Supercharger คือส่วนหนึ่งที่ผู้ซื้อ Tesla (เทสล่า) ในต่างประเทศเลือกซื้อรถอีวียี่ห้อนี้ เนื่องจากความรวดเร็วในการชาร์จ รวมไปถึงสถานีที่ครอบคลุม ซึ่งในขณะนี้ สถานี Supercharger มีตัวเลขเข้าสู่ 30,000 แห่งทั่วโลกเป็นที่เรียบร้อย
หลังจากที่ Tesla เริ่มแผนในการเปิดให้รถอีวียี่ห้ออื่นมาชาร์จที่สถานีของเทสล่าได้ แผนนี้จะทำให้เทสล่าได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล เพราะเป็นการสร้างเครือข่ายการชาร์จให้แก่ประเทศ
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
เว็บไซต์ InsideEVs มีข้อมูลว่าเทสลาสร้าง Supercharger ได้ราว 2,400 สถานีต่อ 1 ไตรมาส ซึ่งในปีนี้ถึงเดือนกันยายน เทสล่าได้สร้างสถานี Supercharger ได้ถึง 3,254 แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งจะมีจุดชาร์จตั้งแต่ 9 ถึง 80 จุด
แม้เทสล่าจะเสนอ Supercharger V3 ซึ่งสามารถชาร์จได้ถึง 250 kW และเป็นที่ชาร์จขนาด 450V แต่ก็ไม่ได้แปลกอะไรสำหรับรถอีวีสมัยนี้ เช่น บริษัทสตาร์ทอัพอีวีอย่าง Lucid หรือ รถอีวีรุ่นใหม่ ๆ เช่น Kia EV6, Hyundai Ioniq 5, BYD Dolphin, หรือ Porsche Taycan ก็สามารถรองรับเครื่องชาร์จได้ถึง 800V กันแล้ว
แน่นอนว่าสถานี Supercharger ที่เพิ่มขึ้นเป็นผลดีต่อผู้ใช้เทสล่า แต่เป็นผลดีต่อรถอีวียี่ห้ออื่นหรือไม่ยังไม่แน่ชัด เพราะการใช้งานฟาสชาร์จบ่อยครั้งอาจส่งผลเสียต่อแบตเตอรี่ได้เช่นกัน การชาร์จในความเร็วปกติที่บ้านจะเป็นตัวเลือกที่ทำให้การเสื่อมของแบตเตอรี่ช้ากว่า
แม้แต่ทางเทสล่าเองยังแนะนำว่าไม่ควรใช้งาน Supercharger บ่อยเกินไป เป้าหมายที่แท้จริงคือเพิ่มความสะดวกสบายแก่ผู้ที่เดินทางไกลเป็นครั้งคราวเท่านั้น
นอกจากการฟาสชาร์จกับ Supercharger แล้ว การเปลี่ยนแบตเตอรี่ก็เป็นทางเลือกที่ดูดีกว่า ในตอนแรกเริ่มทางเทสล่าจะมีความคิดนี้มาใช้ แต่ก็ไม่ได้ใช้ในที่สุด
ผู้ผลิตรถอีวีที่นำวิธีนี้มาใช้เป็นเจ้าแรกคือ NIO (นีโอ) เป็นผู้คิดค้นวิธีสลับแบตเตอรี่ในจีนเป็นที่แรก และกำลังขยายวิธีนี้ไปยังยุโรป รถอีวีค่ายอื่นในจีน เช่น Geely ก็กำลังศึกษาในวิธีนี้อยู่เช่นกัน
อ่านเพิ่มเติม : เหตุใดค่ายรถจากจีนหมกมุ่นกับการสลับแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า
หากต้องการให้มีสถานี Supercharger ในไทยบ้าง คงต้องรอให้ทาง Tesla เข้ามาทำตลาดในไทย เพราะเทสล่าที่ขายในไทยทุกวันนี้มาจากผู้นำเข้าอิสระทั้งสิ้น แต่อาจเป็นไปได้ยาก
อ่านเพิ่มเติม : Tesla ยังล้ม Toyota, Mercedes-Benz, BMW เชิงมูลค่าไม่ได้
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });