window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_breadcrumb_above_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678150997-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678150997-0'); });

5 สาเหตุ ทำไมผู้ขับขี่คนไทยมักไม่หยุดให้คนข้ามทางม้าลาย

May · Jan 25, 2022 06:11 PM

5 สาเหตุ ทำไมผู้ขับขี่คนไทยมักไม่หยุดให้คนข้ามทางม้าลาย 01

อุบัติเหตุสุดสะเทือนขวัญที่พรากชีวิตแพทย์หญิงท่านหนึ่งเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ทำให้ผู้คนในสังคมไทยตั้งคำถามถึงพฤติกรรมการขับขี่ยานพาหนะและความปลอดภัยบนท้องถนนในบ้านเราอีกครั้ง

คลิปจากกล้องวงจรปิดเผยให้เห็นรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์พุ่งทะยานด้วยความเร็วสูงบนช่องจราจรขวาสุดก่อนชนเข้ากับแพทย์หญิงคนดังกล่าวที่กำลังเดินข้ามถนนบนทางม้าลายในช่วงเวลากลางวัน ถือเป็นอุบัติเหตุที่ไม่ว่าจะมองในแง่มุมไหนก็ไม่ควรจะเกิดขึ้น

นอกจากการประณามเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เป็นผู้ขับขี่ ยังเกิดกระแสการเรียกร้องในโลกออนไลน์ให้มีการรณรงค์ “หยุดรถที่ทางม้าลาย” ขึ้นทันที แต่ก็เกิดคำถามว่ากระแสนี้จะมาวูบเดียวแล้วผ่านไปอย่างรวดเร็วประหนึ่งสายลมหน้าหนาว เหมือนกับอีกหลายกระแสที่เกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็วในเมืองไทยหรือไม่  

window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });

นั่นเป็นเพราะการรณรงค์ให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่ โดยเฉพาะการหยุดที่ทางม้าลายต้องมาจากการปลูกฝังความคิดที่ว่า “คนมีความสำคัญมากกว่ารถยนต์บนท้องถนน” ซึ่งถือเป็นเรื่องยากเย็นอย่างยิ่ง

แม้แต่ในประเทศญี่ปุ่นที่ชาวเน็ตส่วนใหญ่มักอ้างถึงว่ามีมารยาทในการขับขี่รถยนต์ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลก แต่ผลสำรวจล่าสุดพบว่าหากปราศจากสัญญาณไฟจราจร มีผู้ขับขี่ในแดนอาทิตย์อุทัยเพียง 30% เท่านั้นที่หยุดให้คนข้ามถนนบนทางม้าลาย กระทั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องประกาศว่าจะรณรงค์ให้ความรู้อย่างเข้มข้นมากกว่านี้

อ่านเพิ่มเติม: ผลสำรวจชี้คนญี่ปุ่นแค่ 30% จอดให้คนข้ามทางม้าลาย แล้วคนไทยจะเหลือเท่าไหร่?

 

 

5 สาเหตุ ทำไมผู้ขับขี่คนไทยมักไม่หยุดให้คนข้ามทางม้าลาย 01

ข้อมูลจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระบุว่า อุบัติเหตุทางถนนที่เกิดกับคนเดินเท้า นับเป็นอุบัติเหตุที่สร้างความสูญเสียในกลุ่มผู้เปราะบางบนถนนเป็นอันดับ 2 รองจากรถจักรยานยนต์ ตัวเลขระหว่างปี 2554-2560 พบผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนกว่า 52,690 คน หรือคิดเป็น 79.18%  เป็นกลุ่มผู้เปราะบางบนถนน ได้แก่ ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ 88.5% คนเดินเท้า10.20% และผู้ใช้รถจักรยาน 1.25%

นอกจากนี้ ข้อมูลคดีอุบัติเหตุจราจรที่รับแจ้งเฉลี่ย 3 ปี (2558-2560) พบว่าคนเดินเท้าทั่วประเทศประสบอุบัติเหตุทางถนนเฉลี่ยวันละ 7 คนและมีสัดส่วนการเกิดอุบัติเหตุในเขตพื้นที่นครบาลสูงถึง 1 ใน 3 (34%) เมื่อเทียบกับจำนวนการรับแจ้งทั่วประเทศ

