1 พฤศจิกายน 2563 เป็นต้นไป จะมีการเริ่มใช้ใบสั่งจราจรแบบใหม่ เพื่อความสะดวกสบาย สามารถจ่ายที่ธนาคารและสถานีตำรวจ โดยจะมีบาร์โค้ดไว้ให้แสกนได้ โดยเราได้นำรายละเอียดสำคัญ ๆ มาให้ดูกันวันนี้
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ออกโดย พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) จะมีการออกใบสั่งจราจรแบบใหม่ โดยเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
1. แบบใบสั่งเจ้าพนักงานจราจรออกให้ สำหรับให้กับผู้ขับขี่ ติด ผูก หรือแสดงไว้ที่รถ มีชุดละ 4 แผ่น แบ่งตามสีและวัตถุประสงค์สำหรับการใช้งาน ดังนี้
• แผ่นที่ 1สีขาว ใช้สำหรับการแสดงไว้ที่รถ ด้วยการแปะหรือผูก กรณีไม่เจอผู้ขับขี่
• แผ่นที่ 2 สีเหลือง ใช้สำหรับส่งให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการปรับคดีจราจร เพื่อทำการบันทึกลงคอมพิวเตอร์
• แผ่นที่ 3 สีชมพู ใช้สำหรับมอบให้พนักงานสอบสวน
• แผ่นที่ 4 สีฟ้า ใช้สำหรับเป็นสำเนา เก็บไว้เป็นหลักฐานสำหรับผู้ออกใบสั่ง
2.แบบ "ใบสั่ง" ส่งทางไปรษณีย์ ออกโดยอุปกรณ์ เช่น กล้องฝ่าไฟแดง กล้องฝ่าฝืนเครื่องหมายบนพื้นทาง ชุดละ 2 แผ่น มีรายละเอียดตามนี้
• แผ่นที่ 1 ใช้สำหรับส่งไปรษณีย์ให้กับผู้ครอบครองรถ
• แผ่นที่ 2 ใช้เป็นสำเนาหลักฐาน สำหรับผู้ออกใบสั่ง
วิธีการชำระเงิน
สามารถจ่ายค่าปรับ ได้ที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา, ผ่านแอพ KTB net bank หรือจ่ายที่สถานีตำรวจโดยตรง หลังถูกออกใบสั่ง 2 วันทำการ โดยใบสั่งมีอายุ 7 วัน
การปฏิเสธข้อหา
โดยหากประชาชนเห็นว่าการแจ้งข้อหาจราจร หรือการออกใบสั่งไม่ยุติธรรม สามารถปฏิเสธข้อหาได้ ซึ่งตำรวจจะทำการบันทึกข้อมูลการปฏิเสธด้านหลังใบสั่ง โดยมีเหตุผลคือ ไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา,ไม่ได้เป็นผู้ขับขี่ในขณะที่เกิดเหตุ, รถยนต์คันที่เกิดเหตุมิใช่รถของตนเอง
ทั้งนี้ ยังต้องนำใบสั่ง และพยานหลักฐานไปแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ผู้ออกใบสั่ง หรือเจ้าพนักงานสอบสวน เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและดำเนินการตามกฎหมายภายใน 15 วัน ตั้งแต่วันที่ได้รับใบสั่ง ซึ่งหากผู้ได้รับใบสั่งไม่ได้กระทำผิดจริง จะดำเนินการยกเลิกให้
สรุปง่าย ๆ อย่าโดนใบสั่งคือดีที่สุด
สรุปก็คือ ใบสั่งใหม่ มีการแก้ไขข้อความบางส่วน พร้อมการใส่ข้อหาที่กระทำผิดชัดเจน เช่น การเปลี่ยนช่องทางเดินรถในเขตห้ามหรือเมาแล้วขับ และสามารถปฏิเสธข้อกล่าวหาได้ หากมองว่าเป็นเท็จ
ส่วนในเรื่องของค่าปรับ ได้มีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องเกี่ยวกับข้อหาการกระทำผิด ซึ่งเราได้รวบรวมไว้ให้แล้ว อ่านต่อได้ที่นี่
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });