรื่องนี้ขึ้นหารือกับสภาของสหภาพยุโรปเพื่อผนวกรวมเชื้อเพลิงสังเคราะห์ให้เป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทการพัฒนารถที่มีมลพิษเป็นศูนย์

ปัจจุบัน เป้าหมายของกลุ่ม G7 และสหภาพยุโรปมีความสอดคล้องกัน นั่นคือการแบนห้ามใช้รถเครื่องยนต์สันดาปทั้งเบนซินและดีเซลภายในปี 2035 แต่กำลังถูกต่อต้านหนักมากขึ้นเรื่อย ๆ และต้องจับตามองต่อไปว่าเชื้อเพลิงสังเคราะห์จะถูกผนวกรวมตามที่บริษัทรถยนต์หลายรายต้องการหรือไม่ ซึ่งนั่นหมายความว่าเครื่องยนต์สันดาปจะยังคงมีอนาคตต่อไปหลังปี 2035

May

นักเขียนอาวุโส

อดีตนักข่าว เอเจนซี่ และฟรีแลนซ์ฝีมือเยี่ยม ที่นำประสบการณ์ร่วม 20 ปีมาถ่ายทอดคอนเทนท์และประเด็นข่าวในวงการยานยนต์ทั้งไทยและเทศในรูปแบบที่สดใหม่และแตกต่าง

พร้อมจัดการซื้อ-ขายรถได้ภายใน 24 ชั่วโมง

Toyota Yaris Ativ 1.2 Sport CVT 2022

แลก

เพิ่มรถของคุณ

ไม่อยากรอแลกรถ?   ขายรถ