หากพิจารณากันอย่างจริงจังแล้ว มีไม่กี่สาเหตุที่ผู้ขับขี่รถชาวไทยมักไม่จอดให้คนข้ามทางม้าลาย หากเราสามารถถอดรหัสอุปสรรคเหล่านี้ได้ การจราจรที่ศิวิไลซ์บนท้องถนนของบ้านเราก็น่าจะเกิดขึ้นได้จริง

5 สาเหตุ ทำไมผู้ขับขี่คนไทยมักไม่หยุดให้คนข้ามทางม้าลาย 02

1. ไม่มีการปลูกฝัง และให้ความรู้ที่เพียงพอ

การปลูกฝังจิตสำนึกการดำเนินชีวิตในสังคมที่ครอบคลุมถึงการให้ความรู้ด้านการใช้รถใช้ถนนตั้งแต่ยังเด็กเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ประเทศที่เป็นตัวอย่างของเรื่องนี้คือญี่ปุ่นที่มีการรณรงค์เริ่มต้นในรั้วโรงเรียน เพราะพวกเขาตระหนักดีว่าการหว่านเมล็ดพันธุ์ที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยให้ฝังรากลึกในกลุ่มประชากรอายุน้อยนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง

ขณะเดียวกัน มีความจำเป็นที่ผู้มีอำนาจต้องตระหนักถึงความสำคัญของการรณรงค์ที่ต่อเนื่องและมีการปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยน่าสนใจอยู่เสมอ แต่น่าเศร้าที่คนใหญ่คนโตมักมองข้ามสิ่งเหล่านี้และมีการดำเนินการแบบผักชีโรยหน้า อาจเป็นเพราะผู้มีอำนาจกำหนดนโยบายไม่ได้ลงมาสัมผัสหรือต้องขับขี่รถด้วยตนเองเหมือนกับคนทั่วไป

แคมเปญรณรงค์ความปลอดภัยการจราจรส่วนใหญ่ในประเทศไทยมักถูกพูดถึงไม่กี่สัปดาห์ก่อนเลือนหายไปเพียงเพื่อรอให้เกิดโศกนาฏกรรมที่จะกระตุ้นให้เกิดกระแสขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

2. ขาดการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง

ถึงแม้ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการใช้ถนนจะต้องมาจากผู้ขับขี่เป็นหลัก แต่การบังคับใช้กฎหมายจากเจ้าหน้าที่ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน บทลงโทษที่เด็ดขาดและจริงจัง ค่าปรับที่สูงและการยึดใบขับขี่ จะช่วยส่งเสริมให้เกิดความเคารพในตัวบทกฎหมายได้เป็นอย่างดี

ความหย่อนยานในการบังคับใช้กฎหมายคือหนึ่งในต้นตอของปัญหาการจราจรในบ้านเราที่พูดได้ว่าหนักหนาสาหัส จึงไม่น่าแปลกใจที่เมื่อคุณขับขี่รถออกจากบ้าน คุณจะพบเห็นเพื่อนร่วมท้องถนนทำผิดกฎจราจรกันเกือบทุกนาที

สำหรับกรณีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับแพทย์หญิง พ.ร.บ.จราจรทางบก ระบุไว้ว่า หากชนคนเดินข้ามถนนจนเสียชีวิต ผู้ขับขี่ต้องโดนข้อหาขับรถโดยประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี โดยยังไม่รวมการชดใช้ค่าเสียหายในทางแพ่ง แต่ใครจะรู้ได้ว่าบทสรุปของคดีนี้จะเป็นเช่นไร

5 สาเหตุ ทำไมผู้ขับขี่คนไทยมักไม่หยุดให้คนข้ามทางม้าลาย 03

3. มักขับรถเร็วเกินกำหนด

การขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนดคือสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนถนนจนถึงแก่ชีวิตในประเทศไทย

โดยทั่วไปแล้ว ทางม้าลายมักถูกตีเส้นไว้ในพื้นที่ชุมชนหรือบริเวณที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแล้วว่ามีผู้คนพลุกพล่านและมีการข้ามถนนบ่อยครั้ง ดังนั้น ผู้ขับขี่ที่ดีจะตระหนักได้ทันทีที่เห็นทางม้าลายว่าควรจะชะลอความเร็วเมื่อกำลังเดินทางผ่านเส้นทางดังกล่าว

แต่เมื่อไม่มีการปลูกฝังจิตสำนึกมากเพียงพอบวกกับการขาดการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด ไม่ใช่เรื่องแปลกที่อัตราการเสียชีวิตจากการจราจรของไทยจะติดอันดับโลกมานานหลายปี

4. ทัศนคติรถยนต์สำคัญกว่าคนเดินเท้า

คำถามคือเราจะรู้ได้อย่างไรว่าประเทศใดมีทัศนคติ “รถยนต์สำคัญกว่าคนเดินเท้า” คำตอบดูได้จากโครงสร้างพื้นฐานของประเทศนั้น ๆ

สำหรับประเทศไทย มีการตัดถนนและปรังปรุงเส้นทางสำหรับรถยนต์อย่างต่อเนื่อง แต่ทว่า ทางเดินเท้าหรือ “ฟุตบาท” ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพย่ำแย่ แม้แต่ในกรุงเทพฯ การก่อสร้างสะพานลอยที่สูงชันอันเป็นอุปสรรคสำหรับการปีนป่ายของคนชรานั้นก็สะท้อนให้เห็นเช่นกันว่าถนนนั้นเป็นของรถยนต์ซึ่งมีความสำคัญมากกว่าคนเดินถนน

ยังไม่ต้องพูดถึงการออกแบบสะพานลอยที่บางแห่งใช้งานยาก ขั้นบันไดสูงต่ำไม่เท่ากัน และมีสายไฟพาดผ่าน คนทั่วไปยังประสบกับความยากลำบาก แล้วผู้ทุพพลภาพจะเดินทางสัญจรได้อย่างไร 

นี่คือทัศนคติที่ฝังรากลึกอยู่ในผู้ขับขี่รถยนต์ชาวไทยมานานแล้ว ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนส่วนใหญ่จะคิดว่าการจอดให้คนสักคนข้ามทางม้าลายเป็นเรื่อง “เสียเวลา”  

5. ชุดความคิดพวกมากลากไป

ปิดท้ายด้วยชุดความคิดสุดท้ายที่เกิดจากทุกข้อข้างต้นรวมกัน ทำให้เกิดทัศนคติที่ว่า “คนอื่นยังไม่เคารพกฎหมายจราจร แล้วเราจะเคารพไปทำไม” นำไปสู่ภาพที่เราเห็นกันบ่อยครั้งตามสี่แยกที่รถจักรยานยนต์เฮโลฝ่าไฟแดงกันเป็นขบวน

สำหรับผู้ขับขี่รถยนต์ บางครั้ง สถานการณ์บนท้องถนนทำให้เราต้องละเมิดกฎจราจรอย่างไม่เจตนา เช่นการถูกจี้ท้ายชนิดหายใจรดต้นคอก็ทำให้บางคนลำบากใจที่จะหยุดรถบริเวณทางม้าลายหรือชะลอเมื่อเห็นไฟสัญญาณสีเหลืองปรากฎขึ้นขณะกำลังขับขี่ข้ามทางแยก เพราะหวาดหวั่นว่าจะถูกชนท้าย

แน่นอนว่าตราบใดที่ยังไม่มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เราย่อมได้เห็นผู้ขับขี่ที่ใช้ช่องโหว่ตรงนี้ในการละเมิดกฎหมายเพื่อความสะดวกสบายของตนเอง นำมาซึ่งอุบัติเหตุอันน่าสลดหดหู่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

แต่ในขณะเดียวกัน หากทัศนคติของผู้ขับขี่รถยนต์ยังไม่ถูกยกระดับให้สูงขึ้น ถึงแม้เราจะมีสุดยอดถนนหนทาง มีกฎหมายจราจรที่ดีเลิศ หรือระบบไฟจราจรที่สมบูรณ์แบบ ก็มิอาจช่วยลดอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิตที่ไทยติดอันดับโลกลงได้

May

นักเขียนอาวุโส

อดีตนักข่าว เอเจนซี่ และฟรีแลนซ์ฝีมือเยี่ยม ที่นำประสบการณ์ร่วม 20 ปีมาถ่ายทอดคอนเทนท์และประเด็นข่าวในวงการยานยนต์ทั้งไทยและเทศในรูปแบบที่สดใหม่และแตกต่าง

window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });
window._taboola = window._taboola || []; _taboola.push({ mode: 'thumbnails-a-2x2-stream', container: 'taboola-below-article-thumbnails', placement: 'Below Article Thumbnails', target_type: 'mix' });

ขายรถเก่า-ซื้อคันใหม่ ไม่ยุ่งยาก ไม่มีค่าใช้จ่ายแอบแฝง

2022 Haval H6 PHEV

แลก

เพิ่มรถของคุณ

ไม่อยากรอแลกรถ?   ขายรถ