เรามักจะมีความเชื่อกันที่ว่า ปลาทองนั้นเป็นสัตว์ที่มีความจำสั้น หรือเป็นสัตว์ที่ไม่ค่อยฉลาดเท่าไรนัก ท่านจึงอาจเคยได้ยินประโยคที่ว่า "ความจำสั้นเหมือนปลาทอง" หรือ "ขี้ลืมเหมือนปลาทอง" กันบ้าง
แต่คุณอาจต้องเปลี่ยนความคิดนี้ไป เมื่อนักวิจัยในอิสราเอล สามารถสอนให้ปลาทองขับรถได้แล้ว
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
จริง ๆ มันอาจจะไม่ใช่รถ แต่เป็นตู้ปลามีล้อมากกว่า เป็นการวิจัยของคณะนักวิจัยมหาวิทยาลัยเบน กูเรียน (Ben-Gurion University - BGU) ในเมืองเบนชีบา ประเทศอิสราเอล เพื่อศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถของสัตว์ในการเคลื่อนย้ายภายในสภาพแวดล้อมใหม่
โดยการทดลองใช้ปลาทองทั้งหมด 6 ตัว แยกกันใส่ในตู้ปลาที่ติดล้อ พร้อมเซนเซอร์ Lidar ด้านบน ใช้เวลาในการฝึกไม่เกิน 10 วัน
แล้วมันทำงานได้อย่างไร?
เซนเซอร์ที่ติดตั้งอยู่ด้านบนของแทงค์น้ำ จะทำการจับการเคลื่อนไหวของปลาแบบเรียลไทม์ และทำการหมุนล้อของระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า เมื่อปลาขยับไปในทิศทางนั้น
มีการติดตั้งตัวเซนเซอร์ปล่อยแสงเลเซอร์ตรวจตราสภาพแวดล้อมของเส้นทางสัญจรเพื่อป้องกันยานยนต์ชนกับกำแพงหรือสิ่งกีดขวาง
“การควบคุมรถของปลานั้น ทำงานได้โดยการสตรีมสัญญาณวิดีโอจากกล้องไปยังคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำการแบ่งส่วนและตรวจจับเพื่อค้นหาตำแหน่งและทิศทางของปลาในถังเก็บน้ำ” บทคัดย่อกล่าว
"ถ้าปลาอยู่ใกล้ขอบถังน้ำในขณะที่หันหน้าออก รถจะเคลื่อนไปในทิศทางนั้น อย่างไรก็ตาม หากปลาหันเข้าด้านใน จะไม่มีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้น"
“มีบางตัวเก่งมากและทำผลงานได้ยอดเยี่ยม และมีบางตัวเก่งปานกลาง คือควบคุมยานได้ แต่ยังขับเคลื่อนยานได้เก่งน้อยกว่า” กล่าวโดยศาสตราจารย์โรเนน เซเกฟ แห่งสาขาชีววิทยาและนักประสาทวิทยา
อีกด้านของห้อง จะมีการติดแผ่นป้ายสีชมพูไว้เป็นเป้าหมาย เมื่อน้องว่ายน้ำนำรถหุ่นยนต์ไปถึงจุดเป้าหมายที่นักวิจัยกำหนดได้สำเร็จ น้องจะได้รางวัลเป็นอาหารเม็ด ซึ่งนี่เป็นแรงจูงใจที่สำคัญ แต่หากไปไม่ถึงหรือแค่เฉียด ก็จะไม่ได้
นำมาซึ่งข้อสรุปว่า ทักษะการนำทางเป็นความสามารถที่อยู่ในตัวสิ่งมีชีวิตทุกชนิด และสัตว์อย่างปลาทองที่ดูเหมือนจะไม่มีสมองและความจำสั้น ก็สามารถทำสิ่งที่ดูเหมือนจะยากอย่างการขับเคลื่อนสิ่งของได้
ไม่แน่ว่าในอนาคต อาจมีเทคโนโลยีที่สามารถทำให้คนขับรถ หรือหุ่นยนต์ได้จกระยะไกล ผ่านการเคลื่อนไหวหรือคลื่นสมองด้วยก็ได้นะ
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });