เบรคมือ คือระบบห้ามล้อหลัง ที่ทำงานโดยไม่ผ่านระบบไฮดรอลิกต่างๆ ไม่ใช้ปั๊มเบรค ไม่มีน้ำมันเบรคมาร่วม เพื่อเป็นระบบเบรคที่ทำงานในตอนจอดรถ หรือในยามเบรคเสีย หรือน้ำมันเบรครั่ว เดิมทีถูกออกแบบมาให้ใช้มือจับเป็นตัวเริ่มทำงาน จึงนิยมเรียกกันว่า “เบรคมือ” ตามลักษณะดังกล่าว จนเคยชิน
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
แต่ในสมัยใหม่นี้ มีเบรคมือที่แตกต่างกันออกไป นั่นคือแบบไฟฟ้า ที่กำลังมาแทนที่รถยนต์ในทุกระดับ แต่ก็ใช้ว่าของใหม่จะดีกว่าเก่าเสมอไป มีบางอย่างที่เบรคมือรุ่นเก่ายังให้คุณค่าได้มากกว่า ไปดูวิธีการใช้งานตรงความแตกต่างระหว่างแบบกลไกดั้งเดิม และแบบไฟฟ้า ว่าจะชอบแบบไหนมากกว่ากัน
เบรคมือกลไก มีทั้งมือดึงและเท้าเหยียบ
เบรคมือชนิดนี้ แรกเริ่มเป็นด้าม ใช้มือจับดึงสายสลิงเชื่อมต่อกับเบรกล้อ ทำให้ไปขัดการหมุนอย่างสนิททันทีตามแรงดึงของมือเรา ต่อมาพัฒนาเป็นแป้นใช้เท้าซ้ายเหยียบลงไป ซึ่งตัวแป้นเบรคมืออยู่ห่างจากแป้นเบรคปกติ ทำให้ต้องยกขาสูงขึ้นมาเหยียบลงไป แต่ก็ยังได้ชื่อว่าเป็น เบรคมือ อยู่ดี โดยไม่สนใจว่าจะต้องใช้เท้าเหยียบ
เบรคมือไฟฟ้า เหลือแค่สวิตช์ติดคอนโซล
ในปัจจุบันมีเบรคมือไฟฟ้าเข้ามาทำงานแทนที่ โดยเป็นสวิตช์ขนาดเล็ก อยู่บนคอนโซลกลาง หรือคอนโซลฝั่งคนขับ ใช้นิ้วมือกดขึ้นเพื่อเปิดการทำงาน ให้ไฟฟ้าแล่นไปสั่งมอเตอร์หมุนเฟืองไปหนีบเบรคล้อหลังเอาไว้ แต่ยังถูกควบคุมด้วยเซนเซอร์จับความเร็วอีกที ก่อนจะส่งแรงไปหมุนมอเตอร์ไฟฟ้าด้วย
เบรคมือไฟฟ้า ของใหม่ดีกว่าเก่า
ระบบเบรคมือแบบนี้ เหลือเพียงสวิตช์แค่ตัวเดียวบนคอนโซล ทำให้ประหยัดพื้นที่ และไม่ต้องออกแรงโหนด้ามเบรคมือหนักๆอีกต่อไป แค่ใช้นิ้วเขี่ยขึ้นมาเพื่อเปิด และกดลงไปเพื่อปิด ที่เหลือปล่อยให้คอมพิวเตอร์คิดเอาเองว่าควรจะหยุดด้วยแรงเท่าใด โดยควบคุมจากความเร็วที่ตรวจจับได้ ซึ่งหากขับในความเร็วสูงแล้วเผลอดันปุ่มเบรคมือไฟฟ้า ล้อหลังก็จะไม่ล็อคตายทันที แต่ค่อยๆช้าลงจนหยุดสนิท
เบรคมือไฟฟ้า มาพร้อม Auto Hold
ระบบไฟฟ้านี้จะพ่วงกับระบบ Auto Hold คือระบบดึงเบรคมือให้อัตโนมัติ เมื่อเราเหยียบแป้นเบรคนานเกินเวลาที่รถกำหนดไว้ และจะตัดการทำงานเบรคมือออกทันที เมื่อคนขับเหยียบคันเร่ง นิยมใช้ในสภาพการจราจรติดขัด ช่วยให้คนขับไม่ต้องเหยียบเบรคติดไฟแดงนานๆ หรือต้องขยับเกียร์เข้า N และ D สลับไปมาบ่อยๆ
เบรคมือกลไก ไม่ต้องสตาร์ทเครื่องก็ใช้ได้
ดูเหมือนว่าเบรคมือไฟฟ้าจะดีไปซะทุกเรื่อง ฉลาดไปทุกอย่าง แต่มีบางอย่างที่เบรคมือกลไกยังเจ๋งกว่าอยู่ดี เพราะเบรคมือกลไกไม่ใช้ไฟฟ้า ดังนั้นคุณสามารถปลดเบรคมือเมื่อไหร่ก็ได้ โดยไม่ต้องสตาร์ทเครื่องยนต์ เช่น การเข็นรถตอนแบตหมด หรือเลื่อนรถจากที่จอด เป็นต้น หากเทียบกับเบรคมือไฟฟ้า คุณต้องสตาร์ทเครื่องก่อน แล้วค่อยปลดเบรคมือตามปกติ ซึ่งเมื่อแบตหมดหรือเครื่องสตาร์ทไม่ติด จะมีขั้นตอนปลดเบรคมือไฟฟ้า ซึ่งยุ่งยากกว่าแบบกลไกมาก
เบรคมือกลไก ซ่อมง่าย ราคาถูก
แน่นอนว่า เบรคมือกลไก มีชิ้นส่วนน้อยกว่า เวลาซ่อมแซมก็ทำได้ง่าย ซึ่งเจ้าของรถที่มีความรู้เบื้องต้น ก็สามารถตั้งสายเบรคมือเองได้เลยทันที หรือถ้าสายเบรคมือขาด ก็ยังขับต่อไปยังอู่ใกล้บ้านให้เปลีั่ยนได้ ส่วนฟันเฟืองเบรคมือกลไก ที่มีเสียงดังแก๊กๆเวลาดึงขึ้นนั้น มีอายุการใช้งานยาวนานมากๆ เพราะส่วนใหญ่ทำจากเหล็กหล่อ ดังนั้นไม่ต้องกังวลว่าเสียงแก๊กๆ คือเฟืองพัง เทียบกับเบรคมือไฟฟ้าแล้ว หากระบบไฟฟ้าเสีย ก็ทำอะไรไม่ได้นอกจากเสียเงินค่าลากไปเข้าศูนย์บริการ ซึ่งราคาอะไหล่แพงกว่าเบรคมือกลไกแน่นอน
อันที่จริงแล้ว เบรคมือไฟฟ้ามีไว้เพื่ออำนวยความสะดวกสบายเป็นหลัก และเบรคมือกลไกก็ไม่ได้อันตรายจนน่าหวาดกลัว ยกเว้นแต่ว่าจะใช้เบรคมือกลไกไปขับเล่นผาดโผน อย่างไรก็ตามความสะดวกสบาย มันก็มีราคาที่ต้องแลกกัน อาจจะแพงบ้างในช่วงแรกๆ แต่อนาคตอีกหลายปี ค่าซ่อมจะถูกลงมาเรื่อยๆ และคิดว่าเทคโนโลยีนี้จะแพร่หลายเป็นมาตรฐานต่อไปในอนาคต เหมือนอย่างที่ระบบกระจกไฟฟ้าเคยสร้างมาตรฐานเอาไว้
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });