หลังจากการเปิดเผยโฉมหน้าในงานแสดงรถยนต์ในประเทศจีนเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา แฟน ๆ ต่างก็ตื่นเต้นกับ 2022 Mitsubishi Airtrek (มิตซูบิชิ แอร์เทรค) รถเอสยูวีไฟฟ้าจากค่าย Mitsubishi (มิตซูบิชิ) ที่เปิดให้เห็นรูปลักษณ์ที่แข็งแกร่ง บึกบึน ดุดัน ทันสมัย
ว่าที่รถยนต์ไฟฟ้า 100% รุ่นที่สองของค่ายเพชรสามแฉกหลังการทำตลาด Mitsubishi i-MiEV (มิตซูบิชิ ไอ-มีฟ) มานานก่อนหน้านี้ ก่อนหันไปเอาดีกับรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด Mitsubishi Outlander PHEV (มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี) แทนในช่วงที่ผ่านมา
และล่าสุดมีการเปิดเผยว่า แอร์เทรคนั้นอาจจะไม่ใช่สินค้าใหม่เอี่ยมในท้องตลาดเสียทีเดียว เมื่อค่ายรถยักษ์ใหญ่อาจจะใช้สินค้าของพันธมิตรอย่าง GAC (จีเอซี) มาทำการดัดแปลงชิ้นส่วนภายนอกและเพิ่มสมรรถนะของแบตเตอรี่เพื่อทำตลาดประเทศจีน
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
พันธมิตรอันยาวนานสู่การพัฒนาสินค้าร่วมกัน
หลายคนอาจจะพอรู้อยู่แล้วว่ามิตซูบิและจีเอซีนั้นเป็นพันธมิตรในประเทศจีนมาอย่างยาวนานในการพัฒนาและผลิตสินค้าร่วมกันในประเทศจีน ภายใต้ของกำหนดของรัฐบาลจีนในอดีตที่ไม่อนุญาตให้ใครหน้าไหนตั้งโรงงานได้โดยไม่มีพันธมิตรท้องถิ่น
ถามว่ากฎนี้หมดไปหรือยังในประเทศจีน หลาย ๆ ค่ายรถก็ยังคงทำแบบนั้นอยู่ แต่ Tesla (เทสล่า) คือผู้ผลิตรถยนต์รายแรกที่สามารถตั้งโรงงานแบบถือหุ้นได้ 100% ในประเทศจีน ซึ่งไม่แน่ใจว่าค่ายรถอื่น ๆ เริ่มมองหาทางในการเดินหน้าธุรกิจแบบนี้หรือไม่
สำหรับมิตซูบิชิและจีเอซีนั้น การพัฒนารถร่วมกันถือว่าไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ และก็ไม่อาจจะยืนยันได้ว่าระหว่างมิตซูบิชิ แอร์เทรคและ GAC AION V (จีเอซี ไอออน ไฟว์) ที่ถูกมองว่าเป็นต้นแบบในการพัฒนานั้น ใครเป็นคนที่ริเริ่มโครงการนี้ขึ้นมากันแน่
พื้นฐานการออกแบบโดยรวมนั้นถือว่ามีดีไซน์ภายนอกที่ถอดแบบกันมาอย่างชัดเจน โดยรูปลักษณ์ของจีเอซีจะดูสปอร์ตและทันสมัยมากกว่า ด้วยลายเส้นโค้งเว้ารอบคัน ขณะที่มิตซูบิชิดูจะพยายามรักษาภาพลักษณ์แบบเรียบ ๆ เอาไว้ไม่ให้ต่างจากรุ่นพี่นัก
สิ่งที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนก็คือการออกแบบกระจังหน้าของมิตซูบิชิที่มาพร้อมเอกลักษณ์ไดนามิก ชิลด์ พร้อมด้วยไฟท้ายแบบพาดไปตามตัวถังด้านท้ายรถ ซึ่งแตกต่างจากกระจังหน้าทรงเพรียวบาง พร้อมไฟท้ายแนวนอนยาวของจีเอซี ที่สวยไปคนละแบบ
นอกจากหน้าตา มิตซูบิชิอาจจะให้แบตเตอรี่ที่เหนือกว่า
แน่นอนว่าเมื่อพัฒนาร่วมกันแล้ว แม้จะมีหน้าตาที่แตกต่างกันออกไป แต่ในหลาย ๆ อย่างของทั้งจีเอซี ไอออน ไฟว์ และมิตซูบิชิ แอร์เทรค ก็ยังมีความเหมือนกันอยู่ โดยเฉพาะในเรื่องของมิติตัวถังของรถทั้ง 2 รุ่น รวมถึงมอเตอร์ไฟฟ้าที่เป็นหัวใจในการขับขี่
รายงานข่าวระบุว่ารถคันนี้จะมาพร้อมขนาดตัวถังกว้าง 1,920 มิลลิเมตร ยาว 4,630 มิลลิเมตร สูง 1,730 มิลลิเตร และมีความยาวฐานล้อที่ 2,830 เมตร โดยขุมพลังจะเลือกใช้มอเตอร์ไฟฟ้าที่ให้กำลังสูงสุด 181 แรงม้า พร้อมด้วยแรงบิดสูงสุด 350 นิวตันเมตร
อย่างไรก็ตาม แอร์เทรคอาจจะให้แบตเตอรี่ขนาดใหญ่กว่า โดยอาจจะมีทางเลือกให้กับลูกค้าทั้งแบตเตอรี่รุ่นที่รองรับการขับเคลื่อน 500 กิโลเมตรและ 600 กิโลเมตร เหนือกว่าจีเอซีที่มีทางเลือกให้กับลูกค้า 3 ออพชั่น ตั้งแต่ 300, 375 และ 450 กิโลเมตร
ยังไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมว่าจะมีการแบ่งปันเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติมหรือไม่ เพราะจีเอซี ไอออนจะมาพร้อมฟังชั่นส์ที่น่าสนใจมากมาย อาทิ การเป็นรถยนต์คันแรกที่สั่งการด้วยระบบเทคโนโลยี 5จี อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีรุ่นใหม่
นอกจากนี้ จีเอซียังเคยแสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีการชาร์จแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์รุ่นใหม่ล่าสุดที่เน้นการชาร์จไฟเร็วเป็นพิเศษ โดยเทคโนโลยี 6C ของจีเอซี สามารถชาร์จไฟแบตเตอรี่จาก 0-80% ได้ภายใน 8 นาที และชาร์จจาก 30-80% ภายใน 5 นาทีเท่านั้น
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });