Toyota (โตโยต้า) ประกาศว่าจะลงทุนประมาณ 3,400 ล้านดอลลาร์ เพื่อตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ในสหรัฐอเมริกา การลงทุนนี้เพื่อการพัฒนาและการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ใช้ในภูมิภาคดังกล่าวจนถึงปี 2030 โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีแผนใส่ลงในรถถึง 70 รุ่นภายใน 4 ปีข้างหน้านี้
การลงทุนครั้งนี้ เป็นการตัดงบมาจากกองกลางก้อนใหญ่ 13,500 ล้านดอลลาร์ ที่ตั้งมาเพื่อลงทุนในการพัฒนาและผลิตแบตเตอรี่โดยเฉพาะ และยังมีการลงทุนต่อเนื่องอีก 1,290 ล้านดอลลาร์จนถึง 2031 ซึ่งนับว่าเป็นเงินที่ลงให้กับอเมริกาเยอะมาก เพราะอะไรกัน ?
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
Toyota ที่มียอดขายรถยนต์พลังงานไฟฟ้ารวมทั่วโลกมากกว่า 18.7 ล้านคัน ในจำนวนทั้งหมดนั้น เป็นยอดขายที่มาจากในสหรัฐอเมริกาจำนวนกว่า 4.5 ล้านคัน และจำนวนดังกล่าวนี้ เทียบสัดส่วนยอดขายกับรถใช้น้ำมันแล้ว คิดเป็นเกือบ 25% ของโตโยต้าทั้งหมดในสหรัฐฯ โดยมีการคาดการณ์ว่า จะเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 70 % ภายในปี 2030
Toyota สาขาอเมริกาเหนือ ยังประกาศว่า การจัดตั้งบริษัทใหม่และสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่รถยนต์นี้ จะทำร่วมกับ Toyota Tsusho ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องจักรต่าง ๆ ที่นำมาผลิตรถอีกต่อนึง นั่นหมายความว่า โตโยต้าจะมีทั้งโรงงานแบตฯ และโรงงานผลิตรถยนต์ ทำงานร่วมกันแบบเบ็ดเสร็จ โดยจะเริ่มเดินสายผลิต EV ได้ในปี 2025 พร้อมแง้มว่าจะมีรถแทบทุกรุ่นใช้ไฟฟ้าหมด
อ้างอิงจากคำพูดของ Ted Ogawa ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Toyota สาขาอเมริกาเหนือ ที่กล่าวว่า "ความมุ่งมั่นของ Toyota ในการตามกระแสรถไฟฟ้านี้ ช่วยเกิดความยั่งยืนกับสิ่งแวดล้อม การจ้างงานในอเมริกา และผู้บริโภคได้มี EV ราคาไม่แพงในสหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นอนาคตใหม่ของการเดินทางอีกด้วย"
ก่อนหน้านี้ อากิโอะ โตโยดะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Toyota อธิบายว่าการเปลี่ยนผ่านจากรถเครื่องยนต์สันดาปสู่รถยนต์ไฟฟ้าอย่างรวดเร็วเกินไป จะทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ได้รับผลสะเทือนอย่างหนัก ซึ่งไม่ได้หมายถึงการต่อต้าน EV แต่ต้องการให้การเปลี่ยนผ่านนั้นค่อยเป็นค่อยไป หากทำมลพิษรถยนต์เป็นศูนย์ได้ทันที แต่แลกมาด้วยมีคนตกงานหลายสิบล้านคน ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว
ซีอีโอของ Toyota ยังคงเน้นย้ำจุดยืนว่ารถยนต์ไฮบริดและปลั๊กอินไฮบริดมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเป็น “สะพานเชื่อม” ไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า 100% โดยสามารถพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านจุดชาร์จไฟควบคู่กันไปด้วย
“การมุ่งสู่เป้าหมายคาร์บอนเป็นศูนย์นั้น ศัตรูของเราคือคาร์บอนไดออกไซด์ ไม่ใช่เครื่องยนต์สันดาปภายใน การลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ เราจำเป็นต้องมีแนวคิดริเริ่มที่ใช้งานได้จริงและสอดคล้องกับความต้องการในแต่ละประเทศทั่วโลก” โตโยดะ กล่าว
Toyota ก็ยอมรับว่าความต้องการ EV เพิ่มขึ้น ซึ่งได้ขยายไลน์ผลิตภัณฑ์รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าทุกประเภท ตั้งแต่รถยนต์ไฮบริด (HEV) ปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) เซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) และรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) ในปัจจุบันมี 55 รุ่น จะเพิ่มอีกเรื่อย ๆ เป็นกว่า 70 รุ่นภายในปี 2025 รวมถึงรถ Toyota bZ (Beyond Zero) ทั้งตระกูลอีก 7 รุ่นรวมในเป้าหมายดังกล่าวด้วย
ภายในปี 2030 โตโยต้าคาดว่าจะขายรถยนต์ไร้มลพิษ (BEV และ FCEV) ได้จำนวน 2 ล้านคันทั่วโลก ซึ่งในจำนวนนั้น คาดว่าจะเป็นยอดขายในสหรัฐอเมริกาถึง 1.5-1.8 ล้านคัน นับว่าโตโยต้าให้ตลาดเมืองมะกันเป็นตัวแบกสำหรับเรื่องรถไฟฟ้าก็ว่าได้
อ่านเพิ่มเติม : เป็นไปได้แค่ไหน? เมื่อ Tesla ประกาศใช้หุ่นยนต์ทำงานแทนมนุษย์ที่จ่อตกงาน
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });