ผลวิจัยชิ้นสำคัญระบุ เจ้าของรถยนต์ไฟฟ้า Tesla (เทสล่า) บางส่วนยังขาดความเข้าใจในการทำงานของระบบขับขี่กึ่งอัตโนมัติ Autopilot ซึ่งอาจนำไปสู่อุบัติเหตุร้ายแรง
สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตต์หรือ MIT ของสหรัฐอเมริกาทำการสำรวจพฤติกรรมการขับขี่รถยนต์ Tesla เมื่อใช้งานระบบ Autopilot โดยพบว่าผู้ขับขี่ส่วนใหญ่พึ่งพาเทคโนโลยีดังกล่าวมากเกินไป “จนถึงขั้นอันตราย”
“รถยนต์ไฟฟ้า Tesla มีระบบต่าง ๆ ที่มีศักยภาพสูงที่สุดบริษัทหนึ่งในอุตสาหกรรมยานยนต์ แต่ก็มีอุบัติเหตุร้ายแรงเกิดขึ้นบ่อยครั้งเช่นกัน ถึงแม้จะถูกใช้งานตามปกติ” MIT ระบุในงานวิจัย
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
พบผู้ใช้งานไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ
รายงานการวิจัยของ MIT พบหลักฐานที่บ่งชี้ว่าผู้ขับขี่ไม่ได้ใช้ระบบ Autopilot ตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต ผู้ขับขี่มักขาดสมาธิหรือผ่อนคลายการควบคุมตัวรถมากเกินไป โดยมักหันไปใช้โทรศัพท์มือถือหรือค้นหาสิ่งของขณะที่ตัวรถกำลังเคลื่อนที่
“การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการขับขี่อาจเกิดจากความเข้าใจผิดที่มีต่อระบบหรือข้อจำกัดของระบบนี้ ผู้ขับขี่ยังอาจมีความเชื่อมั่นในระบบนี้มากจนเกินไป” ผลวิจัยชี้ “แท้จริงแล้วหากใช้งานอย่างถูกต้อง ระบบ Autopilot จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพขั้นสูง”
เมื่อเปิดใช้งานโหมดขับขี่กึ่งอัตโนมัติ Autopilot ซึ่งช่วยควบคุมตัวรถให้โลดแล่นไปตามเส้นทางและรักษาระยะห่างจากรถคันหน้าได้อย่างเหมาะสม ผลวิจัยพบว่า 22% ของผู้ขับขี่ Tesla จะละสายตาจากท้องถนนนานกว่า 2 วินาที
แต่เมื่อไม่ได้ใช้ระบบ Autopilot มีผู้ขับขี่เพียง 4% เท่านั้นที่หันเหความสนใจจากถนนข้างหน้าไปทำอย่างอื่นนานเกิน 2 วินาที
ทั้งนี้ ตามหลักการแล้ว ผู้ขับขี่ไม่ควรละสายตาจากถนนนานเกินกว่า 2 วินาทีเมื่อขับขี่ด้วยความเร็วปกติ เพราะหากนานเกินกว่านั้นอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ MIT จึงเรียกร้องให้บริษัทรถยนต์ติดตั้งระบบที่ช่วยตรวจจับสมาธิของผู้ขับขี่ทั้งเมื่อใช้หรือไม่ใช้ระบบขับขี่อัตโนมัติ
“วิธีการหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยก็คือระบบการตรวจจับสมาธิผู้ขับขี่ที่ดีกว่านี้เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนการทำงานของระบบขับขี่อัตโนมัติได้แบบเรียลไทม์” รายงานของ MIT ระบุ
บริษัทรถยนต์บางรายอย่าง Subaru ใช้กล้องตรวจจับการเคลื่อนไหวของสายตาผู้ขับขี่ แต่ Tesla ใช้เซ็นเซอร์ติดตั้งบนพวงมาลัยเพื่อตรวจสอบว่าผู้ขับขี่มีสมาธิอยู่บนท้องถนนหรือไม่ซึ่งทาง MIT ชี้ว่าไม่สามารถตรวจสอบสมาธิได้อย่างตรงเป้าเท่าใดนัก
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });