Honda ตัดสินใจว่าจะไม่ทำ FCV ต่อตั้งแต่เกือบสิบปีที่แล้ว
จริง ๆ แล้ว Honda ยังพัฒนา FCV อยู่แต่ไปในทิศทางที่ต่างจาก Toyota
Toshihiro Mibe ซีอีโอของ Honda (ฮอนด้า) คิดว่า Toyota (โตโยต้า) ควรหยุดพัฒนาเครื่องยนต์พลังงานไฮโดรเจน นัยว่าโตโยต้าควรมุ่งเน้นพัฒนาเพียงอีวีเท่านั้น
เขากล่าวว่าบริษัทของเขาได้วิจัยมาจนถึงเมื่อประมาณเกือบสิบปีที่แล้ว เพื่อเป็นทางเลือกในการขับเคลื่อนยานยนต์ แต่พบว่าสำหรับรถยนต์มันเป็นไปไม่ได้เลย
Honda Clarity Fuel Cell 2021 ?
ตัดสินใจว่าจะไม่ไปต่อตั้งแต่เกือบสิบปีที่แล้ว
Mibe อธิบายว่า “เราได้ทำการวิจัยในทุกความเป็นไปได้ที่มีสำหรับเครื่องยนต์พลังงานไฮโดรเจน เราเห็นถึงความท้าทายของเทคโนโลยีที่ค่อนข้างยาก ดังนั้น เมื่อประมาณเกือบสิบปีที่แล้ว เราจึงตัดสินใจว่าสิ่งนี้จะไม่สามารถเป็นที่นิยมได้”
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
Toshihiro Mibe ซีอีโอของ Honda
แต่จริง ๆ ก็ยังพัฒนา FCV อยู่
ในทางกลับกัน เมื่อพูดถึงรถยนต์ไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (FCV) ฮอนด้ามีทิศทางการพัฒนาเครื่องยนต์ดังกล่าวเช่นเดียวกันกับโตโยต้า
โดยทั้งสองเห็นว่านี่เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ของพวกเขาในอนาคต ในกรณีของฮอนด้าก็เป็นการช่วยให้บรรลุเป้าหมายของยอดขาย EV และ FCV ให้ได้ 100% ในอเมริกาเหนือหลังปี 2040
แม้ทางฮอนด้าจะไม่ได้เผยสัดส่วนของ EV กับ FCV ว่าจะเป็นอย่างไร แต่ฮอนด้ายังคงมองเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงว่าเป็นหนึ่งในเสาหลักที่สนับสนุนความท้าทายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยคาดหวังว่ารถพลังงานไฮโดรเจนจะเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายมากขึ้นในฐานะพลังงานทางเลือกใหม่
อาจเน้นไปที่รถใหญ่(รถบรรทุก)แทน
ฮอนด้ามีประวัติยาวนานในเรื่องของเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิง ทั้งในด้านการวิจัย พัฒนา และด้านการค้า และขณะที่ร่วมมือกับ GM อย่างต่อเนื่อง ฮอนด้าก็ยังมุ่งมั่นที่จะลดต้นทุนและสร้าง “สังคมไฮโดรเจน”
โดยการขยายไลน์อัพของรถพลังงานไฮโดรเจนหรือ FCV เพื่อรองรับการใช้งานที่หลากหลาย ซึ่งรวมไปถึงรถบรรทุกเชิงพาณิชย์และแหล่งพลังงานแบบอยู่กับที่และแบบเคลื่อนย้ายได้
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าฮอนด้าจะเก็บระบบส่งกำลังไฟฟ้าที่ใช้เซลล์เชื้อเพลิงไว้สำหรับรถขนาดใหญ่ ที่ต้องการระยะทางการขับขี่มากกว่ารถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ (BEV) จะให้ได้
ซึ่งทำให้เราคิดว่าอาจมีรถเพียงไม่กี่รุ่นที่จะได้เป็น FCV แม้ว่าทางฮอนด้าจะยังไม่เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับแผนรถยนต์ไฟฟ้าของค่ายว่ารุ่นไหนจะใช้พลังงานไฮโดรเจน
Toyota ไม่คิดแบบเดียวกัน
ในทางกลับกัน ทิศทางของโตโยต้าดูจะต่างจากฮอนด้าเล็กน้อย เพราะโตโยต้าได้เปิดตัวเครื่องยนต์ไฮโดรเจนตัวล่าสุดเมื่อกลางปี 2021 ไว้ใช้สำหรับ Corolla Hatchback เวอร์ชั่นสำหรับการแข่ง ที่ทดสอบความทนทาน
Toyota Corolla Hatchback เวอร์ชั่นในสนามที่ใช้พลังงานไฮโดรเจน
และทางโตโยต้าได้รายงานว่าจะใช้เครื่องตัวเดียวกันนี้ใน Toyota Prius ของปี 2025 ซึ่งหมายความว่าโตโยต้าจะใช้พลังงานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของระบบไฮบริด และ Prius ถือว่าเป็นรถขนาดเล็ก
ซึ่งบอกเป็นนัยว่าโตโยต้าไม่มีปัญหากับการสวมเครื่องยนต์พลังงานไฮโดรเจนไม่ว่ารถจะเป็นขนาดใดก็ตาม
อ่านเพิ่มเติม : ปล่อยค่ายอื่นเน้นอีวี Toyota ไล่ล่าความฝันเครื่องยนต์เติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจน
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });