Tesla (เทสล่า) เพิ่งประกาศตัวเลขความยอดเยี่ยมของตัวเองในการส่งมอบรถยนต์และการทำผลกำไรในรอบ 3 ไตรมาสที่ผ่านมา นอกจากนี้ พวกเขายังได้ประกาศการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการพัฒนารถยนต์รุ่นต่อไปของแบรนด์ในการแถลงดังกล่าว
นั่นก็คือ การที่เทสล่ากำลังจะเปลี่ยนมาใช้แบตเตอรี่แอลเอฟพี หรือ Lithium iron phosphate ในการผลิตรถยนต์รุ่นเริ่มต้น หรือรถยนต์ที่มีระยะทางวิ่งมาตรฐานของบริษัท แทนที่จะใช้บริการแบตเตอรี่ที่มีพื้นฐานมาจากนิกเกิลเหมือนที่เคยใช้งานมาตลอด
ก่อนหน้านี้ รถยนต์ Tesla Model 3 (เทสล่า โมเดล 3) ที่ผลิตในสหรัฐอเมริกาจะใช้แบตเตอรี่นิกเกิล แมงกานีส โคบอลต์ หรือ นิกเกิล โคบอลต์ อลูมิเนียม ขณะที่โรงงานกิกะ เซี่ยงไฮ้ เริ่มผลิตทั้งโมเดล 3 และโมเดล วาย ที่ใช้แบตเตอรี่แอลเอฟพีไปแล้ว
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
แม้จะเป็นแบตเตอรี่ที่ยืนหยัดมาอย่างยาวนานในอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่้ทั้งรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นพื้นฐาน รถยนต์เชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ รวมไปถึงระบบสำรองพลังงาน แต่แบตเตอรี่แอลเอฟพีก็มีข้อเสียในเรื่องของการรองรับการประจุไฟฟ้าที่เข้มข้นน้อยกว่า
ถ้าจะให้ยกตัวอย่างให้เห็นชัด ๆ ก็คือ แบตเตอรี่แอลเอฟพีนั้น ถูกติดตั้งใน ORA Good Cat (โอร่า กู๊ดแคท) รุ่นระยะขับเคลื่อน 400 กิโลเมตร ขณะที่รุ่น 500 กิโลเมตรนั้น จะต้องใช้แบตเตอรี่ NMC หรือ Lithium Ternary แทนเพื่อให้ได้ระยะทางวิ่งดังกล่าว
ปลอดภัย ชาร์จได้บ่อย และประหยัดต้นทุน
แม้จะไม่มีคำอธิบายว่าเพราะเหตุใดพวกเขาถึงเลือกใช้แบตเตอรี่แบบนี้แทน แต่ก็พอจะเดาได้ว่า การเปลี่ยนมาใช้แบตเตอรตี่แบบดั้งเดิมนี้ จะเป็นหนึ่งในหนทางของการประหยัดต้นทุน ที่ทำให้เทสล่าสามารถทำกำไรจากการขายรถยนต์ได้เพิ่มเติมไปอีก
ข้อจำกัดของแบตเตอรี่แอลเอฟพีคือเรื่องของความเข้มข้นของการประจุไฟฟ้า ที่ทำให้รถได้ระยะทางวิ่งที่น้อยกว่าแบตเตอรี่ประเภทอื่น ๆ หากเทียบขนาดของแบตเตอรี่ที่เท่ากัน ซึ่งก็คงไม่มีปัญหาอะไรหากมองว่าเป็นการใช้งานสำหรับรถรุ่นเริ่มต้น
จากการสอบถามผู้บริหารของ ORA เกี่ยวกับแบตเตอรี่ดังกล่าวว่าทำไมรถ 2 รุ่นของพวกเขาถึงใช้งานแบตเตอรี่คนละแบบ ก็ได้คำตอบว่าเรื่องของระยะการวิ่งจากความหนาแน่นของการประจุไฟ เป็นเหตุผลหลักทำให้รุ่นท็อปต้องใช้แบตเตอรี่แบบอื่น
อย่างไรก็ตาม แบตเตอรี่แอลเอฟพีนั้นก็มีข้อดีมากกว่า โดยเฉพาะในเรื่องของความทนทานจากการชาร์จไฟฟ้าได้หลายไซเคิลของแบตเตอรี่มากกว่า ขณะเดียวกัน ก็มีรายงานระบุว่าสูตรทางเคมีของแบตเตอรี่แบบดั้งเดิมนั้นมีความปลอดภัยมากกว่า
การเปลี่ยนมาใช้แบตเตอรี่แบบดั้งเดิมของเทสล่าจะเกิดขึ้นกับโมเดล 3 และโมเดล วาย ซึ่งนอกจากเป็นการเปลี่ยนมาใช้แบตเตอรี่ที่ถูกกว่าแล้ว แอลเอฟพี แบตเตอรี่ยังไม่มีส่วนประกอบของแร่แรร์เอิร์ธ ซึ่งเป็นปัญหากวนใจเทสล่ามายาวนานอีกด้วย
ทำไมก่อนหน้านี้พวกเขาไม่ใช้ LFP ล่ะ
หนึ่งในสาเหตุที่แบตเตอรี่แบบแอลเอฟพีไม่ถูกใช้อย่างแพร่หลายในช่วงก่อนหน้านี้ เป็นเพราะว่าสิทธิบัตรในการใช้งานแบตเตอรี่รูปแบบดังกล่าวเป็นของ CATL ผู้ผลิตแบตเตอรี่รายใหญ่จากประเทศจีน ที่เป็นคนผลิตแบตเตอรี่ให้เทสล่าในจีนนั่นล่ะ
อย่างไรก็ตาม สิทธิบัตรดังกล่าวนั้นกำลังจะหมดอายุลงไปในอนาคตอันใกล้ ทำให้เทสล่าเองก็กำลังจับตาถึงสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด และมีรายงานว่าพวกเขาตั้งใจที่จะนำแบตเตอรี่ประเภทนี้กลับมาผลิตในประเทศบ้านเกิดอย่างสหรัฐอเมริกา
CATL เป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ที่มีฐานการผลิตทั้งในจีนและเยอรมนี พวกเขายังมีสัญญาการส่งแบตเตอรี่ให้เทสล่าไปถึงปี 2025 รวมถึงการส่งแบตเตอรี่ให้โฟล์กสวาเกน BMW (บีเอ็มดับเบิลยู) และ Honda (ฮอนด้า) อีกด้วย
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });