องค์การสหประชาชาติประกาศว่าน้ำมันมีสารตะกั่วสำหรับยานพาหนะได้สูญพันธุ์ไปจากโลกแล้ว หลังจากแอลจีเรียกลายเป็นประเทศสุดท้ายในโลกที่ยกเลิกใช้น้ำมันดังกล่าว
อินเกอร์ แอนเดอร์สัน ผู้อำนวยการโครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ (UNEP) กล่าวว่า การรณรงค์ห้ามใช้น้ำมันที่มีส่วนผสมของสารตะกั่วอย่างต่อเนื่องยาวนานจนกระทั่งบรรลุเป้าหมายสูงสุดที่ทุกชาติปลอดการใช้้นำมันดังกล่าวคือความสำเร็จครั้งใหญ่ในด้านสิ่งแวดล้อมและโลกของเรา
สารตะกั่วหรือเตตร้าเอทิลเลต (Tetraethyl Lead) ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในปี 1921 โดย General Motors เป็นของเหลวใส่ลงไปในน้ำมันเบนซินที่เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ เครื่องบิน และรถจักรยานยนต์ ทำให้มีออกเทนสูง และป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์มีอาการ “น็อก” หรือ “กระตุก”
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
ส่งผลดีต่อเครื่องยนต์แต่ให้ผลร้ายต่อสุขภาพ
น้ำมันที่มีสารตะกั่วช่วยเพิ่มสมรรถนะของเครื่องยนต์ได้ แต่ไอเสียที่ออกมาจากเครื่องยนต์และท่อไอเสียนั้นถือเป็นมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก และยังเป็นสารพิษที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้คน ทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง และทำให้เด็กเกิดภาวะเติบโตช้า
“น้ำมันมีสารตะกั่วคือความผิดพลาดครั้งใหญ่ของมนุษยชาติตั้งแต่แรกเริ่ม โลกของเราต้องรับมือกับผลที่เกิดขึ้นจากการใช้น้ำมันดังกล่าวมานานนับศตวรรษ” ร็อบ เดอ ยอง หัวหน้าคณะทำงานด้านการขับเคลื่อนอย่างยั่งยืนของ UNEP กล่าว
การห้ามใช้น้ำมันมีสารตะกั่วมาจากการรณรงค์ที่กินเวลายาวนานถึง 20 ปี ทั้งในด้านนโยบายของภาครัฐ การให้ความรู้ความเข้าใจต่อสาธารณะ และการพัฒนาน้ำมันเชื้อเพลิงประเภทอื่นมาทดแทน โดย UNEP คาดการณ์ว่าการแบนน้ำมันมีสารตะกั่วช่วยปกป้องชีวิตผู้คนได้มากขึ้น 1.2 ล้านคน และลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขลงได้ถึง 2.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
จนถึงปี 2002 น้ำมันมีสารตะกั่วยังถูกใช้ใน 117 ประเทศทั่วโลก ส่วนใหญ่เป็นชาติยากจนอย่างในทวีปแอฟริกาที่มีใช้กันเกือบทุกประเทศ กระทั่งในท้ายที่สุดในปี 2021 ประเทศแอลจีเรียได้บังคับใช้กฎหมายแบนน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวเป็นชาติสุดท้ายในโลก
ประเทศไทยยกเลิกใช้งานเมื่อ 25 ปีที่แล้ว
ประเทศไทยมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อลดปัญหามลพิษทางอากาศอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากการลดปริมาณสารตะกั่วในน้ำมันเบนซิน โดยการบังคับใช้น้ำมันเบนซินทุกประเภทไร้สารตะกั่ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ส่งผลให้ระดับตะกั่วในพื้นที่กรุงเทพมหานครลดลงอย่างชัดเจน
กรมควบคุมมลพิษระบุว่า สารตะกั่วเป็นสารพิษที่มีฤทธิ์ทำลายระบบประสาทและมีผลต่อกระบวนการรับรู้และการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ ในอดีตที่ผ่านมาสารตะกั่วในบรรยากาศมีปริมาณค่อนข้างสูงและอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยเฉพาะในเขตเมือง เช่น กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีปัญหาการจราจรหนาแน่น ปริมาณสารตะกั่วในบรรยากาศมีผลมาจากการสะสมของควันพิษจากการจราจรเป็นหลัก
ผลสำเร็จของการลดปริมาณสารตะกั่วในบรรยากาศนี้ แสดงให้เห็นถึงการดำเนินงานที่จริงจังและต่อเนื่องของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ จนในที่สุดก็สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้สำเร็จ ในช่วงปี 2540-2545 กรมควบคุมมลพิษ และวิทยาลัยการสาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันศึกษาแนวโน้มระดับตะกั่วในเลือดของตำรวจจราจรและเด็กนักเรียนในกรุงเทพมหานคร หลังจากมีการเริ่มใช้น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับตะกั่วในเลือดของตำรวจจราจรและเด็กนักเรียนในกรุงเทพมหานครลดลง หลังนโยบายการใช้น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว
นอกจากนี้ ยังได้ประเมินผลบวกต่อสุขภาพในรูปของมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยใช้วิธีการเดียวกับการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าผลประโยชน์ที่เกิดจากนโยบายการใช้น้ำมันไร้สารตะกั่วในประเทศไทย มีมูลค่าถึง 7 พันล้านบาท ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินนโยบาย (ในที่นี้หมายถึงต้นทุนการลดสารตะกั่วในน้ำมัน) ดังกล่าว มีมูลค่าประมาณ 200 ล้านบาท ซึ่งก่อให้เกิดมูลค่าของผลประโยชน์ทางสุขภาพสูงกว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินนโยบายถึง 32 เท่า ในปี พ.ศ. 2546
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });