รถยนต์ไฟฟ้า คืออนาคตของยาพาหนะใหม่ ที่จุดประกายให้เกิดความต้องการเพิ่มขึ้นทั่วโลกเรื่อย ๆ ซึ่งรถยนต์ประเภทนี้มักใช้แบตเตอร์รี่ที่มีแร่ลิเธียมเป็นส่วนประกอบหลัก
แต่ในขณะที่มีความต้องการสูงนั้น กลับมาอุปทานของแร่ชนิดนี้เข้าสู่อุตสหากรรมได้ไม่มากพอ ทำให้ราคาขายพุ่งสูงขึ้นอย่างช่วยไม่ได้ และนี่ไม่ใช่การกักตุนแร่เพื่อปั่นราคา แต่เป็นการลงทุนที่ล่าช้าและสายเกินไป
Lithium คือแร่หลักในการทำแบตเตอรี่ ราคาเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในปีที่ผ่านมา ตามที่สำนักงานมาตรฐานแร่ธาตุสากลบ่งบอกว่า ความต้องการวัสดุที่ใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า และการจัดเก็บพลังงานหมุนเวียน ได้เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่คนงานเหมืองพยายามที่จะเพิ่มอุปทานเข้ามา แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะตอบสนองการบริโภค
“การจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการสร้างเหมืองแร่ลิเธียมยังน้อยเกินไป และเริ่มสายเกินไป” คาเมรอน เพิร์กส์ นักวิเคราะห์แร่ธาตุที่ BMI ในเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย กล่าว “การขาดดุลของตลาดกำลังเกิดขึ้นแล้ว”
อุปทานมีน้อยเกินไป
ราคาลิเธียมตกต่ำเป็นเวลานาน นับตั้งแต่จุดสูงสุดของปี 2018 หมายถึงการลงทุนในภาคธุรกิจชะลอตัว แต่ปัจจุบันที่มีการระบาดโควิด-19 ได้ทำให้ข้อจำกัดด้านอุปทานรุนแรงขึ้น ส่วนในด้านอุปสงค์ การเปลี่ยนแปลงพลังงานไฟฟ้าล้วนได้เร่งการนำ EV มาใช้ และการบริโภคลิเธียมทั่วโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 5 เท่าภายในสิ้นทศวรรษนี้ ตาม BloombergNEF วิเคราะห์
“ในขณะที่ราคาเพิ่มขึ้นในขณะนี้ จะยังไม่มีโครงการที่ยังไม่ได้ประกาศและการขยายที่ไม่ทราบแน่ชัด ซึ่งจะช่วยเพิ่มอุปทานเพื่อตอบสนองความต้องการ ที่เกือบจะแน่นอน สิ่งที่ไม่แน่นอนคือมีโครงการที่ไม่รู้จักอยู่กี่โครงการ” คาเมรอน เพิร์กส์ นักวิเคราะห์แร่ธาตุกล่าวเสริม "นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ที่ไม่สามารถขุดลิเธียมได้เพียงพอ จากนั้นจึงอาจเสี่ยงต่อการเปิดตัว EV ที่ช้าลง"
ราคาแร่พุ่งแรงจริง
ราคาแร่กำลังปีนข้ามห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงแร่ไพร็อกซีน ที่เป็นแหล่งของลิเธียมด้วย มีการประมูลโดย Pilbara Minerals Ltd. แร่ไพร็อกซีนนี้ดึงดูดให้คนเสนอราคาสูงสุดที่ 2,240 ดอลลาร์/ตัน สำหรับสินค้า 8,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากในการประมูลครั้งแรกที่ 1,250 ดอลลาร์
ทางด้านข้อมูลของ Asian Metal Inc. ระบุไปในทางเดียวกันว่า ราคาลิเธียมคาร์บอเนตของจีนเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าในเวลาเพียงสองเดือน และลิเธียมไฮดรอกไซด์เพิ่มขึ้นมากกว่า 70% ในช่วงเวลาดังกล่าว
ค่าแบตเตอรี่
การพุ่งของราคาแร่นี้ นั่นทำให้ผู้ผลิตแบตเตอรี่กดดัน ซึ่งต้องเผชิญกับราคาที่สูงขึ้น ตามปัจจัยการผลิตอื่นๆ เช่น โคบอลต์และทองแดง
ที่ผ่านมากว่า 10 ปี ราคาแบตเตอรี่ที่ลดลงเมื่อเทียบปีต่อปี ซึ่งเป็นจุดชี้ชะตาว่า รถยนต์ไฟฟ้าจะมีราคาเท่าหรือน้อยกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันเมื่อใด แต่เมื่อต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น ชะตาราคาขาย EV มีแนวโน้มที่แนวโน้มจะหยุดนิ่ง โดยส่วนใหญ่แล้ว 40% ของต้นทุนแบตเตอรี่ เชื่อมโยงกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตอาจสามารถชดเชยต้นทุนที่สูงขึ้นบางส่วนได้ด้วยการปรับปรุงกระบวนการผลิต ลดอัตราของเสีย และเปลี่ยนไปใช้แร่แบตเตอรี่ที่ถูกกว่า เช่น นิกเกิ้ล ฯลฯ เพื่อให้การพัฒนาวงการ EV ไม่ขาดช่วง อย่าพ่ายแพ้ให้น้ำมันเป็นอันขาด