เพิ่งเผยโฉมสด ๆ ร้อน ๆ 2022 Mercedes-Benz EQS (2022 เมอร์เซเดส-เบนซ์ อีคิวเอส) รถพลังงานไฟฟ้าที่มีตำแหน่งการตลาดเป็นผลิตภัณฑ์ระดับแฟล็กชิพอัดแน่นเทคโนโลยีสุดล้ำมาอย่างครบครัน
ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์ที่มีความลู่ลมที่สุดในโลก ขุมพลังขับเคลื่อนไฟฟ้าที่โลดแล่นได้ไกลที่สุดรุ่นหนึ่งในระดับเดียวกัน และห้องโดยสารที่ล้ำสมัยด้วยจอแสดงผลขนาดยาวที่สุดในเซกเมนท์ ทำให้ Mercedes-Benz EQS คือรถยนต์ที่น่าจับตามองที่สุดในยุคเปลี่ยนผ่านจากเครื่องยนต์สันดาปสู่ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า
อย่างไรก็ตาม EQS ยังมาพร้อมกับกระจกมองข้างแบบดั้งเดิม ไม่ได้ใช้หน้าจอแสดงผลแทนเหมือนกับรถยนต์ไฟฟ้าหลายรุ่นในท้องตลาด เพราะเหตุใดมาหาคำตอบกัน
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
กังวลว่าผู้ขับขี่อาจเกิดอาการ “เมารถ”
โอลา คัลเลนเนียส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Daimler เปิดเผยว่าทีมนักวิจัยและพัฒนาของบริษัทฯ ได้ตัดสินใจใช้กระจกมองข้างแบบดั้งเดิม เนื่องจากเมื่อทดลองใช้งานหน้าจอแสดงผลแทนกระจกมองข้างแล้วพบว่า ผู้ขับขี่มักเกิดอาการเวียนหัวหรือพูดง่าย ๆ ก็คือเมารถนั่นเอง
“เราต้องการใส่เทคโนโลยีที่ดี ไม่ได้ต้องการแค่ใส่เทคโนโลยีอะไรเข้ามาก็ได้” คัลเลนเนียส กล่าวเพิ่มเติม “ผลการศึกษาพบว่าการดูภาพหน้าจอที่แสดงผลด้านหลังหรือด้านข้างตัวรถจะทำให้ผู้ขับขี่ส่วนใหญ่เวียนศีรษะ”
ความคิดเห็นของคัลเลนเนียสและทีมนักพัฒนาของ Daimler ตรงกันข้ามกับอีกหลายค่ายรถยนต์อย่าง Audi (อาวดี้) และ Lexus (เลกซัส) รวมถึง Honda (ฮอนด้า) ที่ติดตั้งกล้องตรวจจับแสดงผลบนหน้าจอในรถแทนกระจกมองข้างในรถยนต์ไฟฟ้าหลายรุ่น
ขณะเดียวกัน ถึงแม้คัลเลนเนียสจะยอมรับว่าการติดตั้งกล้องขนาดเล็กแทนกระจกมองข้างจะช่วยเพิ่มความลู่ลมตามหลักอากาศพลศาสตร์ แต่การต้องเพิ่มระบบจ่ายไฟฟ้าให้กล้องและจอแสดงผลนั้นเป็นเรื่องยุ่งยากจนกลบมิดประโยชน์ด้านแอโรไดนามิก
ไฮไลท์อยู่ที่ระบบขับเคลื่อนและดีไซน์
2022 EQS ใหม่มีระบบขับเคลื่อน 2 รุ่นย่อยที่มาพร้อมชุดแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนขนาด 108.7 กิโลวัตต์ชั่วโมงเหมือนกัน เริ่มต้นที่ EQS 450+ มีมอเตอร์ไฟฟ้า 1 ตัว พละกำลังสูงสุด 329 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 550 นิวตันเมตร ขับเคลื่อนล้อหลัง อีกหนึ่งรุ่นคือ EQS 580 4Matic มีพละกำลังสูงสุดถึง 516 แรงม้า แรงบิดมหาศาล 828 นิวตันเมตร ขับเคลื่อน 4 ล้อ สามารถออกตัวจาก 0-96 กม.ต่อชม. ภายในเวลาเพียง 4.1 วินาทีเท่านั้น
Mercedes-Benz เคลมไว้ว่า EQS สามารถโลดแล่นได้ไกล 770 กม. ต่อการชาร์จไฟเต็มแบตเตอรี่หนึ่งครั้ง ซึ่งถือว่าไกลมากที่สุดในระดับเดียวกัน
นอกจากชุดแบตเตอรี่ขนาดใหญ๋แล้ว สิ่งหนึ่งที่ทำให้ EQS โลดแล่นได้ไกลถึงขนาดนั้นก็คือตัวถังที่ลู่ลม โดยมีค่าแรงเสียดทานอากาศเพียง 0.20 เท่านั้น ถือเป็นรถโปรดักชั่นที่มีความลู่ลมตามหลักแอโรไดนามิกมากที่สุดในโลก
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });