ผลสำรวจของสถาบันประกันความปลอดภัยบนถนนของสหรัฐอมริกา (IIHS) ระบุว่า ระบบล็อกความเร็วแบบแปรผันหรือ Adaptive Cruise Control (ACC) ทำให้ผู้ขับขี่ใช้ความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
IIHS พบว่าเมื่อผู้ขับขี่ใช้ความเร็วสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงถึงชีวิตก็จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งทำให้ระบบที่ถูกพัฒนามาเพื่อเพิ่มความปลอดภัยกลายเป็นระบบที่ช่วยสร้างความเสี่ยงมากขึ้น
“ระบบครูสคอนโทรลแบบแปรผันให้ประโยชน์ด้านความปลอดภัย แต่ผู้ขับขี่ต้องไม่ใช้ผิดวิธีด้วยการเพิ่มความเร็ว เพราะความเร็วคือปัจจัยหลักที่ทำให้อุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดความสูญเสียร้ายแรง นั่นคือมีผู้เสียชีวิต” IIHS ระบุ
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
ทำไมผู้ขับขี่ถึงใช้ความเร็วสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด?
ระบบครูสคอนโทรลแบบแปรผันที่ติดตั้งอยู่ในรถรุ่นใหม่ ๆ ในปัจจุบันไม่ได้มีการจำกัดความเร็ว ผู้ขับขี่จึงสามารถปรับตั้งความเร็วให้สูงกว่าที่กฎหมายกำหนดได้ แต่การใช้ระบบนี้ ผู้ขับขี่ยังต้องมีสมาธิอยู่บนท้องถนนตลอดเวลา
IIHS ทำการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ขับขี่ด้วยการให้ทดลองขับรถ Ranger Rover (เรนจ์โรเวอร์) และ Volvo S90 (วอลโว่ เอส90) ทั้งสองรุ่นมีระบบครูสคอนโทรลแบบแปรผันและระบบควบคุมรถให้อยู่ในเลนซึ่งสามารถปรับเพิ่มหรือลดความเร็วได้ระหว่าง 8 กม.ต่อชม.
ผลลัพธ์ของการทดลองขับขี่ครั้งนี้พบว่ามีผู้ขับขี่ประมาณ 24% จะใช้ความเร็วมากกว่าที่กฎหมายกำหนด
IIHS พบด้วย่วาผู้ขับขี่มีแนวโน้มที่จะใช้ความเร็วสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดในพื้นที่ที่มีการจำกัดความเร็วในระดับต่ำ เช่น ผู้ขับขี่จะขับเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด 13 กม.ต่อชม. บนถนนที่จำกัดความเร็วไม่เกิน 88 กม.ต่อชม. ขณะเดียวกัน ผู้ขับขี่จะใช้ความเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด 8 กม.ต่อชม. บนถนนที่จำกัดความเร็วไว้สูงขึ้นเป็น 96 – 104 กม.ต่อชม.
ตัวเลขความเร็วในการขับขี่ที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดอาจจะไม่สูงมากนัก แต่เมื่อคำนวณอัตราส่วนการเกิดอุบัติเหตุแล้ว การใช้ความเร็วที่สูงขึ้นดังกล่าวจะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิตเพิ่มมากขึ้นถึง 10% เลยทีเดียว
“การขับขี่ด้วยความเร็วทำให้เกิดอันตรายมากขึ้น นั่นคือกฎฟิสิกส์ขั้นพื้นฐาน” IIHS ระบุ อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยครั้งนี้ไม่มีการนำปัจจัยเกี่ยวกับการกำหนดระยะห่างระหว่างคันหน้ามาคำนวณด้วย และไม่ได้คำนึงถึงความรวดเร็วในการตอบสนองของระบบนี้ที่เหนือกว่ามนุษย์
อดีตนักข่าว เอเจนซี่ และฟรีแลนซ์ฝีมือเยี่ยม ที่นำประสบการณ์ร่วม 20 ปีมาถ่ายทอดคอนเทนท์และประเด็นข่าวในวงการยานยนต์ทั้งไทยและเทศในรูปแบบที่สดใหม่และแตกต่าง
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });