2018 Mazda 3 (มาสด้า 3) เกือบ 3 หมื่นคันถูกเรียกคืนในประเทศจีนเพื่อนำกลับมาแก้ไขปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง อันเป็นปัญหาเรื้อรังและส่งผลต่อการใช้งานของรถคอมแพ็กต์รุ่นนี้
Changan Mazda บริษัทร่วมทุนระหว่าง Chongqing Changan Automobile ของประเทศจีนและ Mazda Motor จากประเทศญี่ปุ่น ประกาศเรียกคืนรถยนต์ Mazda จำนวนทั้งหมด 29,134 คัน เพื่อนำกลับมาแก้ไขปัญหาน้ำมันเชื้อเพลิงทำงานบกพร่อง
การเรียกคืนทั้งหมด 29,134 แบ่งออกเป็น Mazda 3 Axela จำนวน 26,444 คันที่ผลิตระหว่างวันที่ 13 กันยายน 2018 ถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2019 และรถเอสยูวี CX-8 ที่ผลิตระหว่างวันที่ 14 ตุลาคม 2018 ถึง 15 พฤษภาคม 2020 จำนวน 2,690 คัน
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
สำนักข่าว Xinhua รายงานว่าปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำงานบกพร่องอาจส่งผลให้สตาร์ทเครื่องยนต์ติดยาก และเครื่องยนต์ดับกะทันหันซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงอุบัติเหตุ โดย Changan Mazda จะเปลี่ยนชิ้นส่วนให้แก่ลูกค้าโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ปัญหาเดียวกันนี้เกิดขึ้นในประเทศไทยเช่นกัน
หากติดตามการใช้งานรถยนต์ Mazda 3 ของลูกค้าในคลับต่าง ๆ จะพบว่าปัญหาปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงหรือที่คนไทยเรียกติดปากว่า “ปั๊มติ๊ก” เกิดขึ้นกับรถยนต์รุ่นนี้ในบ้านเราเช่นกัน ต้นเหตุของปัญหาก็คือตัวมอเตอร์ไม่สามารถดูดเชื้อเพลิงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพทำให้เครื่องยนต์ดับหรือสตาร์ทไม่ติด
ปัญหานี้มักพบใน Mazda 3 เจนเนอเรชั่นก่อนหน้าหรือรุ่นที่ผลิตภายในปี 2018 ทำให้ลูกค้าบางรายบ่นถึงการจัดการปัญหาที่ไร้ประสิทธิภาพและมีการเรียกร้องให้ Mazda ในไทยเรียกคืนบ้าง
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ใช้วิธีแก้ปัญหานี้ให้ลูกค้าแบบรายต่อราย โดยปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดจำหน่ายในการดูแลรถยนต์ของลูกค้าซึ่งส่วนใหญ่ยังอยู่ในระยะประกัน จึงสามารถเคลมเปลี่ยนชิ้นส่วนที่มีปัญหาได้ทันทีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
แต่กระนั้น ปัญหานี้ได้ส่งผลต่อความเชื่อมั่น ผู้ใช้รถรุ่นนี้บางรายเปิดเผยว่าตนเอง “โชคดี” ที่ใช้งาน Mazda 3 รุ่นปี 2018 และยังไม่พบปัญหานี้ แต่ก็ต้องลุ้นทุกครั้งที่ออกจากบ้าน ขณะที่ลูกค้าบางคนชี้ว่าการที่ Mazda รู้ว่าปั๊มเชื้อเพลิงมีปัญหาแต่ไม่จัดการแก้ไขอย่างจริงจัง และรอให้รถลูกค้าดับกลางทางก่อนนั้นส่งผลต่อความมั่นใจอย่างมาก
แล้วทำไม Mazda ถึงไม่เรียกคืนรถยนต์ในไทย
การเรียกคืนรถยนต์ (recall) ส่วนใหญ่คือมาตรการ “ป้องกันผลที่เกิดจากปัญหา” หลังจากตรวจพบแล้วว่ามีชิ้นส่วนใดชิ้นส่วนหนึ่งทำงานบกพร่องและต้องถูกแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำขึ้นอีกกับผู้บริโภค
แต่การเรียกคืนรถยนต์แต่ละครั้งเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย โดยเฉพาะผู้จัดจำหน่ายและซัพพลายเออร์ นำไปสู่ต้นทุนการดำเนินการที่ค่อนข้างสูง ขณะเดียวกัน ทัศนคติที่คลาดเคลื่อนมีต่อการเรียกคืนเพราะอาจถูกมองว่าคุณภาพของตัวรถรุ่นนั้น ๆ ต่ำกว่ามาตรฐานก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้บริษัทรถยนต์ส่วนใหญ่ในไทยเลือกที่จะใช้วิธีแก้ปัญหาให้ลูกค้าเป็นรายบุคคลหลังจากเกิดข้อบกพร่องแล้ว
หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคที่ไม่มีความเข้มงวดเพียงพอและการขาดตัวบทกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่แข็งแรงก็เป็นสาเหตุที่ทำให้การเรียกคืนรถยนต์มักไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย
ยกเว้นแต่ว่าปัญหานั้นจะเกิดขึ้นในระดับสากลและมีความร้ายแรงถึงชีวิต อย่างการเรียกคืนถุงลมนิรภัย Takata ของรถยนต์หลายรุ่นในบ้านเรา
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });