Tesla (เทสล่า) ก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในผู้นำเทรนด์ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์โลกในรอบทศวรรษที่ผ่านมา ด้วยการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้าหรือระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ
ทั้งลูกค้าเองรวมไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้น ได้มีการทดสอบรถยนต์อย่างหลากหลาย ทำให้เรามีโอกาสได้เห็นการทดสอบมากมายเกิดขึ้นบนท้องถนนหลวง และหลาย ๆ ครั้ง ระบบที่นำมาทำการทดสอบนั้นยังเป็นระบบที่ไม่สมบูรณ์แบบ
คอนซูเมอร์ รีพอร์ต เขียนบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับการทดสอบเวอร์ชั่นเบต้าของระบบขับขี่อัตโนมัติแบบสมบูณ์แบบของเทสล่า ว่าเหมาะสมหรือไม่กับการทดลองระบบที่ไม่แน่ใจด้วยซ้ำว่าให้ความปลอดภัยเต็มที่ บนถนนหลวงที่มีผู้ใช้งานจริง
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
ให้ระบบฟรีเพื่อแลกกับการทดสอบใช้งานจริง
หลายครั้งที่เราพบเห็นรูปแบบของวีดีโอและการแสดงผลของการทดสอบระบบขับขี่แบบอัตโนมัติบนท้องถนนที่ดูจะไม่ค่อยปลอดภัยนักจากแบรนด์นี้ และทำให้เห็นว่าตัวรถยังมีอาการลังเลเมื่อต้องตัดสินใจในการขับขี่บนท้องถนนหลายรูปแบบ
"ผู้บริโภคนั้นได้รับการจ่ายเงินเพื่อรับบทเป็นวิศวกรผู้ทดสอบในการพัฒนาเทคโนโลยีให้กับแบรนด์ โดยที่ไม่ได้คำนึงเรื่องความปลอดภัยนัก" เจค ฟิชเชอร์ ผู้อำนวยการอาวุโสของคอนซูเมอร์ รีพอร์ต พูดถึงการที่เทสล่าเสนอระบบดังกล่าวให้ลูกค้า
ปกติแล้ว ผู้ซื้อรถยนต์เทสล่าจะต้องจ่ายค่าใช้งานระบบดังกล่าวคิดเป็นมูลค่ากว่า 1 หมื่นดอลลาร์ (ประมาณ 3.3 แสนบาท) แต่พวกเขากลับนำเสนอให้ลูกค้าไปทดลองใช้ฟรี ๆ ทำให้เกิดคำถามที่น่าสงสัยทางกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องของการซื้อขายรถยนต์
อย่างไรก็ตาม องค์การคุ้มครองผู้บริโภคไม่ได้มองแค่เรื่องนี้ แต่ระบบขับขี่อัตโนมัติ เบต้า9 ของเทสล่านั้น อาจจะครอบคลุมปัญหาไปมากกว่าลูกค้าของเทสล่า เพราะกลุ่มผู้ใช้งานโดยรอบก็อาจจะเกิดปัญหาที่เกิดจากการขัดข้องของระบบได้ทุกเมื่อ
แม้จะไม่มีรายงานว่าปัญหาการทดสอบระบบดังกล่าวโดยกลุ่มลูกค้านั้นอาจจะก่อให้เกิดการเสียหายได้เพียงใด แต่รายงานก็ระบุว่าการทดสอบระบบรถยนต์ที่ไม่มีความสมบูรณ์ ควรทำในพื้นที่ปิด ที่มีการควบคุมอย่างมิดชิดโดยผู้เชี่ยวชาญอย่างจริงจัง
วีดีโอที่แสดงให้เห็นระบบที่ไม่ปลอดภัยทั้งหมด
มีวีดีโอหลายตัวที่แสดงออกมาให้เห็นถึงปัญหาของการตัดสินใจของระบบขับขี่ปลอดภัยของเทสล่าในพื้นที่การจราจรคับคั่ง หรือต้องตัดสินใจตัดผ่านถนนที่มีการจราจรหนาแน่น โดยเฉพาะถนนแบบ 3 เลนที่จำเป็นต้องตัดผ่านการจราจรที่หนาแน่น
จากวีดีโอจะแสดงให้เห็นว่าระบบขับขี่อัตโนมัติของเทสล่านั้นถือว่าทำงานได้อย่างยอดเยี่ยมในการขับขี่แบบปกติ แต่เมื่อจำเป็นต้องตัดสินใจ ดูเหมือนหลาย ๆ ครั้งที่ระบบจะไม่เข้าใจและตัดสินใจในรูปแบบที่แตกต่างจากการขับขี่จริงบนท้องถนน
แน่นอนว่า ผู้ขับขี่หลักจำเป็นที่จะต้องควบคุมรถตลอดเวลาแม้จะเปิดระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ แต่หลาย ๆ คนก็คิดกันแล้วว่า จะเป็นการดีกว่า หากพวกเขาทำการทดสอบกันให้เรียบร้อยก่อนปล่อยรถออกมา อันนี้ก็แล้วแต่มุมมองของแต่ละคนก็แล้วกัน
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });