Toyota (โตโยต้า) นำเสนอระบบขับขี่อัตโนมัติเทคโนโลยีล่าสุดที่สามารถควบคุมรถยนต์หลายคันพร้อมกันได้ เตรียมใช้งานครั้งแรกในการแข่งขันโตเกียว โอลิมปิกเกมส์ กลางปี 2021
ระบบขับขี่อัตโนมัติรูปแบบใหม่ถูกพัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของแนวคิด Toyota Production System (TPS) ผสานฟังก์ชั่นการให้บริการสัญจร Mobility Services Platform (MSPF) เข้ากับระบบการจัดการขับขี่อัตโนมัติ Autonomous Mobility Management System (AMMS) ที่ช่วยเชื่อมต่อรถขับขี่อัตโนมัติหลายคันให้ทำงานประสานกันได้อย่างราบรื่นเพื่อการขนส่งผู้คนจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว
ค่ายรถยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่นนำระบบนี้มาทดลองใช้งานกับรถต้นแบบขับขี่อัตโนมัติ e-Palette รูปทรงคล้ายรถมินิบัส ขนาดตัวถังยาวประมาณ 5 เมตรและกว้างประมาณ 2 เมตร เปิดตัวครั้งแรกที่งานโตเกียว มอเตอร์โชว์ในช่วงปลายปี 2019
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
คุณสมบัติของระบบขับขี่อัตโนมัติเวอร์ชั่นล่าสุด
การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ตลอดทั้งปีนี้และมีแนวโน้มว่าจะลากยาวไปถึงปีหน้าทำให้วิถีชีวิตผู้คนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ผนวกกับปัญหา "สังคมสูงอายุ" ในประเทศญี่ปุ่นและอีกหลายชาติทั่วโลกทำให้ระบบการเดินทางขนส่งรูปแบบใหม่มีความจำเป็นมากขึ้น
Toyota จึงพัฒนาระบบขับขี่อัตโนมัติที่ “ตอบสนองทุกความต้องการได้ทุกเวลา” ผ่านรถต้นแบบ e-Palette ที่สามารถเคลื่อนที่ออกจากที่จอดไปรับผู้คนโดยอัตโนมัติแบบไร้คนขับ ตัวรถจะเคลื่อนที่ไปบนเส้นทางแบบวนลูป และสามารถเพิ่มจำนวนรถและความถี่ในการรับส่งผู้โดยสารถ้ามีความต้องการใช้งานมากขึ้น
เมื่อมีรถต้นแบบ e-Palette หลายคันบนเส้นทาง ระบบจะมีการควบคุมระยะห่างระหว่างรถแต่ละคันโดยอัตโนมัติตามระดับความต้องการใช้งาน ถ้ามีการตรวจจับความผิดปกติเกิดขึ้นกับตัวรถ ระบบจะสั่งการให้ตัวรถเคลื่อนที่กลับไปยังที่จอดโดยอัตโนมัติและรถคันใหม่จะออกมาแทนที่โดยทันที
ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน ตัวรถจะหยุดโดยอัตโนมัติเพื่อป้องกันความเสียหายและทำให้ผู้ใช้งานมีความอุ่นใจได้ในทุกสถานการณ์
ทำงานร่วมกับมนุษย์
Toyota พัฒนารถขับขี่อัตโนมัติด้วยแนวคิด “Jidoka” ซึ่งมีความหมายว่า “ระบบขับขี่อัตโนมัติประสานกับมนุษย์” แต่จุดเด่นอยู่ตรงที่พนักงาน 1 คนสามารถควบคุมฟลีตรถขับขี่อัตโนมัติได้หลายคัน ทำให้ไม่ต้องเปลืองแรงงานคนในการบริหารจัดการรถทั้งหมด
ขณะเดียวกัน รถต้นแบบ e-Palette ยังสามารถแสดงข้อมูลการทำงานของตัวรถผ่านการแสดงผลภาพในห้องควบคุม (คล้ายกับห้องควบคุมเครือข่ายรถไฟฟ้า) จึงเอื้อต่อการบำรุงรักษาที่รวดเร็ว และเพิ่มความสะดวกในการแก้ไขปรับปรุงหากเกิดปัญหาเกี่ยวกับตัวรถ
วางแผนเริ่มใช้งานปีหน้า
Toyota จับมือกับหุ้นส่วนหลายรายในการพัฒนาระบบขับขี่อัตโนมัติใหม่นี้ขึ้นมา พร้อมกับวางแผนใช้งานในเมืองต้นแบบ Woven City รวมถึงระหว่างการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์และพาราลิมปิกเกมส์ในกรุงโตเกียวที่ถูกเลื่อนจากปีนี้ไปเป็นเดือนกรกฎาคมปีหน้า
e-Palette จะถูกนำมาใช้เป็นรถมินิบัสวนลูปตามเส้นทางที่กำหนดเพื่อรองรับการใช้งานของนักกีฬาในหมู่บ้านนักกีฬาโอลิมปิกส์และสำหรับเจ้าหน้าที่จัดการแข่งขันตามสถานที่ต่าง ๆ
นอกจากนี้ Toyota ยังเตรียมใช้งานในเชิงพาณิชย์ในบางเมืองและบางภูมิภาคตั้งแต่หลังปี 2021 เป็นต้นไป ใครที่วางแผนเดินทางท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นหลังจากวิกฤต Covid-19 ผ่านพ้นไปก็น่าจะได้ใช้งานกันอย่างแน่น่อน
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });