5 บริษัทผู้ผลิตรถยนต์จากประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ Honda (ฮอนด้า) Mazda (มาสด้า) Nissan (นิสสัน) Subaru (ซูบารุ) และ Toyota (โตโยต้า) จับมือร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโยลีการจำลองคอมพิวเตอร์
บริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ข้างต้นเห็นพ้องต้องกันในการสร้างมาตรฐานการออกแบบ การวิจัยและพัฒนาวิศวกรรมยานยนต์ภายใต้กลุ่มศูนย์กลางที่มีชื่อว่า JAMBE หรือ Japan Automotive Model-Based Engineering ด้วยเป้าหมายการลดระยะเวลาการพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่ และประหยัดต้นทุนได้อย่างมหาศาล
นอกจากบริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ทั้ง 5 รายข้างต้น ยังมีบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอีก 5 รายทั้ง Aisin, Jatco, Denso, Panasonic และ Mitsubishi Electric ที่เข้าร่วมกลุ่ม JAMBE ในการพัฒนาเทคโนโลยีและวิศวกรรมยานยนต์ร่วมกัน
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
ประโยชน์ของ JAMBE คืออะไร
จุดประสงค์หลักของกลุ่ม JAMBE คือการส่งเสริมการพัฒนายานยนต์ด้วยเทคโนโลยี Model-based Development หรือ MBD กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการคำนวณแบบเสมือนจริงในรูปแบบโมเดลดิจิทัล
ด้วยการใช้เทคโนโลยี MBD ทุกชิ้นส่วนสามารถถูกสร้างขึ้นด้วยโมเดลดิจิทัลก่อนประกอบขึ้นเป็นรถยนต์เสมือนจริงในคอมพิวเตอร์ ประหนึ่งการจำลองการสร้างรถยนต์ที่ช่วยให้ทีมวิศวกรสามารถระบุจุดเด่นหรือจุดด้อยของตัวรถก่อนที่จะเดินหน้าไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขั้นต่อไปได้
เมื่อเทียบกับการออกแบบและสร้างรถยนต์โปรโตไทพ์ขึ้นมาจริง ๆ แล้ว การใช้เทคโนโลยี MBD ไม่เพียงรวดเร็วกว่า แต่ยังช่วยลดต้นทุนได้อย่างมีนัยสำคัญ
ค่ายรถญี่ปุ่นหลายรายใช้เทคโนโลยีนี้อยู่ก่อนแล้ว แต่ JAMBE ช่วยให้สามารถแบ่งปันข้อมูลกันได้ ไม่เพียงระหว่างบริษัทรถยนต์ แต่ยังรวมถึงบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วน ทำให้ซัพพลายเชนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ลดความจำเป็นที่บริษัทจะต้องปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาด ลดระยะเวลาและต้นทุนอีกทางหนึ่ง
มิตซูโอะ ฮิโตมิ รองประธานอาวุโสฝ่ายนวัตกรรมของ Mazda จะนั่งเก้าอี้ประธานกลุ่ม JAMBE ซึ่งเขากล่าวตั้งความหวังไว้ว่ากลุ่มนี้จะช่วยจัดระเบียบกระบวนการผลิตของบริษัทอุตสาหกรรมญี่ปุ่น ลดข้อผิดพลาด และลดของเสียระหว่างการผลิต
“JAMBE จะสร้างชุมชนแห่งการผลิตที่มีความก้าวล้ำหน้ามากที่สุดในโลก เราจึงสามารถมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเทคโนโลยีอื่น ๆ อย่างระบบขับเคลื่อนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น” ฮิโตมิ กล่าว
Mazda เป็นบริษัทแรก ๆ ที่ริเริ่มใช้เทคโนโลยี MBD ในการพัฒนารถเอสยูวี Mazda CX-5 (มาสด้า ซีเอ็กซ์-5) เจนเนอเรชั่นแรกเปิดตัวในปี 2012 ขณะที่ Toyota และ Honda ก็ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวมานานหลายปีแล้วเช่นกัน แต่ผู้ผลิตชิ้นส่วนบางรายโดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็กยังต้องพึ่งพากระบวนการผลิตชิ้นส่วนต้นแบบขึ้นมาแบบดั้งเดิมและยังไม่มีการใช้ระบบดิจิทัลแต่อย่างใด
ประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการรวมกลุ่มครั้งนี้คือคุณภาพของตัวรถที่สูงขึ้น บริษัทสมาชิกกลุ่ม JAMBE คาดการณ์ว่าด้วยการผนึกกำลังกัน อุตสาหกรรมยานยนต์ญี่ปุ่นจะมีความแข็งแกร่งมากขึ้นและสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ดีกว่าปัจจุบัน
ขณะเดียวกัน การใช้โมเดลดิจิทัลยังสามารถเชื่อมโยงกับงานวิจัยทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ทั้งในด้านการพัฒนาชิ้นส่วน ระบบภายในรถยนต์ และตัวรถทั้งคัน
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });