Toyota Motor (โตโยต้า ) และ Isuzu Motors (อีซูซุ ) ประกาศผนึกกำลังกันร่วมทุนพัฒนารถเพื่อการพาณิชย์ เสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันในประเทศญี่ปุ่น
สำนักข่าว Reuters รายงานว่าภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว Hino Motors บริษัทลูกที่รับผิดชอบการผลิตและจำหน่ายรถบรรทุกของ Toyota จะร่วมมือกับ Isuzu ในการสร้างรถบรรทุกที่มาพร้อมเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าและไฮโดรเจนฟิวเซล
ก่อนหน้านี้ Toyota และ Isuzu เคยจับมือกับแชร์เทคโนโลยีเครื่องยนต์ดีเซลมานานถึง 12 ปี ก่อนที่จะยุติความร่วมมือกันในปี 2018
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
โยชิโอะ ชิโมะ ประธานกรรมการ Hino, อากิโอะ โตโยดะ ประธานกรรมการ Toyota และ มาซาโนริ คาทายาม่า ประธานกรรมการ Isuzu
จับมือกับสู้ศึกตลาดรถบรรทุก
ความร่วมมือระหว่างสองยักษ์ใหญ่ในตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีเป้าหมายเสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันท่ามกลางการต่อสู้กันอย่างดุเดือดในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีผู้เล่นหน้าใหม่อย่างบริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาร่วมวงไพบูลย์กันอย่างต่อเนื่อง
อากิโอะ โตโยดะ ประธานกรรมการ Toyota กล่าวว่า การเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมยานยนต์จากเครื่องยนต์สันดาปสู่ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้ Toyota ตัดสินใจจับมือกับ Isuzu อีกครั้ง
“เราเคยร่วมมือกับสร้างเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก แต่ในเวลานั้น เราไม่ได้มีโครงการที่มีเป้าหมายเฉพาะเจาะจง เราจึงตัดสินใจยกเลิกความร่วมมือ” โตโยดะ กล่าว “แต่ในปัจจุบัน รถอีวีมีความสำคัญมากขึ้น การวิจัยและพัฒนาร่วมกันจึงมีความจำเป็น”
ข่าวระบุด้วยว่า Toyota, Isuzu และ Hino จะร่วมกันก่อตั้งบริษัทร่วมทุนแห่งใหม่เพื่อดำเนินการวิจัยและพัฒนารถเพื่อการพาณิชย์รุ่นใหม่ซึ่งจะใช้ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า ไฮโดรเจนฟิวเซล เทคโนโลยีขับขี่อัตโนมัติ และแพลตฟอร์มอิเลคโทรนิคสำหรับการเชื่อมต่อถึงกัน ซึ่งความร่วมมือกันครั้งนี้จะช่วยลดต้นทุนได้อย่างมหาศาลและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการฟลีตรถบรรทุก
Toyota จะถือครองหุ้นในบริษัทใหม่เป็นสัดส่วน 80% ขณะที่ Hino ถือหุ้น 10% และ Isuzu ถือหุ้น 10%
“หาก Toyota และ Isuzu ร่วมมือกัน เราสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้ากลุ่มรถเพื่อการพาณิชย์ได้ถึง 80% ในประเทศญี่ปุ่นเลยทีเดียว” โตโยดะ กล่าว
ขณะที่มาซาโนริ คาทายาม่า ประธานกรรมการ Isuzu กล่าวว่า “บริษัทต่าง ๆ ต้องสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้างสังคมที่ดีกว่า”
Isuzu และ Mazda ในประเทศไทย
ย้อนกลับมาดูในบ้านเรา Isuzu จับมือเป็นพันธมิตรกับ Mazda เพื่อแบ่งปันเทคโนโลยีรถกระบะร่วมกัน โดยเมื่อไม่นานนี้เพิ่งมีการเปิดตัว Mazda BT-50 (มาสด้า บีที-50 ) เจนเนอเรชั่นใหม่ที่ถึงแม้รูปลักษณ์ภายนอกจะแตกต่างจาก Isuzu D-MAX (อีซูซุ ดีแม็กซ์ ) อย่างสิ้นเชิง แต่ภายในมีโครงสร้างแบบเดียวกัน
สำหรับการแข่งขันระหว่าง Toyota และ Isuzu ในบ้านเรายังคงดุเดือดต่อเนื่อง โดยยอดขายในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ฝ่ายแรกเพลี้ยงพล้ำในตลาดรถกระบะและรถพีพีวีไปเรียบร้อยแล้ว
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });