New Car Assessment Programme for Southeast Asian Countries (ASEAN NCAP) หรือศูนย์ความปลอดภัยบนถนน จัดงาน ASEAN NCAP Grand Prix Awards 2020 โดยให้รางวัลแก่รถที่มีความปลอดภัยดีเยี่ยมในปีที่ผ่านมา สำหรับภูมิภาคอาเซียน
โดยค่ายญี่ปุ่นกวาดรางวัลไปส่วนใหญ่
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
โตโยต้ากวาดรางวัล
สำหรับในปี 2020 มีการแบ่งรางวัลอกเป็น 2 ส่วน คือ รางวัลยอดเยี่ยม วัดจากความพยายามในการพัฒนาความปลอดภัยของรถ และรางวัลมาตรฐานความปลอดภัยยอดเยี่ยม วัดจากการทำคะแนนในการทดสอบ
โดยในรางวัลแรก Toyota (โตโยต้า) กวาดไป 4 รางวัล คือ การพัฒนาความปลอดภัยของรถยนต์ของ
นอกจากนี้ ยังมี Isuzu D-Max (อีซูซุ ดีแมกซ์) ที่ได้รางวัลเดียวกัน รวมถึง Honda City (ฮอนด้า ซิตี้) ที่ได้รางวัล 5 ดาวมาตั้งแต่ปี 2012
รางวัลความปลอดภัยยอดเยี่ยม
ในด้านของความปลอดภัยยอดเยี่ยม Honda Accord (ฮอนด้า แอคคอร์ด) คว้าคะแนนสูงสุด ในการทดสอบการชน ความปลอดภัยสำหรับผู้โดยสารผู้ใหญ่และเด็ก แต่สำหรับคะแนนระบบช่วยเหลือ Toyota Majesty (โตโยต้า มาเจสตี้) คว้าไปเพราะมีระบบอย่าง
- Dynamic Radar Cruise Control
- ระบบเตือนก่อนชน PCS
- ะบบเตือนเมื่อรถออกนอกเลน
- ระบบเตือนเมื่อผู้ขับขี่เหนื่อยล้า
- กล้องถอยหลัง กล้องมองรอบคัน
- ถุงลมเสริมความปลอดภัย 9 ตำแหน่ง
- โครงสร้างห้องโดยสารพัฒนาพิเศษช่วยดูดซับแรงกระแทก ป้องกันการยุบตัวเมื่อเกิดการชน
หลักการประเมิน
สำหรับหลักเกณฑ์การประเมินผล ของอาเซียน เอ็นแคป (ASEAN NCAP) นั้นประกอบด้วย การทดสอบการปกป้องผู้โดยสารที่เป็นผู้ใหญ่ (Adult Occupant Protection – AOP) การทดสอบการปกป้องผู้โดยสารที่เป็นเด็ก (Child Occupant Protection – COP) และระบบช่วยเหลือ ด้านความปลอดภัย (Safety Assist)
ซึ่งในการประเมินจะทำการทดสอบการชนด้านหน้าแบบเยื้องศูนย์ (Frontal Offset Impact Test) การทดสอบการชนด้านข้าง (Side Impact Test) และการทดสอบการติดตั้งระบบยึดเหนี่ยวเด็กภายในรถ (Child Restraint System – CRS) อีกทั้งยังมีการประเมินองค์ประกอบด้านความปลอดภัยอื่นๆ ของรถอีกด้วย
นักเขียนมือใหม่ ที่พยายามพัฒนาตัวเองขึ้นไปทุกวัน เริ่มชอบรถตั้งแต่เด็กเพราะบ้านเปิดอู่ จึงมีเวลาอยู่กับรถมาก ชอบไปขับรถเล่นตอนกลางคืน เพราะเป็นเวลาที่จะได้อยู่กับตัวเองมากที่สุด
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });