ประตูไฟฟ้าที่มีฟังก์ชั่นดูดปิดอัตโนมัติของ Mercedes-Benz (เมอร์เซเดส-เบนซ์) ถูกร้องเรียนว่ามีอันตรายเพราะอาจหนีบนิ้วขาดจนสะบั้นได้ง่าย ๆ
เว็บไซต์ Car Complaints รายงานข่าวเกี่ยวกับคดีการฟ้องร้องของริชาร์ด คาสติเกอร์ ผู้ช่วยนายอำเภอไพมา เคาท์ตี้ในรัฐแอริโซน่าของสหรัฐอเมริกา ผู้เป็นเจ้าของรถ 2020 Mercedes-Benz GLE 450 ที่ต้องสูญเสียนิ้วโป้งมือข้างหนึ่งหลังจากถูกประตูของรถเอสยูวีหนีบ
เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคมปีที่แล้ว ริชาร์ดและภรรยาเดินทางกลับมาถึงบ้าน หลังจากจอดรถและกำลังลงจากรถ เขาใช้มือข้างหนึ่งจับที่เสาหลังคากลางแต่ทันใดนั้นประตูก็ปิดกะทันหันจนขยี้ส่วนบนของนิ้วโป้งจนแตกละเอียด
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
เจ้าหน้าที่หน่วยฉุกเฉินเดินทางมาถึงที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็ว แต่ถึงแม้จะพยายามรักษานิ้วที่ถูกหนีบอย่างเต็มความสามารถก็ไม่สามารถทำให้เหมือนเดิมได้เพราะกระดูกส่วนบนถูกบดละเอียดไปแล้ว หลังจากนั้น ริชาร์ดต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อตัดกระดูกนิ้วมือท่อนต้น เนื้อเยื่อ และเส้นประสาทโดยรอบทิ้งไป
ริชาร์ดตัดสินใจฟ้องร้องค่ายรถยักษ์ใหญ่สัญชาติเยอรมัน พร้อมเรียกร้องค่าเสียหาย 500,000 เหรียญสหรัฐหรือประมาณ 16 ล้านบาท เพราะการสูญเสียนิ้วโป้งทำให้เขาขาดรายได้มหาศาล
“สุภาพบุรุษที่เคยมีความภาคภูมิใจในตนเองจากการได้ทำงานเพื่อปกป้องชุมชน บัดนี้กลับต้องพึ่งพาภรรยาในการเข้าห้องน้ำ อาบน้ำ แปรงฟัน และติดกระดุมเสื้อของตนเอง เขาต้องเผชิญกับความยากลำบากในการถือปากกา กินข้าว สวมรองเท้า และใช้เครื่องมือเครื่องไม้ต่าง ๆ” ส่วนหนึ่งของคำฟ้องร้องระบุไว้เช่นนี้
สำนวนคำฟ้องยังเปิดเผยด้วยว่าบานประตูถูกปิดลงในจังหวะที่สอง และคลิกกับแผ่นรับกลอนประตูที่ติดตั้งอยู่บนเสาหลังคากลาง หลังจากนั้นมอเตอร์ไฟฟ้าได้ดึงประตูปิดอัตโนมัติโดยไม่มีการแจ้งเตือนใด ๆ
ประตูของ Mercedes-Benz ควรมีเสียงแจ้งเตือน
เว็บไซต์ Car Complaints ระบุว่า ระบบประตูดูดไฟฟ้าของ Mercedes-Benz ทำงานตามปกติ แต่คำฟ้องร้องได้กล่าวหาว่าระบบดังกล่าวไม่มีการป้องกันที่ดีเพียงพอ โดยเฉพาะการขาดเซ็นเซอร์ตรวจจับเพื่อไม่ให้มีการหนีบนิ้วหรือมือ
คำฟ้องยังชี้ด้วยว่า Mercedes-Benz ไม่ควรทำการตลาดหรือจัดจำหน่ายรถยนต์รุ่นใดก็ตามที่มีประตูดูดไฟฟ้าแต่ไม่มีเซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุกีดขวาง พร้อมกับกล่าวหาว่าฟังก์ชั่นดังกล่าวไม่แตกต่างจาก “เครื่องประหารกีโยติน” ยุคใหม่ และค่ายรถยักษ์เยอรมันล้มเหลวในการแจ้งเตือนลูกค้าให้ทราบถึงอันตรายดังกล่าว
สำหรับในคู่มือรถเอสยูวี 2020 Mercedes-Benz GLE 450 ไม่ได้เขียนถึงประตูดูดไฟฟ้าโดยตรง แต่มีการระบุถึงอันตรายที่ “อวัยวะของร่างกายอาจกีดขวางการปิดประตูอัตโนมัติ เมื่อประตูกำลังปิด ควรแน่ใจว่าไม่มีอวัยวะใดกีดขวางอยู่”
ทั้งนี้ Mercedes-Benz ไม่ใช่บริษัทรถยนต์รายแรกที่ถูกฟ้องร้องจากการทำงานของประตูดูดไฟฟ้า แต่ Jaguar และ BMW ก็ยังเคยถูกฟ้องในกรณีคล้ายกันนี้เช่นเดียวกัน แต่ศาลยกฟ้องโดยให้เหตุผลว่า “มนุษย์ปิดประตูหนีบนิ้วตนเองมานานแล้วนับตั้งแต่มีการคิดค้นประตูรถขึ้นมา และประตูของ BMW ก็ไม่มีข้อยกเว้น”
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });