เผยยอดขายรถยนต์ตลอดทั้งปี 2563 ตลาดโดยรวมหดตัว 21.4% ผลกระทบจากโควิด-19 แต่ Isuzu ผงาดเติบโตเหนือตลาด ด้าน Toyota คาดปีนี้ฟื้นตัวดีขึ้น
ยอดขายรถยนต์รวมทุกแบรนด์ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมาอยู่ที่ 104,089 คัน เพิ่มขึ้น 11.3% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว โดยตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราเติบโตมากที่สุดที่ 16.7% ขณะที่ตลาดรถยนต์นั่งขยายตัวเล็กน้อยที่ 3.1%
Toyota ยังคงทำยอดขายรวมนำมาเป็นอันดับหนึ่งในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยทำตัวเลขรวมทุกเซกเมนท์ได้ที่ 33,197 คัน ขณะที่อันดับ 2 เป็นของ Isuzu ซึ่งเพิ่งเปิดตัว 2021 Isuzu MU-X (อีซูซู มิวเอ็กซ์) ใหม่ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มียอดขายรวม 22,917 คัน และอันดับ 3 คือ Honda ทำยอดขาย 10,075 คัน
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
|
สถิติการขายรถยนต์ในประเทศปี 2563
|
ยอดขายปี 2563 |
เปลี่ยนแปลง
เทียบกับปี 2562
|
ปริมาณการขายรวม |
792,146 คัน |
-21.4% |
รถยนต์นั่ง |
274,789 คัน |
-31.0% |
รถเพื่อการพาณิชย์ |
517,357 คัน |
-15.1% |
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) |
409,463 คัน |
-16.8% |
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) |
364,887 คัน |
-15.5% |
สำรวจยอดขายตลอดทั้งปี 2563
การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ยอดขายรวมทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยทรุดตัวลงอย่างหนัก โดยปิดตัวเลขสะสมระหว่างเดือนมกราคมถึงธันวาคม 2563 อยู่ที่ 792,146 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าถึง 21.4%
บริษัทรถยนต์ที่ทำยอดขายรวมในปี 2563 ติดอันดับท็อป 3 ได้แก่ Toyota, Isuzu และ Honda แต่เป็น Isuzu บริษัทเดียวที่สามารถทำยอดขายเติบโตเพิ่มขึ้น 7.7% ในปี 2563 ที่ผ่านมา ขณะที่ Toyota และ Honda มียอดขายลดลงถึง 26.5% และ 26.1% ตามลำดับ
เมื่อดูแบบแยกเซกเมนท์ ตลาดรถยนต์นั่งมียอดขายรวม 274,789 คัน ลดลงจากปีก่อนหน้า 31.0% โดยผู้นำตลาดรถยนต์นั่งได้แก่ Honda มียอดขาย 77,419 คัน ครองส่วนแบ่งตลาด 28.2% ขณะที่อันดับ 2 คือ Toyota ยอดขาย 68,152 คัน ส่วนแบ่งตลาด 24.8% อันดับ 3 ตามมาห่าง ๆ คือ Nissan มียอดขาย 27,210 คัน ส่วนแบ่ง 9.9%
สำหรับตลาดรถกระบะและรถกระบะดัดแปลง (PPV) ค่าย Isuzu นำโด่งด้วยยอดขายรวม 168,467 คัน เพิ่มขึ้น 10.0% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และครองส่วนแบ่งตลาด 41.1% อันดับ 2 คือ Toyota มียอดขาย 149,635 คัน ลดลงจากปีที่แล้ว 21.9% และครองส่วนแบ่งตลาด 36.5% และอันดับ 3 คือ Mitsubishi ยอดขาย 35,046 คัน ลดลงจากปีก่อน 29.0% และมีส่วนแบ่งตลาด 8.6%
คาดยอดขายรถยนต์ปี 2564 ฟื้นตัว 7-14%
โนริอากิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย กล่าวว่า ปีนี้จะเป็นปีที่ท้าทายอีกครั้งสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทย เนื่องจากยังคงต้องเผชิญกับหลายปัจจัย จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 การพัฒนาวัคซีนและการเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 รวมถึงแนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก
“ปัจจัยลบทั้งหมด รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ ทั้งหมดนี้จะส่งผลต่อทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ นอกจากนี้ ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ กิจกรรมทางการตลาด และกิจกรรมส่งเสริมการขายต่าง ๆ จะมีบทบาทสำคัญต่อการกระตุ้นยอดขายรถยนต์ ดังนั้น เมื่อพิจารณาปัจจัยต่างๆ เหล่านี้แล้ว จึงคาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ในปี 2564 จะอยู่ที่ประมาณ 850,000 – 900,000 คัน เพิ่มขึ้น 7-14% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา” ยามาชิตะกล่าวเพิ่มเติม
|
ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2564 |
ยอดขาย
ประมาณการปี 2564
|
เปลี่ยนแปลง
เทียบกับปี 2563
|
ปริมาณการขายรวม |
850,000 – 900,000 คัน |
+ 7-14% |
รถยนต์นั่ง |
290,000 – 318,000 คัน |
+ 5-15% |
รถเพื่อการพาณิชย์ |
560,000 – 582,000 คัน |
+ 8-13% |
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });