Toyota (โตโยต้า) ประกาศว่าจะจัดจำหน่ายรถยนต์ไฮบริดต่อไปในอนาคตระยะยาว โดยชี้ว่าขุมพลังลูกผสมมีความสำคัญเทียบเท่ากับรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ 100%
ค่ายรถยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่นถือเป็นผู้บุกเบิกตลาดรถไฮบริดในวงกว้างด้วยการส่ง Toyota Prius (โตโยต้า พริอุส) รถไฮบริดแมสโปรดักชั่นรุ่นแรกของโลกออกจำหน่ายในปี 1997 และเพิ่งประกาศความสำเร็จในการจำหน่ายรถไฮบริดครบ 15 ล้านคันทั่วโลกในปี 2020 ที่ผ่านมา
ปัจจุบัน Toyota มีรถยนต์ไฮบริดมากถึง 44 รุ่น หลากตัวถังหลายเซกเมนท์ออกจำหน่ายทั่วโลก หนึ่งในนั้นคือ Toyota Corolla Cross (โตโยต้า โคโรลล่า ครอส) ที่ขายดิบขายดีในบ้านเรา ช่วยลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้มากกว่า 120 ล้านตัน จึงไม่น่าแปลกใจที่พวกเขาจะให้ความสำคัญกับระบบขับเคลื่อนลูกผสมต่อไปในอนาคต
ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมยานยนต์จากรถเครื่องยนต์สันดาปสู่รถยนต์ไฟฟ้า ผู้บริหารระดับสูงของ Toyota ชี้ว่าความต้องการใช้งานรถยนต์อีวียังคงผันผวน นั่นหมายความว่ารถยนต์ไฮบริดแบบดั้งเดิมจะยังคงเป็นที่ต้องการของลูกค้าต่อไป
“ไฮบริดไม่ใช่เทคโนโลยีสำรองของรถยนต์ไฟฟ้า” ฌอน แฮนลีย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Toyota Australia กล่าว “รถยนต์ไฮบริดจะยังคงอยู่ต่อไปในระยะยาว ผู้คนอาจคิดว่า Toyota สร้างรถไฮบริดเพื่อรอการเปลี่ยนผ่านไปสู่รถยนต์อีวี แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้นเลย”
“ความมุ่งมั่นของเราในเวลานี้คือการมีแผนงานที่ดุดันในการสร้างระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าในรถยนต์ทุกรุ่นของ Toyota ภายในปี 2030” แฮนลีย์ กล่าว พร้อมกับชี้ว่าระบบขับเคลื่อนไฟฟ้านั้นครอบคลุมถึงระบบไฮบริด ปลั๊กอินไฮบริด พลังงานไฟฟ้า และไฮโดรเจนฟิวเซล
แฮนลีย์ เปิดเผยด้วยว่า สิ่งสำคัญที่สุดก็คือการเลือกใช้ระบบขับเคลื่อนที่เหมาะสมกับสถานการณ์และตลาดแต่ละแห่ง Toyota เชื่อว่าการผสมผสานระบบขับเคลื่อนคือทางออกที่ดีที่สุด
“แต่ละประเทศมีจังหวะเวลาที่แตกต่างกัน มีกฎระเบียบที่แตกต่างกัน และสถานการณ์ใช้งานรถยนต์ที่แตกต่างกัน” แฮนลีย์ กล่าวเพิ่มเติม
ภูมิภาคยุโรปมีการประกาศใช้มาตรฐานไอเสีย Euro 6 ในปี 2014 พร้อมกับกำลังร่างกฎหมาย Euro 7 ที่จะมีผลบังคับใช้ในปี 2025 – 2026 อย่างไรก็ตาม ในประเทศออสเตรเลียยังคงใช้มาตรฐานไอเสีย Euro 5 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2009
สำหรับประเทศไทย เป็นมาตรฐานบังคับอยู่แล้ว ซึ่งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมีการควบคุมให้ ผลิตภัณฑ์เป็นไปตามมาตรฐาน โดยปัจจุบันผู้ประกอบการรถยนต์ทั้งผู้ทำในประเทศและผู้นำเข้าต้องมีการขอใบอนุญาต “มอก.” สำหรับรถยนต์นั่งขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซล
ประเทศไทยพยายามจะใช้ Euro 5 สำหรับรถยนต์ทุกคันภายในปี 2021 เพื่อลดการปล่อยฝุ่นพิษร้อยละ 80 และเตรียมยกระดับเป็น Euro 6 ภายในปี 2022 ต่อไป
ตรวจสภาพรถ 175 จุด
รับประกันคืนเงินภายใน 30 วัน
การรับประกัน 1 ปี
ราคาคงที่ ไม่มีค่าธรรมเนียมแอบแฝง
{{variantName}}
{{carMileage}} กม.
{{registrationYear}} ปี
{{storeCity}}