Nio ประกาศเป้าหมายสร้างสถานีสลับแบตเตอรี่จำนวน 4,000 แห่งทั่วโลกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการรุกตลาดระดับโกลเบิลของค่ายรถไฟฟ้าสตาร์ทอัพจากประเทศจีนรายนี้
หลังจากสร้างชื่อเสียงจากการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าระดับพรีเมียมจนติดตลาดเมืองจีน Nio เตรียมนำเสนอวิธีการใช้งานรถอีวีที่สะดวกสบายยิ่งขึ้นด้วยการ “สลับเปลี่ยนแบตเตอรี่” ควบคู่กับการเสียบปลั๊กชาร์จไฟฟ้าแบบดั้งเดิมให้คอรถยนต์ทั่วโลกได้สัมผัสกัน โดยวางเป้าหมายว่าจะสร้างสถานีสลับแบตเตอรี่ให้ได้ถึง 700 แห่งทั่วโลกในช่วงปลายปีนี้ ก่อนที่จะเพิ่มเป็น 4,000 แห่งภายในปี 2025
เป้าหมายดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อมกับแผนการรุกตลาดยุโรป Nio ประกาศว่าจะเริ่มต้นธุรกิจในประเทศนอร์เวย์ที่มีสัดส่วนผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากที่สุดในโลกเป็นแห่งแรก เราไปชมกันว่าการสลับแบตเตอรี่มีวิธีการอย่างไร และสะดวกสบายกว่าการชาร์จไฟฟ้าตามปกติจริงหรือ
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
เทคโนโลยี NIO Power Swap 2.0
Nio ประกาศว่าจะส่งรถเอสยูวีแฟล็กชิพ ES8 ออกทำตลาดยุโรปเป็นรุ่นแรก มีระยะทางขับเคลื่อนไกลถึง 500 กม.ต่อการชาร์จไฟหนึ่งครั้ง โดยจะเปิดให้จองในเดือนกรกฎาคมนี้และส่งมอบในช่วงปลายปี หลังจากนั้นจะเปิดตัวรถซีดาน ET7 เป็นรุ่นถัดมาในปี 2022
รถยนต์ไฟฟ้าทั้งสองโมเดลจะมาพร้อมการบริการสุดพิเศษนั่นคือ “สถานีสลับแบตเตอรี่” ด้วยเทคโนโลยีที่มีชื่อว่า “NIO Power Swap 2.0” ซึ่ง Nio วางแผนสร้าง 4 สถานีแรกในเมืองใหญ่ของนอร์เวย์ในช่วงปลายปีนี้
เมื่อย้อนกลับมาดูในตลาดบ้านเกิด Nio เปิดตัวสถานีสลับแบตเตอรี่ NIO Power Swap 2.0 ซึ่งเป็นเจนเนอเรชั่นที่ 2 ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยสถานีแห่งแรก ๆ ตั้งอยู่ทั่วกรุงปักกิ่ง มาพร้อมคำนิยามว่าเป็น “สถานีสลับแบตเตอรี่อัจฉริยะสำหรับใช้งานในวงกว้าง” ครั้งแรกของโลก
สถานี NIO Power Swap 2.0 มีดีไซน์เรียบง่ายคล้ายตู้คอนเทนเนอร์ ภายในตัวสถานีแต่ละแห่งจะมีเซ็นเซอร์ทั้งหมด 239 ตัว ทำงานด้วยการประมวลผลผ่านระบบคลาวด์ ผู้ใช้สามารถเข้ารับบริการสลับแบตเตอรี่ด้วยการ “คลิก” หน้าจอโทรศัพท์ไม่กี่ครั้ง โดยขณะเปลี่ยนแบตเตอรี่นั้น ผู้ขับขี่และผู้โดยสารสามารถนั่งอยู่ในรถได้ตลอดจนเสร็จสิ้นกระบวนการที่ Nio เคลมไว้ว่าใช้เวลาประมาณ 3 นาที
เทคโนโลยี NIO Power Swap 2.0 รองรับการสลับเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้สูงสุด 312 ชุดต่อวัน ซึ่งมากกว่าเจนเนอเรชั่นแรกถึง 3 เท่า Nio ใช้นวัตกรรมที่เรียกว่า Bayobolt เอกสิทธิ์เฉพาะของบริษัทฯ ที่มีระบบป้องกันการหลุดหลวมของตัวแบตเตอรี่ที่ติดตั้งใต้ท้องรถ
เผยการใช้งานจริง มีติดขัดบ้างแต่ถูกใจผู้ใช้
จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้งานจริงในประเทศจีน พบว่าสถานีสลับเปลี่ยนแบตเตอรี่เช่นนี้ถูกอกถูกใจผู้ใช้อย่างมาก และเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่คอรถยนต์ในแดนมังกรตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของแบรนด์ Nio เลยทีเดียว
ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า Nio ชื่นชอบความสะดวกในการค้นหาหรือจองคิวเปลี่ยนแบตเตอรี่ผ่านแอปสมาร์ทโฟน อีกทั้งขั้นตอนการเปลี่ยนแบตเตอรี่ก็ยังรวดเร็วทันใจ ขณะที่การชาร์จไฟฟ้าแบบเสียบปลั๊กตามปกตินั้นต้องใช้เวลานานกว่ามาก
อย่างไรก็ตาม จุดด้อยของการสลับแบตเตอรี่คือระยะเวลารอคิวที่บางครั้งอาจนานเป็นชั่วโมง ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ใช้ แต่บริเวณสถานีสลับแบตเตอรี่จะมีชุดชาร์จไฟแบบด่วนให้ผู้ขับขี่เลือกใช้บริการได้ด้วย เรียกว่า Nio คิดแผนสำรองไว้แล้ว
ขณะที่กระบวนการเปลี่ยนแบตเตอรี่ทั้งหมดนั้นใช้เวลาราว 12 – 13 นาที นานกว่า 4 เท่าตัวเมื่อเทียบกับระยะเวลาที่ Nio เคลมไว้ที่ 3 นาที ดังนั้น หากมีรถต่อคิวราว 5 คัน ก็เท่ากับว่าคันที่ 5 ต้องรอนานเกือบชั่วโมงเลยทีเดียว
แต่กระนั้น การสลับเปลี่ยนแบตเตอรี่ก็ถือว่าเร็วกว่าการชาร์จไฟปกติ จนถึงปัจจุบันยังไม่มีคอมเมนท์ด้านลบจากผู้ใช้รถชาวจีนเกี่ยวกับ NIO Power Swap 2.0 นอกจากเสียงเรียกร้องให้เพิ่มสถานีสลับแบตเตอรี่ให้ครอบคลุมกว่านี้ อีกทั้งยังมีรายงานว่าบรรดาบริษัทสตาร์ทอัพรถยนต์ไฟฟ้าหลายแห่ง รวมถึงบริษัทรถแท็กซี่ไฟฟ้าในจีนก็หันมาใช้การสลับแบตเตอรี่ด้วยเช่นกัน
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });