มหาวิทยาลัยบราวน์ของสหรัฐอเมริกาเผยผลวิจัยฉบับล่าสุดระบุว่า การเปิดกระจกหน้าต่างขณะขับรถยนต์จะช่วยลดโอกาสติดเชื้อไวรัส Covid-19 (โควิด-19) ลงได้อย่างมีนัยสำคัญ
การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ในประเทศไทยทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นหลายร้อยคนต่อวัน กลุ่มที่ต้องพบปะผู้คนจำนวนมากย่อมมีโอกาสติดเชื้อได้มากกว่า โดยเฉพาะคนขับรถแท็กซี่หรือผู้ที่ใช้รถยนต์ของตนเองวิ่งแกร็บ (Grab) หารายได้พิเศษ
ล่าสุดมีผลวิจัยระบุว่าห้องโดยสารรถยนต์ที่ปิดทึบนั้นเพิ่มโอกาสการแพร่เชื้อไวรัสมากขึ้น และวิธีการป้องกันนั้นง่ายนิดเดียวก็คือการเปิดกระจกขณะขับรถนั่นเอง
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
เปิดหน้าต่างช่วยเพิ่มกระแสลมหมุนเวียน
วาจีส มาไท นักฟิสิกส์แห่งมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตต์ชี้ว่าถึงแม้ผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารจะสวมหน้ากากอนามัย แต่ก็ยังสามารถหายใจเข้า-ออก ปล่อยและรับเอาอนุภาคละอองฝอยเข้าสู่ร่างกายได้อยู่ดี ขณะเดียวกัน ห้องโดยสารรถยนต์ที่เป็นพื้นที่ปิดและมีความคับแคบจะมีการสะสมอนุภาคละอองฝอยในอากาศเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาเดินทางอีกด้วย
ผลวิจัยของดร.มาไทซึ่งจัดทำร่วมกับทีมนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยบราวน์ชี้ว่า การเปิดกระจกจะทำให้เกิดกระแสลมหมุนเวียนที่ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ระหว่างผู้ขับขี่และผู้โดยสาร
การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการจำลองการไหลเวียนอากาศด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยทำการทดลองในรถยนต์ Toyota Prius (โตโยต้า พริอุส) ขณะวิ่งด้วยความเร็ว 50 ไมล์ต่อชม. หรือประมาณ 80 กม.ต่อชม. มีผู้ขับขี่และผู้โดยสารอยู่ในรถรวมทั้งหมด 2 คน แยกกันนั่งเบาะหน้าและเบาะหลังตามลำดับเหมือนกับการโดยสารรถแท็กซี่หรือแกร็บตามปกติ
ผลวิจัยพบว่าแรงดันอากาศบริเวณเบาะหน้ารถจะมีน้อยกว่าแรงดันอากาศบริเวณเบาะหลัง กระแสลมหมุนเวียนจึงมีโอกาสที่จะไหลจากด้านหลังไปด้านหน้าได้มากกว่า
เมื่อทดลองขับขี่แบบปิดกระจกทุกบาน พบว่ามีโอกาสราว 8-10% ที่อนุภาคละอองฝอยของบุคคลหนึ่งจะลอยไปถึงอีกคนหนึ่งได้ ในทางกลับกัน ถ้าเปิดกระจกทุกบานลงจนสุด การไหลเวียนอากาศจะดีขึ้นอย่างมากและโอกาสที่อนุภาคละอองฝอยของบุคคลหนึ่งลอยไปถึงอีกคนนั้นจะลดลงเหลือ 0.2-2% เท่านั้น
นักวิจัยชี้ว่าการเปิดกระจกขณะขับรถเปรียบเสมือนกับเอาอากาศภายนอกเข้ามาสู่ด้านในรถและพัดพาอนุภาคละอองฝอยออกไป ทั้งนี้นักวิจัยทำการเปิดแอร์ตลอดเวลาทั้งการทดลองแบบเปิดและปิดกระจก
เปิดหน้าต่างแบบไหนได้ผลมากที่สุด?
ผลวิจัยระบุด้วยว่าการเปิดกระจกทุกบานเพียงครึ่งเดียวให้ประโยชน์เท่า ๆ กับการเปิดกระจกลงจนสุด แต่การเปิดกระจกเพียง 1 ใน 4 นั้นไม่เพียงพอต่อการสร้างกระแสลมหมุนเวียน
ขณะเดียวกัน การเปิดกระจกบานฝั่งตรงข้ามกับที่ผู้ขับขี่และผู้โดยสารนั่งอยู่ก็ยังช่วยสร้าง “ม่านอากาศ” ระหว่างเบาะหน้าและเบาะหลังได้เช่นกัน อาทิเปิดกระจกบานหน้าฝั่งซ้าย (ตรงข้ามกับผู้ขับขี่) และเปิดกระจกบานหลังฝั่งขวา (ตรงข้ามกับผู้โดยสารในรถแท็กซี่หรือแกร็บ) จะช่วยลดโอกาสการหายใจเอาละอองฝอยเข้าสู่ร่างกายลงได้
“การเปิดกระจกฝั่งตรงข้ามนั้นจะทำให้เกิดม่านอากาศ และช่วยระบายอากาศที่มีอนุภาคละอองฝอยจากลมหายใจของผู้ขับขี่-ผู้โดยสาร พร้อมกับสร้างกระแสลมระหว่างผู้ขับขี่และผู้โดยสารอีกด้วย” ดร. มาไท กล่าว “ผมสามารถยืนยันได้ว่าการเปิดกระจกทุกบานหรือเปิดอย่างน้อย 2 บานจะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อไวรัสลงได้”
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });