คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) อนุมัติแผนนโยบายสนับสนุนการผลิตรถพลังงานไฟฟ้าด้วยการให้สิทธิพิเศษด้านภาษีหลายด้าน หวังดึงเงินลงทุนมหาศาลเพื่อเป็นศูนย์กลางในอาเซียน
ดวงใจ อัศวจิตนจิตร์ เลขาธิการบีโอไอ กล่าวว่า บีโอไอเห็นชอบอนุมัติให้มีการส่งเสริมการลงทุนการผลิตยานพาหนะไฟฟ้า (อีวี) รอบใหม่หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาการขอรับการส่งเสริมการลงทุนรอบแรกไปเมื่อปี 2018 โดยรอบใหม่นี้จะเป็นการเปิดให้การส่งเสริมยานพาหนะไฟฟ้าทุกประเภท ทั้งรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถสามล้อ รถโดยสารและรถบรรทุกขนาดใหญ่ รวมถึงเรือที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า จากเดิมที่มีการส่งเสริมเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าและรถโดยสารไฟฟ้าเท่านั้น
“การอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนในกิจการยานพาหนะไฟฟ้าครั้งนี้จะช่วยจูงใจให้เกิดการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้นและช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ว่าจะผลิตรถไฟฟ้าในประเทศไม่น้อยกว่า 30% ภายในปี 2030” ดวงใจ กล่าวเพิ่มเติม
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
เปิดเงื่อนไขการยกเว้นภาษีรถพลังงานไฟฟ้า
สำหรับเงื่อนไขสำคัญของการส่งเสริมการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามีตั้งแต่การยกเว้นภาษี 3 ปีสำหรับบริษัทรถยนต์ที่ลงทุนผลิตรถปลั๊กอินไฮบริดในประเทศ และการยกเว้นภาษีสูงสุด 8 ปีสำหรับบริษัทที่ลงทุนผลิตรถพลังงานไฟฟ้า 100%
บีไอโอยังให้สิทธิพิเศษทางภาษีเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ทั้งการลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนาในประเทศ กำหนดเวลาการเริ่มต้นผลิตรถพลังงานทางเลือกก่อนปี 2022 กำลังการผลิตสูงสุด และเม็ดเงินลงทุนที่ต้องไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ บีโอไอยังให้ความสำคัญกับการผลิตชิ้นส่วนอีวีในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นชุดสายไฟกำลังสูง ชุดระบบส่งกำลัง ระบบหล่อเย็นแบตเตอรี่ และระบบเบรกเพื่อคืนพลังงาน ตลอดจนการลดภาษีนำเข้าชิ้นส่วนเพื่อการผลิตโมดูลและเซลส์แบตเตอรี่ในไทย
“การผลิตยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ทุกประเภท ผู้ลงทุนจะต้องเสนอแผนงานรวม เช่น โครงการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ โครงการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้า แผนการนำเข้าเครื่องจักรและติดตั้ง แผนการผลิตในระยะ 1 – 3 ปี แผนการผลิตหรือจัดหาชิ้นส่วนอื่นๆ และแผนการพัฒนาผู้ผลิตวัตถุดิบในประเทศไทย (ที่มีคนไทยถือหุ้นข้างมาก) เป็นต้น” ดวงใจ กล่าว
ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทการส่งเสริมรถพลังงานไฟฟ้าซึ่งมีเป้าหมายการผลิตรถอีวีให้มีสัดส่วนถึง 30% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในประเทศไทยหรือประมาณ 7.5 แสนคันจากทั้งหมด 2.5 ล้านคัน ภายในปี 2030
อย่างไรก็ตาม ไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านที่ต้องการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศเช่นกัน อาทิ รัฐบาลอินโดนีเซียมีการส่งเสริมการลงทุนรถพลังงานไฟฟ้าและกำลังหารือกับ Tesla อีกทั้งยังเพิ่งไฟเขียวให้เริ่มก่อสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ของ LG Chem ขณะที่สิงคโปร์ก็เพิ่งอนุมัติการก่อตั้งศูนย์นวัตกรรมรถพลังงานไฟฟ้าของ Hyundai ไปเมื่อไม่นานนี้
อดีตนักข่าว เอเจนซี่ และฟรีแลนซ์ฝีมือเยี่ยม ที่นำประสบการณ์ร่วม 20 ปีมาถ่ายทอดคอนเทนท์และประเด็นข่าวในวงการยานยนต์ทั้งไทยและเทศในรูปแบบที่สดใหม่และแตกต่าง
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });