ถุงลมนิรภัยเป็นนวัตกรรมที่ถูกคิดค้นมากว่า 50 ปีแล้ว เป็นสิ่งที่คนรู้จักกันดี เนื่องจากสามารถปกป้องหลาย ๆ ชีวิตในอุบัติเหตุ
หลายครั้งเมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน รถนั้นพังยับ กลับเกิดเหตุการณ์ที่ถุงลมนั้นไม่ทำงาน เรื่องนี้เป็นเพราะอะไรกัน? เป็นถุงลมปลอมหรือเปล่า?
เราจะมาอธิบายให้ฟังกันว่าทำไมเวลาเกิดอุบัติเหตุถุงลมกลับไม่ทำงาน
ถุงลมนิรภัยทำงานอย่างไร?
ถุงลมนิรภัย ใช้ระบบเซนเซอร์ตรวจจับแรงที่กระทำต่อตัวรถ จะเป็นคันโยกที่ติดอยู่กับสวิชต์วงจรที่เปิดอยู่ เมื่อใดที่เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงพอที่ทำให้คันโยกนี้ปิดวงจรนั้น ถุงลมนิรภัยก็จะเกิดทำงานขึ้นมา และพองตัวออกมาอย่างรวดเร็ว
บนรถทุกคันจะมีสวิชต์คันโยกดังกล่าวนี้อยู่หลายตำแหน่งด้วยกัน หนึ่งมุมรถก็จะมีสวิชต์นี้ตามตำแหน่ง เช่น หน้ารถมุมซ้ายขวา และในแผงประตูทุกบาน เพื่อที่จะตรวจสอบว่าแรงกระทำมาจากด้านไหน เพื่อที่จะใช้กางถุงลมนิรภัยในด้านนั้นอย่างถูกต้อง
การทำงานของถุงลม จะไม่ได้ถูกตั้งค่าให้ทำงานทุกครั้งที่มีอุบัติเหตุ ซึ่งโดยหลักจะทำงานเมื่อมีการชนด้านหน้าอย่างรุนแรงเท่านั้น ในรัศมีและแรงกระแทกที่กำหนด หากไม่อยู่ในรัศมีและแรงกระแทกไม่ถึงก็จะไม่ทำงาน เพราะโครงสร้างของรถและเข็มขัดนิรภัยก็เพียงพอแล้ว
อ่านเพิ่มเติม แต่งรถบ้านให้ยกสูงได้หรือไม่ ใช้งบเท่าไร?
ความเร็วเท่าไหร่ ถุงลมนิรภัยถึงจะทำงาน?
ความเร็วที่จะทำให้ถุงลมนิรภัยพองทำงาน ต้องมีความเร็วมากกว่า 20 กม./ชม. ในกรณีชนกับเสารถยนต์ประมาณ 30 กม./ชม.
สำหรับการชนกับรถที่จอดอยู่กับที่ กำแพงหรือคอนกรีต ต้องมีความเร็วมากกว่า 40 – 50 กม./ชม. จึงจะทำให้ถุงลมนิรภัยพองตัวมีการทำงานเกิดขึ้น
ถุงลมเป็นตัวเลือกสุดท้าย
สิ่งที่เราต้องเข้าใจคือ ในทุกกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ถ้าเป็นไปได้เราไม่อยากให้ถุงลมนิรภัยทำงาน เนื่องจาก 3 สาเหตุด้วยกัน
1. แม้ว่าถุงลมนิรภัยจะดูนุ่ม แต่ในความเป็นจริง ความรู้สึกเมื่อถุงลมกระแทกหน้า จะเหมือนโดนต่อยได้เลยทีเดียว ในทางกลับกันหากไม่มีก็จะสาหัสมากกว่า
2.หลักการทำงานของถุงลมนิรภัยนั้น ทำงานโดยใช้ระเบิดเป็นตัวสร้างลมพองถุงผ้าในเวลารวดเร็ว ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดรอยไหม้บนผิวหนังจากสารเคมี เสียงดังมากจนแก้วหูอาจจะแตก และสารเคมีก็อาจจะเข้าไปในปอด
3.ถ้าหากถุงลมนิรภัยกาง อุปกรณ์ภายในที่เราจะต้องเปลี่ยนจะมีราคาแพง ที่แผงหน้าปัด รวมไปถึงแตรพวงมาลัยเป็นจุดใส่แอร์แบคเอาไว้ ก็ต้องถูกเปลี่ยนยกชิ้น
อ่านเพิ่มเติม 4 การดูแลรักษารถยนต์ที่คุณอาจลืม
ชนแรง แต่ถุงลมนิรภัยก็ไม่ทำงานอยู่ดี?
เซนเซอร์ที่ใช้ตรวจจับแรงกระทำนั้น มีรัศมีการทำงานที่เฉพาะ เช่น การชนด้านท้าย หรือเมื่อรถพลิกคว่ำ ถุงลมนิรภัยก็อาจไม่ทำงานเนื่องจากไม่มีแรงกระทำที่ด้านหน้าหรือหลัง จึงทำให้บางครั้งเมื่อชนแบบเฉี่ยว ถุงลมนิรภัยก็จะไม่กางออกมา
สรุป: แล้วแต่สถานการณ์
ถุงลมนิรภัยนั้นไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นในทุกกรณี การถูกออกแบบมามีข้อจำกัดอยู่ ทั้งระบบเทคโนโลยีที่ใช้คันโยกสวิชต์เปิดปิด อีกทั้งยังมีตำแหน่งการวางที่อาจจะส่งผลให้ถุงลมนิรภัยไม่ทำงานในบางกรณี
อย่างไรก็ตาม ก็มีความเป็นไปได้ที่ถุงลมนิรภัยจะไม่ทำงานเนื่องจากความผิดพลาดของการผลิต หรือปัญหาของตัวรถ
การที่จะทำให้ถุงลมทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องมีตำแหน่งเบาะนั่งให้เหมาะสม และควรคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง ทำให้ร่างกายเราอยู่ในองศาที่ถูกต้อง และเกิดการบาดเจ็บที่น้อยลง
นอกจากนี้ห้ามวางสิ่งของบนแป้นถุงลมนิรภัย และห้ามติดสติกเกอร์บนบนพวงมาลัย เนื่องจากจะทำให้ถุงลมทำงานได้ผิดพลาดเช่นกัน