เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ หรือสายสีม่วง ส่วนต่อขยายช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ เป็นสิ่งที่ชาวฝั่งธนบุรีรอคอยกัน
คาดว่าจะก่อสร้างเสร็จในปี 2570 และจะสามารถใช้บริการเพื่อเดินทางได้ถึง 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เปิดข้อเสนอซองที่ 3 (ด้านราคา) การประกวดราคาจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา
ปรากฏผลการยื่นข้อเสนอซองที่ 3 ทั้งหมด 6 สัญญา พร้อมระยะทางการก่อสร้างที่อาจจะมีผลกระทบต่อเส้นทางการจราจรในพื้นที่ดังกล่าว ดังนี้
- ช่วงเตาปูน-หอสมุดแห่งชาติ
- ช่วงหอสมุดแห่งชาติ-ผ่านฟ้า
- ช่วงผ่านฟ้า-สะพานพุทธ
- ช่วงสะพานพุทธ-ดาวคะนอง
- ช่วงดาวคะนอง-ครุใน
- ระบบรางตลอดแนวเส้นทาง
แนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้
โครงการช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ-ครุใน เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 มาสู่แผนแม่บทฯ พ.ศ. 2547 โดยแก้ไขแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มเดิม (บางกะปิ-สามเสน-ราษฎร์บูรณะ) ช่วงสามเสน (หอสมุดแห่งชาติ)-ราษฎร์บูรณะ และแนวเส้นทางสายสีม่วงเดิม (หอสมุดแห่งชาติ-เตาปูน-บางพูด) ช่วงเตาปูน-หอสมุดแห่งชาติ นำมารวมกันเป็นเส้นทางสายสีม่วงที่เกิดขึ้นใหม่ และไปเชื่อมต่อกับเส้นทางสายสีม่วงส่วนแรกในช่วงบางใหญ่-เตาปูน
รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (Heavy Rail Transit) มีความจุประมาณ 320 คนต่อตู้ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ไม่น้อยกว่า 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
17 สถานี รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้
มีทั้งสิ้น 17 สถานี แบ่งเป็นใต้ดิน 10 สถานี ยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 20 เมตร มีประตูกั้นชานชาลา
และสถานียกระดับ 7 สถานี ยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 18 เมตร มีประตูกั้นชานชาลาที่สูงขึ้นมาจากพื้นระดับหนึ่ง
สถานีใต้ดิน 10 สถานี
- สถานีรัฐสภา : เชื่อมกับอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ อยู่ระหว่างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ และ ม.พัน 4 รอ.
- สถานีศรีย่าน : ตั้งอยู่ด้านหน้ากรมชลประทาน
- สถานีวชิรพยาบาล : ตั้งอยู่ด้านหน้าโรงพยาบาลวชิรพยาบาล
- สถานีหอสมุดแห่งชาติ : ตั้งอยู่หน้าหอสมุดแห่งชาติ และสมาเก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย
- สถานีบางขุนพรหม : ตั้งอยู่หน้าวัดเอี่ยมวรนุช
- สถานีผ่านฟ้า : ตั้งอยู่บริเวณใกล้ทางเชื่อมสถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยองสายสีส้มศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์
- สถานีสามยอด : ตั้งอยู่ใกล้แยกสามยอด เป็นสถานีร่วมของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางแค
- สถานีสะพานพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช : ตั้งอยู่บริเวณก่อนถึงสี่แยกบ้านแขก
- สถานีวงเวียนใหญ่ : ตั้งอยู่ใกล้กับวงเวียนใหญ่ จุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงยศเส-บางหว้า และรถไฟฟ้าสายสีแดงหัวลำโพง-มหาชัย
- สถานีสำเหร่ : ตั้งอยู่ใกล้ตลาดสำเหร่ และโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า
สถานียกระดับ 7 สถานี
- สถานีดาวคะนอง : ตั้งอยู่ระหว่างซอยสุขสวัสดิ์ 12 กับซอย 14
- สถานีบางปะแก้ว
- สถานีบางปะกอก : ตั้งอยู่ระหว่างซอยสุขสวัสดิ์ 23 และซอย 25
- สถานีแยกประชาอุทิศ : ตั้งอยู่ด้านหน้าซอยสุขสวัสดิ์ 44
- สถานีราษฎร์บูรณะ : ตั้งอยู่กลางถนนสุขสวัสดิ์ คร่อมคลองแจงร้อน
- สถานีพระประแดง : ตั้งอยู่ใกล้กับถนนวงแหวนอุตสาหกรรมสามแยกพระประแดง
- สถานีครุใน : ตั้งอยู่ปากซอยสุขสวัสดิ์ 70
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });