พันธมิตรองค์กรภาครัฐและเอกชนของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการศึกษาเพื่อพัฒนา “นิคมอุตสาหกรรมที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน” อันประกอบด้วยกลุ่มองค์กรพันธมิตรที่ร่วมลงนามในพิธีการที่จัดผ่านทางออนไลน์ ได้แก่ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.), บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด, บริษัท โอซาก้า แก๊ส (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน), บริษัท คันไซ อิเลกทริค เพาเวอร์ จำกัด, บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และ บริษัท โตโยต้า ทูโช (ไทยแลนด์) จำกัด โดยมี ประธานกรรมการของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และหน่วยงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานในสังกัดกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ของประเทศญี่ปุ่น เข้าร่วมเป็นสักขีพยานภายในงาน นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจาก มร.นาชิดะ คาสุยะ เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งญี่ปุ่นประจำราชอาณาจักรไทย ร่วมแสดงความยินดีกับผู้เข้าร่วมในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564
ทั้งนี้ แต่ละภาคส่วนที่ลงนามความร่วมมือภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการศึกษาเพื่อพัฒนา "นิคมอุตสาหกรรมที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน” จะทำงานร่วมกันเพื่อดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการเดินหน้าบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานของพลังงานสะอาดประเภทต่างๆ เช่น พลังงานไฮโดรเจน พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวภาพ ตลอดจนการคมนาคมที่ลดการปล่อยคาร์บอนให้เป็นศูนย์ภายในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและพื้นที่โดยรอบ ทั้งนี้ ในอนาคตจะมีการหารือร่วมกันเพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียน ตั้งแต่การผลิต การใช้ และการจัดเก็บ รวมถึงการพัฒนาโครงการสาธิตการใช้พลังงานไฮโดรเจนในพื้นที่มาบตาพุด ตลอดจนการผลักดันให้มีการใช้ยานพาหนะที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ ซึ่งรวมไปถึงรถยนต์ประเภทเซลล์เชื้อเพลิงที่ขับเคลื่อนโดยพลังงานสะอาดอย่างไฮโดรเจน อีกทั้งยังจะส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการจัดการพลังงาน
สืบเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ปัจจุบันจึงเกิดความพยายามมากมายที่จะพัฒนาเศรษฐกิจผ่านมาตรการต่าง ๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และส่งเสริมความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ซึ่งการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวต้องอาศัยการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ตลอดทั้งวัฏจักรชีวิตของพลังงาน ตั้งแต่การผลิต การจัดเก็บ การขนส่ง และการใช้พลังงาน นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องมีแหล่งพลังงานที่หลากหลายเพื่อให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนได้หลากหลายประเภทมากที่สุด
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
ในบริบทนี้ ถือได้ว่าไฮโดรเจนมีศักยภาพสูงเพราะสามารถผลิตขึ้นได้จากพลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียนหลากหลายประเภท เช่น พลังงานชีวมวล นอกจากนี้ การจัดเก็บและขนส่งไฮโดรเจนเหลวยังสามารถทำได้ง่ายกว่าพลังงานไฟฟ้าอีกด้วย และหลังจากที่นำเอาไฮโดรเจนไปผลิตไฟฟ้าแล้วก็มีแค่น้ำเท่านั้นที่ถูกปล่อยออกมา โดยผลลัพธ์ที่คาดหวังว่าจะได้รับจากความร่วมมือในการศึกษาครั้งนี้คือการระบุชี้ชัดให้ได้ว่าไฮโดรเจนและพลังงานสะอาดอื่น ๆ มีประโยชน์และอุปสรรคใดบ้างที่ต้องแก้ไขเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการใช้งานในอนาคต ซึ่งภาคส่วนต่างๆ ที่อยู่ภายใต้ความร่วมมือในครั้งนี้จะผนึกกำลังสร้างระบบนิเวศของพลังงานที่ยั่งยืนเพื่อมุ่งลดคาร์บอนตลอดทั้งวัฏจักรชีวิตของพลังงานหมุนเวียน ตั้งแต่การผลิต การจัดการ การใช้ และการขนส่ง
นอกจากนี้ ความร่วมมือดังกล่าวยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์ “ไทยแลนด์ 4.0” ที่รัฐบาลไทยได้กำหนดไว้เพื่อปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุคหน้าผ่านการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกจะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันวิสัยทัศน์นี้ต่อไป
นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เผยว่า “จากวิสัยทัศน์ของประเทศไทยที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว รวมถึงเรื่องไทยแลนด์ 4.0 ส่งผลให้ประเทศไทยสนับสนุนการลงทุนและโครงการต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดคาร์บอนเป็นศูนย์และส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงอื่น ๆ โดยเราหวังว่าโครงการความร่วมมือนี้จะเป็นต้นแบบเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความสำเร็จในระดับชาติต่อไป”
"ยิ่งไปกว่านั้น จากการที่รัฐบาลญี่ปุ่นตั้งเป้าผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคาร์บอนต่ำทั่วโลกผ่าน “กลยุทธ์การส่งเสริมระบบโครงสร้างพื้นฐานในต่างประเทศ 2025” (Infrastructure System Overseas Promotion Strategy 2025) และ “กลยุทธ์การเติบโตอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการบรรลุเป้าหมายคาร์บอนเป็นศูนย์” (Green Growth Strategy Through Achieving Carbon Neutrality) โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในครั้งนี้จึงได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ของประเทศญี่ปุ่น ภายใต้โครงการ “การศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานพลังงานคุณภาพสูงในต่างประเทศ” (Feasibility Study On the Overseas Deployment of High-quality Energy Infrastructure) ซึ่งนับได้ว่าเป็นการกระชับความสัมพันธ์อันแนบแน่นและยาวนานของทั้งสองประเทศ"
มร.นาชิดะ คาสุยะ เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งญี่ปุ่นประจำราชอาณาจักรไทย กล่าวถึงความร่วมมือครั้งสำคัญนี้ว่า “ผมรู้สึกภูมิใจที่ญี่ปุ่นซึ่งถือเป็นนักลงทุนรายใหญ่และเป็นมิตรแท้ของประเทศไทย จะมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนความเป็นกลางด้านคาร์บอนของประเทศไทยในภาคอุตสาหกรรม ผมมีความคาดหวังอย่างมากสำหรับอนาคตของความเป็นกลางด้านคาร์บอนของทั้งญี่ปุ่นและไทย การลดคาร์บอนของภาคอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย และห่วงโซ่ธุรกิจก๊าซไฮโดรเจนในภูมิภาคอาเซียนที่มีจุดเริ่มต้นมาจากประเทศไทย”
มร.โนริอากิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวในฐานะตัวแทนของบริษัทญี่ปุ่นที่ลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสายสัมพันธ์อันแนบแน่นและยาวนานระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น และในฐานะที่เป็นหนึ่งในบริษัทญี่ปุ่นที่อยู่ภายใต้ความร่วมมือในครั้งนี้ เราขอใช้ทักษะความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีที่มีอยู่เพื่อช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทยเดินหน้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน และเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีขั้นสูงที่สำคัญอีกแห่งของโลก”
นายนพดล ปิ่นสุภา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะตัวแทนของบริษัทไทยที่ลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ กล่าวว่า “ปตท. ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมด้านพลังงานสะอาดและพลังงานสีเขียว อันเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการพัฒนาด้านพลังงานทั่วโลกเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม ความร่วมมือในครั้งนี้สะท้อนความมุ่งมั่นของ ปตท. ในการพัฒนาธุรกิจและสังคมที่ยั่งยืน สอดคล้องไปกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานในปัจจุบันที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนซึ่งยังต้องอาศัยการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ เป็นอย่างมาก เราเชื่อว่าการที่เราร่วมมือเดินหน้าศึกษาความเป็นไปได้ในครั้งนี้จะทำให้ค้นพบวิธีการบริหารจัดการเทคโนโลยีพลังงานสะอาดขั้นสูงในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งจะผลักดันให้เกิดสังคมคาร์บอนต่ำ ตลอดจนปูทางไปสู่การพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืนไปพร้อม ๆ กัน”
ทั้งนี้ ทุกภาคส่วนภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว และอาเธอร์ ดี. ลิตเติล ซึ่งเป็นพันธมิตรที่ร่วมประสานงาน จะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อระบุรายละเอียดความร่วมมือเพิ่มเติมต่อไป ทั้งนี้เพื่อมุ่งผลักดันโครงการให้ประสบผลสำเร็จลุล่วงอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสนับสนุนให้ประเทศไทยเดินหน้าพัฒนาสู่การเป็นสังคมที่ยั่งยืนต่อไป
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });