Tesla Model S ที่ช่วงล่างพัง
เป็นรายงานการตรวจของ TÜV บริษัทตรวจสภาพรถขนาดใหญ่ที่สุดในเยอรมนี
มีอีวีทั้งหมด 4 รุ่นในการตรวจสอบของ TÜV
รายงานจากรถยนต์ทั้งหมด 128 รุ่น
ไทยมีการตรวจสอบรถอย่างไรบ้าง ?
จากรายงานการตรวจสภาพรถยนต์ของ TÜV พบว่า Tesla Model S (เทสล่า โมเดล เอส)เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่มีปัญหามากที่สุดหลังตรวจสอบจากการใช้งานไป 3 ปี
ในยุโรป รถยนต์ต้องผ่านการตรวจสอบสภาพเพื่อที่จะสามารถขับขี่บนถนนสาธารณะได้ TÜV คือบริษัทตรวจสภาพรถขนาดใหญ่ที่สุดในเยอรมนี จึงกลายเป็นมาตรฐานและเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับการตรวจสภาพรถสำหรับคนเยอรมัน
ทุก ๆ ปี TÜV จะเผยแพร่รายงานเกี่ยวกับการตรวจสอบที่ทำมา จากรายงานล่าสุดคือรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกที่ถึงเวลาที่จะต้องประเมินทั้งหมด 4 รุ่น
โดยใน 2 รุ่นแรกไม่ผ่านมาตรฐานเพราะอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยจากอัตราของความบกพร่องของรถ ส่วนอีก 2 รุ่นผ่านเกณฑ์มาตรฐาน และรุ่นที่ได้คะแนนน้อยที่สุดคือ Tesla Model S
ในทั้งหมด 4 รุ่นนั้นรวมถึง BMW i3, Smart Fortwo ED, และ Renault ZOE โดยทั้งหมดนี้ได้ผ่านมาตรฐานในการตรวจสอบสภาพรถใน 3 ปีแรกหลังจำหน่ายเรียบร้อย
Smart Fortwo ED ได้คะแนนดีที่สุด
รถที่ได้คะแนนดีที่สุดคือ Smart Fortwo ด้วยอัตราการไม่ผ่านเกณฑ์อยู่ที่ 3.5% (ยิ่งน้อยยิ่งดี) หากลองเทียบกับรถน้ำมันอีก 128 คันในรายงานของ TÜV ในปี 2022 รถจิ๋วคันนี้จะอยู่ใน 50 อันดับแรก
อันดับต่อมาคือ BMW i3 ที่เป็นอีกหนึ่งรุ่นที่ผ่านมาตรฐานนี้ ด้วยอัตราการไม่ผ่านเกณฑ์อยู่ที่ 4.7% ส่วนที่เกิดปัญหาบ่อยที่สุดเกี่ยวข้องกับไฟต่ำและดิสก์เบรค ในกรณีนี้ไม่ใช่เป็นความผิดปกติแต่คือขาดการใช้งาน ซึ่งเกิดจากการผุกร่อนของดิสก์เบรค
BMW i3
Joachim Bühler กรรมการผู้จัดการของ TÜV กล่าวว่า สิ่งนี้ควรเป็นคำเตือนสำหรับเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้า ว่าควรใช้เบรคมากขึ้นและหมั่นตรวจสอบเบรคเป็นประจำ
Renault ZOE
ถัดมาคือ Renault ZOE อีวีรุ่นแรกที่ไม่ผ่านมาตรฐาน ด้วยอัตราการไม่ผ่านเกณฑ์ที่ 5.7% และ ZOE ยังอยู่ใน 50 อันดับรถที่แย่ที่สุดในรายงานอีกด้วย
ปัญหาส่วนใหญ่ที่มีในรถคันนี้จะเกี่ยวข้องกับ “ไฟหน้าที่ชำรุดหรือปรับไม่ถูกต้อง” และรวมถึงช่วงล่าง ซึ่งช่วงล่างคือปัญหาที่เจอใน Tesla Model S เช่นกัน แต่ต่างกันที่ส่วนประกอบของช่วงล่าง
Tesla Model S Plaid
Tesla Model S เป็นอีวีที่ได้คะแนนต่ำสุด
อัตราการไม่ผ่านเกณฑ์ของ Tesla Model S อยู่ที่ 10.7% แสดงว่ามี Model S ถึง 1 ใน 10 ที่ต้องมาตรวจสภาพใหม่อีกครั้ง โดยเมื่อเทียบกับรายชื่อของ TÜV ทั้ง 128 ชื่อ เทสล่านั้นทำได้ดีกว่าแค่ Dacia Logan และ Dacia Duster ส่วนปัญหาหลักของเทสล่าจะเป็นเรื่องของไฟตัดหมอก, ไฟต่ำ และปีกนกของช่วงล่าง
อาการล้อแบะออกเนื่องจากปัญหาช่วงล่างเลยมีคนให้คำนิยามว่า "Whompy Wheels"
ในรายงานของเทสล่ามีบันทึกด้านปัญหาช่วงล่าง Keith Leech ได้ให้นิยามว่า "Whompy Wheels" ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ช่วงล่างพังของเทสล่า และขอให้ NHTSA ดำเนินการสำหรับการเรียกคืนรถอีกด้วย ต่อมาเทสล่าก็ได้เรียกคืนรถที่มีปัญหาช่วงล่างดังกล่าว
ประเทศจีนได้ให้เทสล่าผลิต Tesla Model S และ Model X กว่า 18,182 คันในเดือนตุลาคม 2020 ปัญหาเกี่ยวกับระบบช่วงล่างในกรณีล่าสุดของ Model Y นั้นเกิดในสหรัฐฯ เพียง 826 คัน และในจีนถึง 21,599 คัน ทำให้ Tesla กล่าวโทษซัพพลายเออร์จากจีนสำหรับปัญหาดังกล่าว
นอกจากกรณีเหล่านี้ ลูกค้าของเทสล่ารายงานปัญหาบ่อยครั้งเกี่ยวกับระบบช่วงล่างที่ล้มเหลว เช่น เจ้าของเทสล่าชาวสวิสเกดปัญหาดังกล่าวขณะขับขี่อยู่บนออโต้บาห์นที่ความเร็วกว่า 200 กม./ชม.
และในเดือนพฤษภาคมปี 2021 เทสล่าได้ติดต่อเจ้าของ Model 3 สำหรับการซ่อมแซมระบบกันสะเทือน โดยอาจเป็นการเรียกคืนรถแบบเงียบ ๆ
ส่วนปัญหาในเรื่องไฟต่ำ(ไฟหรี่)และไฟตัดหมอก นั้นอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาเรื้อรังที่มีอยู่ของเทสล่า ได้แก่ น้ำรั่วเข้าไปในโคมไฟหน้า และไฟท้ายที่เกิดไอน้ำข้างในโคม
รายงานของ TÜV แสดงให้เห็นว่าเทสล่าต้องดูแลการควบคุมคุณภาพและการทดสอบรถอย่างเร่งด่วน ภายใน 2-3 ปี Tesla Model 3 และ Model Y จะต้องเริ่มการตรวจสภาพรถทั่วไปและผลที่ได้อาจส่งผลต่อเชื่อเสียงของเทสล่าในเยอรมนีและยุโรป
ถึงแม้ตอนนี้จะยังมีเวลาอยู่ แต่ก็ไม่มีสัญญาณจากเทสล่าว่ามีความกังวลในเรื่องนี้ เพราะถ้ารู้ก่อนก็สามารถแก้ไขได้ก่อน
อ่านเพิ่มเติม : Tesla ส่งมอบ Model 3 Performance ให้ลูกค้าแบบไม่มีผ้าเบรก แต่กลับบอกว่าเป็นเรื่องปกติ!
ไทยมีการตรวจสอบรถอย่างไรบ้าง ?
ประเทศไทยมีการตรวจสภาพรถยนต์เพื่อต่อภาษีรถยนต์ประจำปี (ตรอ.) ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก และหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบก ซึ่งในกรณีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จะต้องมีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป โดยมีการตรวจสอบดังนี้
การตรวจวัดเสียง ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล
รถยนต์เครื่องยนต์ดีเซล ต้องตรวจควันดำ โดยระบบกระดาษกรองต้องไม่เกินร้อยละ 50 และระบบวัดความทึบแสงต้องไม่เกิน 45%
ตรวจสอบวัดโคมไฟหน้า ทิศทางเบี่ยงเบนของลำแสง และตรวจวัดค่าความเข้มของแสง
ตรวจสอบความถูกต้องข้อมูลของรถ เช่น แผ่นป้ายทะเบียนรถ ลักษณะรถ หมายเลขตัวรถ เลขเครื่องยนต์ เป็นต้น
ตรวจสภาพตัวถัง สี อุปกรณ์เกี่ยวกับความปลอดภัย อุปกรณ์ไฟฟ้า พวงมาลัย ที่ปัดน้ำฝน ว่ายังใช้งานได้ปกติหรือไม่
ตรวจสอบระบบบังคับเลี้ยว ระบบรองรับน้ำหนัก ระบบเบรก ระบบเชื้อเพลิง ว่ายังใช้งานได้ปกติหรือไม่
ทดสอบประสิทธิภาพการเบรก โดยตรวจสอบอุปกรณ์ทุกชิ้นว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่
ตรวจวัดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) ของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
จะเห็นได้ว่าในมาตรฐานของประเทศเยอรมนีจะมีการตรวจสภาพรถที่ถี่กว่าเรา อาจทำให้เราเห็นรถที่มีปัญหาขับขี่บนท้องถนนในประเทศไทยได้มากกว่า ปัญหาของรถที่เจอบนท้องถนนมีตั้งแต่ไฟหน้า ไฟท้าย ไปจนถึงรถยนต์ที่มีควันดำ
ปัญหาคือการบังคับใช้กฎหมายหรือเปล่านะ…
อ่านเพิ่มเติม : เกิดอะไรขึ้นกับ Tesla หลังต้องเรียกคืนรถกว่า 7 แสนคันจากปัญหาสารพัด!