หลังจากตกเป็นข่าวคราวการร่วมมือกับ ปตท. บริษัทสัญชาติไทยในการเปิดสายการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย พร้อมทั้งมีภาพหลุดรถรุ่นแรกออกมาเรียกน้ำย่อยกันแล้ว สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าจาก Foxconn (ฟอกซ์คอนน์) ผู้ผลิตชิ้นส่วนไต้หวัน
แต่หลายคนก็กลัวว่าโครงการนี้จะช้าหรือไม่ เพราะกว่าโรงงานในประเทศไทยจะก่อสร้างเสร็จก็ต้องใช้เวลา 2-3 ปี ล่าสุด มีการยืนยันออกมาแล้วว่ารถไฟฟ้าภายใต้แบรนด์ Foxtron (ฟอกซ์ตรอน) จะถูกเผยโฉมอย่างเป็นทางการในวันที่ 18 ตุลาคมนี้
รายงานข่าวจากสื่อที่ประเทศจีนระบุว่าบริษัทเตรียมพร้อมที่จะเปิดตัวรถยนต์พลังงานไฟฟ้ารุ่นใหม่ถึง 3 รุ่น ซึ่งน่าจะรวมถึงรถยนต์เอนกประสงค์แบบเอสยูวี ในงานฟอกซ์คอนน์ เทคโนโลยี เดย์ 2021 ซึ่งเมื่อปีก่อนพวกเขาก็เปิดตัวแพลตฟอร์มที่งานนี้
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
แม้แพลตฟอร์มรุ่นใหม่อย่าง MIH Open Platform จะถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าที่หลากหลายรูปแบบ เพื่อเปิดทางให้ผู้ผลิตรถยนต์นำแพลตฟอร์มนี้ไปใช้งานได้ในอนาคต แต่เจ้าของแพลตฟอร์มก็ต้องทำรถยนต์รุ่นใหม่มาเช่นกัน
แม้จะมีแผนงานเปิดตัวรถรุ่นใหม่ของตัวเอง แต่พวกเขาก็ยืนยันว่าจะเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตรถนต์ค่ายอื่นเอาไปใช้งานได้อย่างกว้างขวาง เหมือนเป็นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ของค่ายรถยนต์ไฟฟ้า ที่ฟอกซ์คอนน์นำเสนอโมดุลในการออกแบบให้เท่านั้น
เริ่มด้วยรถยนต์นั่งขนาดกลาง และพร้อมสำหรับทุกรูปแบบ
ภาพหลุดแรกที่ออกมาสำหรับรถยนต์ที่ติดแบดจ์ฟอกซ์ตรอน ได้แก่รถยนต์นั่งขนาดกลางแบบคูเป้ ที่คาดว่าจะมีการจ้างานผู้ผลิตรถยนต์บางรายทำการผลิตให้ และจะเป็นคู่แข่งโดยตรงกับ Tesls Model S (เทสล่า โมเดล เอส) และ Nio ET7 (นีโอ อีที7)
ฟอกซ์ตรอนคือชื่อภาษาอังกฤษของ Honghua Advanced (ฮงหัว แอดวานซ์) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างฟอกซ์คอนน์และ Yulon Group (ยูลอน กรุ๊ป) ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าร่วมกันในอนาคต
แพลตฟอร์เอ็มไอเอชที่ผลิตออกมานั้น สามารถนำไปดัดแปลงเป็นรถยนต์ได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแฮชท์แบ็ค ซีดาน เอสยูวีหรือเอ็มพีวี รวมถึงติดตั้งช่วงล่าง เพิ่มลดระยะฐานล้อ และเลือกใช้แบตเตอรี่ได้หลายขนาดตามความต้องการของผู้ผลิต
หากมีผู้ผลิตรถยนต์รายใดต้องการที่จะทำการพัฒนารถยนต์บนแพลตฟอร์มนี้ พวกเขาก็แค่เลือกองค์ประกอบต่าง ๆ ของรถให้ตรงกับความต้องการ จากนั้น ฟอกซ์คอนน์ก็จะทำหน้าที่ในการผลิตรถออกมาจากโรงงานต่าง ๆ เช่น ประเทศไทย เป็นต้น
นอกจากนี้ พวกเขาเตรียมที่จะนำเสนอเทคโนโลยีโซลิดสเตทแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในปี 2567 ที่ว่ากันว่าดีกว่าแบตเตอรี่ในยุคปัจจุบันมากมาย และจากนั้น ก็มีการตั้งเป้าหมายว่าจะมีส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกให้ได้ 10% ภายในปี 2568
ความเคลื่อนไหวกับกลุ่ม ปตท. ในประเทศไทย
บริษัทผู้ผลิตยักษ์ใหญ่จากไต้หวันเพิ่งเซ็นเอ็มโอยูกับ ปตท. ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าร่วมกัน ด้วยเม็ดเงินลงทุน 1-2 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 3.2-6.4 หมื่นล้านบาท) เพื่อก่อตั้งโรงงานในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
โรงงานดังกล่าวน่าจะใช้เวลาในการก่อสร้างนาน 2-3 ปี ก่อนที่จะพร้อมสำหรับการเดินหน้าผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งน่าจะเป็นช่วงเดียวกับการแนะนำแบตเตอรี่รูปแบบใหม่พอดี ซึ่งโรงงานแห่งนี้มีกำลังผลิตเริ่มต้น 5 หมื่นคันและอัพเพิ่มถึง 1. 5 แสนคัน
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความชัดเจนว่าโรงงานในประเทศไทยจะทำการผลิตรถยนต์ของฟอกซ์คอนน์ หรือรวมไปถึงโครงการรับจ้างผลิตรถให้ผู้ผลิตรายอื่นด้วย เนื่องจากทางฟอกซ์คอนน์เองก็เดินหน้าจับมือพันธมิตรผู้ผลิตรถยนต์หลายรายอยู่ ณ บัดนี้
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });