Honda Civic (ฮอนด้า ซีวิค) ปี 2001 ขึ้นแท่นอันดับ 1 รถยนต์ที่ถูกเรียกคืนมากที่สุดในโลก พบปัญหาเพียบทั้งปั๊มติ๊ก ไฟหน้า เข็มขัดนิรภัยไปจนถึงถุงลมนิรภัยของ Takata ที่คร่าชีวิตผู้ใช้ไปแล้วหลายราย
หน่วยงานความปลอดภัยบนถนนหลวงของสหรัฐอเมริกาหรือ NHTSA (National Highway Traffic Safety Administration) ระบุว่า Civic เจนเนอเรชั่นที่ 7 ถูกเรียกคืนมากถึง 27 ครั้งนับตั้งแต่ออกทำตลาดในช่วงปลายปี 2000 ขณะที่เว็บไซต์สื่อยานยนต์ต่างประเทศหลายสำนักพบว่า Civic รุ่นนี้ซึ่งมีชื่อเรียกติดปากว่า “ซีวิค ไดเมนชั่น” ถูกร้องเรียนด้านคุณภาพมากที่สุดด้วย
เราไปชมกันว่าทำไม Honda Civic รุ่นนี้ถึงมีปัญหามากมาย ข้อบกพร่องต่าง ๆ เหล่านั้นมีอะไรบ้าง และยังควรค่าแก่การเป็นเจ้าของมือสองหรือไม่
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
ระบบจ่ายเชื้อเพลิง-เข็มขัดนิรภัย-ไฟหน้า
หลังจาก Civic เจนเนอเรชั่นที่ 7 ออกจำหน่ายในช่วงปลายปี 2000 การเรียกคืนครั้งแรกเกิดขึ้นในช่วงกลางปี 2001 เมื่อพบว่าระบบจ่ายเชื้อเพลิงของตัวรถทำงานบกพร่อง เนื่องจากมีน้ำรั่วไหลเข้าไปในระบบทำให้ปั๊มจ่ายเชื้อเพลิงสึกกร่อน นำไปสู่ปัญหาเครื่องยนต์หยุดทำงานหรือสูญเสียพละกำลัง
ไม่เพียงเท่านั้น ปัญหาปั๊มเชื้อเพลิงยังอาจทำให้น้ำมันรั่วไหลออกจากระบบจนเจิ่งนองลงที่พื้นถนน ทำให้เกิดความเสี่ยงไฟลุกไหม้ตามมาอีกต่างหาก
ปัญหาต่อมาที่พบคือเข็มขัดนิรภัยที่ “ทำงานอย่างแน่นหนาเกินไป” โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ เข็มขัดนิรภัยที่เบาะหลังทั้งฝั่งซ้าย ตรงกลาง และฝั่งขวาจะติดล็อกแน่นกับตัวผู้โดยสารจนออกจากตัวรถได้อย่างยากลำบาก ปัญหาเดียวกันนี้พบใน Honda Accord (ฮอนด้า แอคคอร์ด) ปี 2000 – 2001 เช่นกัน
ไฟหน้าที่ไม่ส่องสว่างเท่าที่ควรคือปัญหาลำดับต่อมาที่ทำให้ Civic รุ่นนี้ถูกเรียกคืนเพื่อตรวจสอบและแก้ไข โดย NHTSA พบว่าไฟต่ำมีความเสี่ยงที่จะเกิดโอเวอร์ฮีตหรือความร้อนสูงเกินไปและดับไปโดยไม่มีการแจ้งเตือน ปัญหานี้ยังพบใน Honda Insight (ฮอนด้า อินไซต์) ปี 2000 – 2002
ปัญหาไฟหน้ายังไม่จบแค่นี้ ลูกค้าที่ต้องการเปลี่ยนไฟหน้าใหม่เพราะเกิดเสียหรือประสบอุบัติเหตุกลับต้องพบว่าไฟหน้าอะไหล่ของ Honda ที่ผลิตโดยซัพพลายเออร์ Anzo ไม่มีตัวสะท้อนแสง จึงต้องมีการเรียกคืนรถกว่า 5 แสนคันเลยทีเดียว
ปัญหาถุงลมนิรภัย Takata
ถุงลมนิรภัยที่ทำงานบกพร่องกลายเป็นปัญหาใหญ่หลวงที่สุดใน Civic รุ่นนี้ (และรุ่นใหม่กว่านี้) ถึงแม้จะไม่ได้เกิดคุณภาพของรถยนต์ Honda แต่ก็ทำให้ค่ายรถยักษ์ใหญ่จากแดนอาทิตย์อุทัยรายนี้ต้องเรียกคืนรถชนิดนับไม่ถ้วน
เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ถุงลมนิรภัย Takata (ทาคาตะ) มีความเสี่ยงที่จะระเบิดออกมาอย่างรุนแรงเกินขนาดทำให้มีวัสดุมีคมปลิวว่อนในห้องโดยสารจนผู้ขับขี่และผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิต
ถุงลมนิรภัย Takata ทุกตำแหน่ง ทั้งคู่หน้าและด้านข้างที่ติดตั้งอยู่ในรถยนต์ Honda ผลิตระหว่างปี 2000 – 2012 ถูกเรียกคืนล็อตใหญ่หลายล้านคันทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยด้วย
นอกจากนี้ Civic ปี 2001 นี้ยังถูกเรียกคืนด้วยปัญหาต่าง ๆ อีกหลายครั้ง อาทิตัวกรองอากาศอาจเลื่อนไปกดลิ้นปีกผีเสื้อทำให้ตัวรถเร่งไปข้างหน้าเอง และตัวฉนวนถังเชื้อเพลิงที่กระจายความร้อนไม่ทั่วถึง ทำให้เกิดความเสี่ยงระเบิดตูมตามขึ้นมาได้
ปัจจุบัน Civic โฉมไดเมนชั่นหรือเจนเนอเรชั่นที่ 7 ยังมีซื้อ-ขายกันอยู่บ้างในตลาดมือสองของบ้านเรา สนนราคาอยู่ที่ประมาณ 1 แสนบาทขึ้นไป ใครสนใจเป็นเจ้าของอาจต้องตรวจสอบคุณภาพกันให้ดี หรือควรเลือก Civic เจนเนอเรชั่นที่ 8 ขึ้นไปก็จะอุ่นใจได้มากกว่า
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });