ปิดงานมหกรรมยานยนต์ Motor Expo 2021 ตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย. - 12 ธ.ค. ทำยอดจองไปได้ 31,583 คัน ลดลงจากปีก่อนที่ทำได้ 33,753 คัน ลดลงแค่ 6.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน มาดูกันว่ารถยนต์แต่ละยี่ห้อ ทำยอดจองไปได้กี่คัน
- โตโยต้ายังแชมป์ ยอดโตขึ้น
- ฮอนด้าอันดับรอง ยอดแผ่วลง
- อันดับรองๆ มีการสลับตำแหน่งมาก
- Ora Good Cat รวมยอดกับ Haval
- โชว์ยอดขายทุกยี่ห้อเรียงตามลำดับ
ตารางการจัดอันดับยอดจองนี้ เรียงจากมากสุดไปหาน้อยสุด พบว่าหลายยี่ห้อยังขายดี แต่มีบางยี่ห้อมียอดต่ำกว่าคาด ค่ายรองมีการสลับอันดับขึ้นลงอย่างน่าสนใจ ไปดูอันดับที่เหลือทั้งหมด ว่าใครปังกว่ากัน
Toyota ขายดีอันดับ 1
Toyota (โตโยต้า) ยังทำยอดขายดีอันดับ 1 ในภาพรวมทั้งปิคอัพและรถเก๋ง ด้วยยอดจองในงาน 5,715 คัน มากกว่าปีก่อน (5,445 คัน) เป็นเพราะปีนี้นอกจากมี Yaris และ Revo เป็นหัวหอกหลักในการทำยอดแล้ว ยังมีการเพิ่มรุ่นย่อยใหม่ให้ Toyota Corolla Cross เป็นรุนแต่ง GR Sport ที่เพิ่งเปิดตัว ทำให้พร้อมฟาดทิ้งห่างคู่แข่งอันดับ 2
Honda อันดับ 2 ยอดแผ่ว
Honda (ฮอนด้า) ยังคงตามมาห่าง ๆ ด้วยยอดจองจำนวน 4,115 คัน ลดลงจากปีก่อน (4,508 คัน) โดยรุ่นที่ขายดีเป็นหลักคือ City Turbo และล่าสุด 2022 Honda HR-V ที่เพิ่งเปิดตัว นับว่าค่ายนี้ยังเป็นเจ้าตลาดรถยนต์นั่งก็ว่าได้ เพราะค่ายนี้ขายแต่รถประเภทนี้ล้วน ๆ ไม่มีกระบะ ยังสามารถทำยอดขายเกือบเท่าโตโยต้าที่มีกระบะขายอยู่
Isuzu อันดับ 3 ยอดเพิ่ม
Isuzu (อีซูซุ) ในงานนี้ทำยอดจองเป็นอันดับ 3 ได้ 3,329 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว (3,076 คัน) ทั้งที่มีรถแค่ 2 ตัวถังขายอยู่นั่นคือ D-Max ซึ่งเปิดตัวสีเทาใหม่ และรุ่น MU-X รถอเนกประสงค์ที่ยังมีออพชั่นแน่น ในราคาต่ำกว่าคู่แข่ง พร้อมออกโปรโมชั่นแบบฟาดค่ายอื่นสุด ๆ จึงทำยอดขายไปได้ดี
อ่านเพิ่มเติม : Top 10 ยอดจองรถ Motor Expo 2021 ผ่านครึ่งทาง โตโยต้านำ-ฮอนด้าตาม แต่ค่ายน้องใหม่ไม่ติดอันดับ
แบรนด์รองยอดจองหาย
Mazda (มาสด้า) ทำยอดจองเป็นอันดับ 4 ด้วยยอด 3,189 คัน ลดลงจากปีก่อน (4,018 คัน) แม้ว่า Mazda2 กับ CX-3 ที่ปรับออพชั่น ทำราคาใหม่ ก็ยังไม่ดึงดูดลูกค้ามากขึ้น รวมถึงรถกระบะ BT-50 รุ่นใหม่ ที่ทำยอดขายน้อยกว่าโฉมเก่า ก็เป้นส่วนหนึ่งที่ฉุดยอดจองโดยรวมลดลง
ยอดจองอันดับ 5 คือ MG (เอ็มจี) อีกค่ายรองที่ชูจุดเด่นออพชั่นดีราคาถูก ทำยอดจองได้ 2,297 คันลดลงจากปีก่อนเล็กน้อย (2,330 คัน) โดยมี MG5 เป็นตัวขายชูโรง ส่วนรถรุ่นใหม่ล่าสุดมีเพียงการปรับออพชั่นให้ MG EP Plus โดยงานนี้ไม่มี MG ZS EV เข้ามาแย่งยอดจองในบูธ เพราะเตรียมผลัดโมเดลใหม่ในปีหน้า
Suzuki (ซูซูกิ) ทำยอดจองรักษาตำแหน่งอันดับ 6 ด้วยตัวเลข 2,185 คัน ลดลงจากปีก่อน (2,652 คัน) ที่น่าตกใจสุดคือ Nissan (นิสสัน) ที่ยอดตกไปอยู่อันดับ 10 ด้วยตัวเลขการจอง 1,028 ลดลงจากปีก่อนมาก (2,666 คัน) ซึ่งรุ่นหลักที่ยังขายได้มีแค่ Almera turbo เท่านั้น
ยอดจอง ORA ไปรวมกับ Haval
ค่ายน้องใหม่ ORA (โอร่า) และ Haval (ฮาวาล) รวมยอดจองกันหมดแล้วทำได้ 868 คัน มาเป็นอันดับ 12 นับว่ายังไม่แรงมากนัก คาดว่ายอดจองส่วนใหญ่มาจากรุ่น Jolion ที่มีราคาต่ำกว่า H6 โดยที่ออพชั่นยังให้มาแน่น ๆ
ยอดจองรถในงาน Motor Expo 2021
อันดับ
|
ยี่ห้อ
|
ยอดจอง (คัน)
|
1
|
Toyota
|
5,715 |
2
|
Honda
|
4,115 |
3
|
Isuzu
|
3,249 |
4
|
Mazda
|
3,189 |
5
|
MG
|
2,297 |
6
|
Suzuki
|
2,185 |
7
|
Mercedes-Benz
|
2,005 |
8
|
Mitsubishi
|
1,572 |
9
|
BMW
|
1,111 |
10
|
Nissan
|
1,028 |
11
|
Ford
|
1,025 |
12
|
Haval/ORA
|
868 |
13
|
Hyundai
|
677 |
14
|
Lexus
|
433 |
15
|
Subaru
|
403 |
16
|
Kia
|
328 |
17
|
Volvo
|
312 |
18
|
Peugeot
|
291 |
19
|
Porsche
|
235 |
20
|
Audi
|
179 |
21
|
Mini
|
172 |
22
|
BRG
|
93 |
23
|
Maserati
|
12 |
24 |
Rolls-Royce
|
4 |
25 |
Aston Martin |
3
|
26 |
Lotus
|
2 |
เนื่องมาจากปัญหาโควิดระบาดซ้ำ ทำให้ยอดขายโดยรวมในปีนี้ลดลงกว่าปีที่แล้วที่มีโควิดระบาดเช่นกัน อีกทั้งปัจจัยของแต่ละค่ายเอง ที่ยังไม่มีรุ่นใหม่มาเปิดตัว เช่น Ford Ranger, MG HS, Mitsubishi Xpander ฯลฯ คาดว่าปีหน้าหากโควิดทุเลาลงแบบนี้ จะมีรถรุ่นใหม่เปิดตัวแย่งลูกค้าจนตลาดแตกแน่นอน
อ่านเพิ่มเติม : MG เปิดจอง Cyberster ก่อนเปิดตัวล่วงหน้า 2 ปี เรื่องจริงหรือเกมการตลาดชั้นยอด?