เมื่อวันที่ 18 มิถุนายนที่ผ่านมา ทางศุลกากรของประเทศฟิลิปปินสื ได้ออกมาทำลายรถหรูที่มีการลักลอบนำเข้าอย่างผิดกฎหมาย เพื่อเป็นการแสดงความจริงจังในด้านการจัดการในการกระทำผิด
แม้จะมีกระแสวิพากษณ์วิจารณ์ออกมาว่า ทำไมไม่เอาออกมาประมูลเพื่อหารายได้เข้ารัฐแทน?
ซึ่งในประเทศไทยเอง ก็มีข่าวแบบนี้ให้เห็นได้เรื่อย ๆ เช่นกัน เราจะมาดูกันว่า การลักลอบนำเข้ารถหนีภาษี มีวิธีการอย่างไร มีโทษอะไรบ้าง และจะทำอะไรต่อไปกับรถเหล่านั้น
นำเข้าไทยอย่างไร?
โดยหน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้ ก็คือ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) จากข้อมูลพบว่าการหลีกเลี่ยงภาษีในการนำเข้ารถหรูนั้นมีอยู่ 2 ลักษณะด้วยกันคือ
1.แสดงราคาเท็จ
เป็นการนำเข้ารถหรูทั้งคัน แต่แจ้งราคานำเข้าต่ำกว่าราคาจริง DSI จะประสานไปยังกรมศุลกากรและผู้ผลิตเพื่อขอทราบราคาจำหน่ายที่แท้จริง พร้อมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับตัวรถ
จากนั้นก็จะนำเปรียบเทียบระหว่างราคาที่แจ้ และราคาจัดจำหน่าย ซึ่งหากพบว่าราคาที่แจ้งนั้นเป็นเท็จ ก็ต้องเรียกภาษีเพิ่มพร้อมทั้งค่าปรับ โดยการนำเข้ารถหรูทั้งคันจะต้องเสียภาษี 3 ประเภท รวมแล้ว 328%
- ภาษีนำเข้า
- ภาษีสรรพสามิต
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.แจ้งว่าเป็นรถจดประกอบ
ซึ่งจะเป็นการเลี่ยงภาษี โดยมีทั้งผู้ที่นำรถเข้ามาทั้งคันแต่แจ้งว่าเป็นรถจดประกอบ และนำรถหรูมาแยกเป็นชิ้น ๆ แล้วนำเข้าในลักษณะของชิ้นส่วนเพื่อเลี่ยงภาษี
โดยจะเสียภาษีในอัตราของรถจดประกอบ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 30% เท่านั้น ซึ่งในส่วนของการตรวจสอบนั้น DSI จะเช็กเลขเครื่องและเลขตัวถัง หากพบว่าเลขเครื่องและเลขตัวถังเป็นเลขเดียวกันก็แสดงว่าเป็นรถคันเดียวกัน ไม่ใช่รถจดประกอบ ก็จะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ยกตัวอย่าง ไปซื้อรถยนต์ซุปเปอร์คาร์จากฝั่งยุโรปมาเป็นเงิน ยูโร นำเข้ามาในประเทศไทยแต่แจ้งเป็นเงินเหรียญสหรัฐหรือ USD ทำให้จ่ายรถลดลงจ่ายภาษีลดลงเยอะมาก
เช่น ราคารถจริงซื้อมา 286,000 ยูโรคิดเป็นเงินไทย 12 ล้านบาท พอนำเข้ามาแจ้งเป็น 105,000 เหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทย 3.4 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้เสียภาษีนำเข้าต่างกันเยอะมาก
ภาษีนำเข้ารถหรูจะอยู่ที่ 328% ถ้านำเข้าแบบตางจริง 286,000 ยูโร จะต้องเสียภาษี 41 ล้านบาท แต่พอสำแดงเป็น 105,000 เหรียญสหรัฐ จะเสียภาษีแค่ 11 ล้านบาท ทำให้รัฐศูนย์เสียรายได้จากภาษีไป 30 ล้านบาทเลยทีเดียว
มีโทษอย่างไรบ้างในไทย
สำหรับโทษในประเทศไทยบอกได้เลยว่าหนัก และมีเยอะมากตามกรณี หากสรุปให้พอสังเขปจะมี
- ความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร
- ความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากร
ซึ่งมีโทษเท่ากันคือปรับ 4 เท่าของราคารถบวกภาษี, จำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำและปรับ
ในส่วนของการสดงหลักฐานเท็จ หรือไม่เป็นจริง ปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือจำคุก 6 เดือน
ไทยมีการจัดการรถอย่างไร
ในส่วนของรถยนต์ที่นำเข้ามาแล้ว จะมีการจัดเก็บโดยตำรวจ ในอดีตเคยนำออกมาบดทำลาย แต่มีคนไปแจ้งเรื่องร้องเรียนสำนักงานตรวจแผ่นดิน (สตง.) กล่าวหาว่าทำลายของหลวง วิธีนี้จึงเลิกไป
ปัจจุบันจะมีการจัดรถเหล่านี้ออกมาประมูลกัน แต่ต้องรอให้คดีความสิ้นสุดก่อน และถึงแม้คดีสิ้นสุดแล้ว ก็ต้องส่งให้วิศวกรยานยนต์ เซ็นต์รับรองมาตรฐานความปลอดภัยก่อน ถึงจะนำมาขายทอดตลาดได้ นำรายได้เข้ารัฐต่อไป
เรื่องนี้มีแต่
หลายท่านอาจจะคิดว่า ฟังแล้วดูดี น่าไปลองร่วมงานประมูลกันสักครั้ง แต่เราไม่แนะนำเลยครับ เพราะแม้ราคาตั้งต้นประมูลจะถูกก็จริง แต่ว่ากันว่าในตัวรถก่อนมีการนำเข้ามามีการถอดกล่อง ECU สำหรับรถคันนั้น ๆ ไว้แล้ว แม้ท่านจะประมูลได้มา ก็เหมือนได้ซากรถเปล่า ๆ มาเพราะมันขับไม่ได้
ถามว่ากล่อง ECU เหล่านี้ไปไหน? ส่วนมากก็ไปอยู่กับเจ้าของรถหรือคนนำเข้านั่นแหละครับ มันกลายเป็นช่องทาง เอารถเข้ามาถอดกล่องออก ให้ศุลกากรจับ ไปประมูล พอได้รถไปก็เอากล่องมาใส่ เท่านี้ก็กลายเป็นรถถูกกฎหมาย แถมจ่ายถูกกว่าภาษีอีกครับ