window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_breadcrumb_above_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678150997-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678150997-0'); });

Global NCAP ชี้ชัด รถที่ขายในประเทศยากจน ยังปลอดภัยไม่เพียงพอ

Boris · Jan 9, 2021 02:42 PM

Global NCAP ชี้ชัด รถที่ขายในประเทศยากจน ยังปลอดภัยไม่เพียงพอ 01

หน่วยงานทดสอบความปลอดภัย Global NCAP ได้ออกแถลงถึงความไม่เสมอภาคกันระหว่างความปลอดภัยของรถรุ่นเดียว ที่จำหน่ายในประเทศที่ต่างกัน

หลายท่านน่าจะทราบดีว่า รถยนต์ที่จำหน่ายในแต่ละประเทศอาจจะมีสเปคของอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ไม่เหมือนกัน เช่นของ Isuzu D-Max (อีซูซุ ดีแมกซ์) ที่อ็อปชั่นหลายอย่างยังไม่มีให้ในประเทศไทย

Global NCAP ชี้ชัด รถที่ขายในประเทศยากจน ยังปลอดภัยไม่เพียงพอ 02

เพื่อรถที่ปลอดภัยมากขึ้น (และไม่ใช่แค่ในยุโรป)

แต่ Global NCAP ได้รายงานถึงความแตกต่างที่มากกว่าเพียงอุปกรณ์ความปลอดภัย เพราะมีตัวอย่างจำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่าโครงสร้างของรถก็ไม่เหมือนกันเช่นกัน หรือถ้าจะให้บอกในแบบที่คนอาจจะเข้าใจง่ายก็คือ ความแข็งแรงของเหล็กตัวถังในแต่ละชาติก็ไม่เท่ากัน

window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });

#SAFERCARFORINDIA #SAFERCARFORAFRICA แคมเปญรณรงค์ที่มาจากตะวันตก

New Car Assessment Program หรือ NCAP มีต้นกำเนิดมาจากในทวีปยุโรป ในชื่อของ Euro NCAP ซึ่งเป็นหน่วยงานไม่แสวงหาผลกำไรที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ในการทดสอบความปลอดภัยรถยนต์ เปิดทำการมาตั้งแต่ปี 1996 ก่อนที่จะขยายอาณาเขตไปดูแลในยังพื้นที่ต่าง ๆ เช่น Latin NCAP Australasian NCAP ASEAN NCAP และ China NCAP

Global NCAP ชี้ชัด รถที่ขายในประเทศยากจน ยังปลอดภัยไม่เพียงพอ 01

1997 Volvo S40 เป็นรถยนต์รุ่นแรกที่ทดสอบ Euro NCAP ได้จำนวน 4 ดาว (สูงสุดในขณะนั้น)

ทั้งหมดนี้ เป็นการตั้งศูนย์ทดสอบในภูมิภาค และเพื่อเป็นการทดสอบให้กับพื้นที่ที่ไม่มีศูนย์ทดสอบ จึงได้มีการก่อตั้ง Global NCAP ที่ทดสอบรถจากทุกภูมิภาคเอาไว้ด้วย

และผลการทดสอบก็เป็นไปตามที่เราคาดคิดกันแน่นอนครับ เพราะรถที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศซึ่งมีความยากจน เช่น อินเดีย และในภูมิภาคแอฟริกา มีความปลอดภัยที่สู้ประเทศที่มีความร่ำรวยมากกว่าไม่ได้เลย

รถอย่าง Great Wall Steed (เกรท วอลล์ สตีด) มีผลการทดสอบที่แย่มากจนเราอาจคิดว่านี่เป็นรถเมื่อ 40 ปีที่แล้ว ทั้งที่มันเป็นรถที่ยังมีจำหน่ายในแอฟริกาอย่างแพร่หลาย น่าแปลกใจไหมครับ เพราะมันมาจากบริษัทเดียวกับที่ผลิตรถ Haval H6 (ฮาวาล เอช 6) ซึ่งได้รับผลทดสอบดีเยี่ยมจาก C-NCAP (แม้ว่าจะเกิดปัญหาระหว่างทดสอบก็ตาม)

Global NCAP ชี้ชัด รถที่ขายในประเทศยากจน ยังปลอดภัยไม่เพียงพอ 02

โดยปัญหาของ Great Wall Steed อยู่ที่การขาดระบบความปลอดภัยที่เป็นมาตรฐานไปแล้วจำนวนมาก อย่าง ถุงลมนิรภัย อีกทั้งยังมีโครงสร้างที่ไม่แข็งแรงพอที่จะรับแรงกระแทกอีกด้วย

ไม่ใช่แค่อุปกรณ์ที่หายไปเท่านั้น

โครงสร้างของรถยนต์ที่จำหน่ายในแต่ละประเทศก็มีความแตกต่างกันด้วย ยกตัวอย่างเช่น Suzuki Swift (ซูซุกิ สวิฟท์) ที่จำหน่ายในตลาดยุโรป กับตลาดอินเดีย ก็ใช้โครงสร้างที่แข็งแรงไม่เท่ากัน

Global NCAP ชี้ชัด รถที่ขายในประเทศยากจน ยังปลอดภัยไม่เพียงพอ 03

Global NCAP ชี้ชัด รถที่ขายในประเทศยากจน ยังปลอดภัยไม่เพียงพอ 04

อาจจะคิดว่าดูไม่ต่างกันมาก แต่ผลทดสอบนั้นไม่หลอกใคร

แต่บางครั้ง การทดสอบความปลอดภัยก็ไม่จำเป็นต้องเท่ากันก็ได้ เนื่องจากมาตรฐานความปลอดภัยที่รัฐบาลแต่ละชาติกำหนดมานั้นก็ไม่ได้เท่าเทียมกัน และบริษัทรถก็ใช้ข้ออ้างนี้เป็นคำตอบของประเด็นที่ถูกจุดขึ้นมา

ในอีกมุมมองหนึ่ง ประเทศอย่างอินเดีย เช่นเดียวกับประเทศไทย ก็อาจไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีโครงสร้างรถที่แข็งแรงและปลอดภัยก็ได้ เนื่องจากสาเหตุการเสียชีวิตบนท้องถนนส่วนมากไม่ได้เกิดจากรถยนต์นั่งส่วนบุคคล แต่เกิดจากมอเตอร์ไซค์ที่ไม่มีการทดสอบความปลอดภัย

Global NCAP ชี้ชัด รถที่ขายในประเทศยากจน ยังปลอดภัยไม่เพียงพอ 05

ระบบควบคุมการทรงตัว เป็นมาตรฐานมากจน Euro NCAP ไม่ให้ดาวเพิ่มตั้งแต่ปี 2016

ด้วยเหตุนี้ หลายท่านก็มีความเห็นว่า ควรจะให้ความสำคัญกับระบบความปลอดภัยที่ช่วยไม่ให้เกิดการชน มากกว่าการทดสอบโครงสร้างที่ช่วยปกป้องเมื่อเกิดการชนมากกว่า

จริงหรือไม่ที่รถยนต์ที่ประกอบในไทย มีโครงสร้างที่ไม่เหมือนกับชาติที่เจริญแล้ว?

ขอตอบไว้ตรงนี้เลยนะครับว่า แม้ว่าหลายท่านอาจจะมองโลกในแง่ร้าย โดยเฉพาะหลังจากอ่านข่าวนี้ แต่ถ้ายกตัวอย่างที่เป็นที่นิยมกันอย่าง Honda Civic (ฮอนด้า ซีวิค) เราพบว่าโครงสร้างของรถสเปคไทยกับต่างชาตินั้นไม่ต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญครับ

Global NCAP ชี้ชัด รถที่ขายในประเทศยากจน ยังปลอดภัยไม่เพียงพอ 06

Global NCAP ชี้ชัด รถที่ขายในประเทศยากจน ยังปลอดภัยไม่เพียงพอ 07

รูปบนมาจาก Press Release ของอเมริกา ส่วนรูปล่างนั้นมาจากของไทย

ยุคสมัยที่รถประกอบไทยนั้นมีความแตกต่างกับต่างชาติมาก ไม่เคยมีอยู่จริงด้วยซ้ำครับ เราต้องยอมรับว่า คนไทยค่อนข้างจะจับอาการเก่ง และถ้าหากรถยนต์เหล่านี้มีโครงสร้างที่ไม่แข็งแรงเท่าต่างชาติจริง มันไม่ได้ส่งผลแต่แค่ความปลอดภัยเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการขับขี่อย่างเห็นได้ชัดอีกด้วย

แต่ก็แน่นอนว่า อุปกรณ์ความปลอดภัยต่าง ๆ ก็ยังขาดตกบกพร่อง ควรจะมีมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน

สรุป แล้ว Global NCAP จะทำอะไรกับกรณีดังกล่าวนี้?

หน่วยงานแม่ของ Global NCAP ซึ่งมีชื่อว่า International Organisation of Motor Vehicle Manufacturers ได้ระบุว่า ควรจะมีมาตรฐานความปลอดภัยที่ใช้กันทั่วโลกได้แล้ว โดยวางพื้นฐานจากการทดสอบที่ใช้ในยุโรป ซึ่งเราก็เห็นด้วยว่าควรจะมี

คำถามที่จะเกิดขึ้นถัดไปคือ แล้วการตั้งมาตรฐานที่เข้มงวดมากขึ้นกว่าเดิม โดยหน่วยงานที่ไม่ใช่รัฐนี้ แล้วจะสามารถบังคับควบคุมได้แค่ไหน? หลายประเทศไม่ได้มีทรัพยากรที่จะทำตามนโยบายที่ถูกกำหนดมาได้ขนาดนั้น

Boris

นักเขียน

Boris รู้เรื่องเกี่ยวกับรถยนต์ในทุกส่วน ตั้งแต่การผลิตจนถึงมือเจ้าของ ถ้ามีเรื่องใดที่เขาไม่รู้ เขาจะไม่ทำอย่างอื่นจนกว่าจะได้คำตอบ และเมื่อใดที่ Boris ทราบ เขาก็จะเอามาแถลงให้ท่านฟังจนหมดเปลือก มีสิ่งที่ชื่นชอบในชีวิตอยู่แค่ 3 สิ่ง 1.การขับรถ 2. เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของรถยนต์ที่น่าสนใจ 3.รถทรงอิฐเครื่องยนต์ 5 สูบชื่อดังรุ่นหนึ่งจากประเทศสวีเดน และเชื่อว่ารถทุกรุ่นมีข้อดีที่ควรจะชื่นชมอยู่ และถ้าเกิดคุณหาไม่เจอ Boris ก็จะหามาให้คุณจนได้

window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });
window._taboola = window._taboola || []; _taboola.push({ mode: 'thumbnails-a-2x2-stream', container: 'taboola-below-article-thumbnails', placement: 'Below Article Thumbnails', target_type: 'mix' });

ซื้อรถถูกกว่า ขายรถเร็วขึ้น

2022 Haval H6 PHEV

แลก

เพิ่มรถของคุณ

ไม่อยากรอแลกรถ?   ขายรถ