ความเสี่ยงการเกิดเพลิงไหม้ในรถยนต์ไฟฟ้า อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในทวีปยุโรป พบว่ามีไม่มากไปกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซิน แต่ความพยายามในการดับไฟนั้นมากกว่าอย่างมหาศาล และหน่วยดับเพลิงรู้สึกว่า ตนเองไม่พร้อมต่อความเสี่ยงใหม่นี้ และไปดูที่เนเธอแลนด์ จะมีวิธีจัดการอย่างไรกับรถแบตเตอร์รี่ไฟไหม้
ดับเพลิงร้องผู้ผลิตรถ EV
รถยนต์ไฟฟ้า และรถยนต์ไฮบริด มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ บนถนนในยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเยอรมนี ประเทศศูนย์กลางเทคโนโลยี EV แห่งยุโรป ทำให้สมาคมดับเพลิงแห่งเยอรมนี ต้องการการสนับสนุนจากอุตสาหกรรมยานยนต์มากขึ้น เมื่อต้องรับมือกับไฟไหม้รถยนต์ไฟฟ้า โดยกล่าวว่า “ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ายังไม่มีความรับผิดชอบเพียงพอ ต่อความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องหลังจากเกิดเพลิงไหม้”
ไฟไหม้ EV ใช้น้ำเยอะกว่า 10,000 ลิตร
แม้ความเสี่ยงจากไฟไหม้ใน EV มีเท่ากับเครื่องยนต์เบนซิน แต่อย่างไรก็ตาม การดับแบตเตอรี่ที่กำลังไหม้มักจะซับซ้อน และน่าเบื่อหน่ายสำหรับนักดับเพลิง เนื่องจากรถยนต์ไฟไหม้ธรรมดา ใช้เวลาดับภายใน 15-30 นาที โดยใช้น้ำ 500 ลิตร แต่ในกรณีของ EV หน่วยดับเพลิงจะมีงานให้ทำ 2-3 ชั่วโมงและต้องใช้น้ำ 10,000 ลิตร กว่าจะดับไฟได้เสร็จ
นอกจากนี้ รถยนต์ไฟฟ้าจะต้องได้รับการสังเกตหลังจากเกิดเพลิงไหม้ 72 ชั่วโมง - เพื่อให้แน่ใจว่าแบตเตอรี่จะไม่เกิดไฟไหม้อีก ซึ่งนั่นไม่ใช่หน้าที่หน่วยดับเพลิง ทำให้ต้องถามถึงผู้ผลิต EV ให้ทำตามธรรมเนียมปฏิบัติในอุตสาหกรรมเคมี ในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ พวกเขาควรส่งผู้เชี่ยวชาญมาขนรถออกไปในภายหลัง
อ่านเพิ่มเติม : Tesla ฟันธงรถเครื่องยนต์สันดาปมีความเสี่ยงไฟไหม้มากกว่ารถไฟฟ้า 11 เท่า!
ไฟไหม้แบตเตอรี่ทำให้เกิดก๊าซพิษ
การเกิดไฟไหม้แบตเตอรี่นี้ เป็นการไหม้ด้วยวิธีการเคมี ดังนั้นจึงได้สารผลิตภัณฑ์เคมีรั่วไหลออกมา แม้มีเทคโนโลยีและการฝึกอบรมเข้มข้นระดับเยอรมันแล้ว ก็ยังความเสี่ยงอีกเป็นพิเศษ คือ แบตเตอร์รี่ปล่อยกรดไฮโดรฟลูออริกที่เป็นพิษสูง
สารนี้เป็นอันตรายถึงชีวิตสำหรับนักผจญเพลิง สามารถเข้าสัมผัสกับผิวหนังแม้ผ่านชุดป้องกันปกติ อาจส่งผลทำให้หยุดหายใจได้ หากความเข้มข้นสูงเกินไป ส่งผลโดยตรงกับเจ้าหน้าที่กู้ภัย ทั้งในกรณีดับเพลิงไหม้ แบตเตอรี่ในระบบโซล่าร์เซลล์ หรือรถยนต์ไฟฟ้า
อ่านเพิ่มเติม : จับตาอัฟกานิสถานอาจจะเป็นตัวแปรของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรือ EV ของโลกในอนาคต
รัฐบาลกลางกำลังรวบรวมปัญหาที่พบ
รัฐบาลกลางเยอรมนี ต้องการให้เรื่องการดับเพลิง EV ไม่ใช่เรื่องน่าแตกตื่น เพราะโอกาสเกิดขึ้นน้อยพอกับรถเครื่องยนต์ และไม่ต้องการให้คำร้องนี้ ส้รางความหวาดกลัวต่อภาพลักษณ์ของเทคโนโลยี EV ซึ่งน่าจะดีกว่าน้ำมันเบนซินและดีเซลทุกประการ
รัฐบาลกลางยังไม่ได้กล่าวถึงมาตรการพิเศษที่จำเป็น เช่น ถังเหล็กใส่น้ำขนาดยักษ์ ซึ่งรถยนต์ต้องจุ่มลง เพื่อลดความเสี่ยงที่แบตเตอรี่จะจุดระเบิดใหม่ แต่ตัวแทนรัฐบาลชี้ให้เห็นว่าการฝึกอบรมนักดับเพลิงและเจ้าหน้าที่กู้ภัยเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลกลาง เทศบาล และชุมชน ซึ่งยังต้องการข้อมูลเกี่ยวกับวิธีแก้ปัญหานี้
อ่านเพิ่มเติม : รัฐบาลไทยเอาจริง ส่งหนังสือทุกหน่วยจัดซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแทนรถหมดสัญญา หนุนนโยบายอีวี
ดับเพลิงชาวดัตช์ คิดวิธีดับไฟ EV
ที่ประเทศเนเธอแลนด์ นักผจญเพลิงชาวดัตช์ กำลังนำรถ BMW i8 ปลั๊ก-อิน ไฮบริด ที่กำลังเกิดควันพุ่งขึ้นมา จุ่มลงในภาชนะที่บรรจุน้ำ เพราะว่าจุดกำเนิดเปลวไฟเข้าถึงได้ยาก ทำให้ต้องใช้น้ำมาก และเสียเวลานาน ดังนั้นจึงนำถังน้ำขนาดยักษ์เข้ามาใช้
นอกจากจะสามารถดับไฟแล้ว ยังซึมซับสารเคมีอันตราย ไม่ให้ฟุ้งไปในอากาศด้วย โดยน้ำดับเพลิงที่ปนเปื้อนสารพิษนี้ จะถูกบำบัดและปล่อยออกมาโดยผู้เชี่ยวชาญภายหลัง ส่วนรถยนต์ที่จมน้ำ แม้ว่าแบตเตอรี่จะไม่ลุกเป็นไฟแล้ว แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดการลุกไหม้ได้เอง
อ่านเพิ่มเติม : BMW และ MINI เดินหน้าขยายไลน์รถยนต์ไฟฟ้าให้รถยนต์นั่งและครอสโอเวอร์ 4 รุ่นภายใน 2 ปี
การไฟไหม้รถยนต์ไฟฟ้า ย้ำอีกครั้งว่ามีโอกาสเกิดเท่ากับรถน้ำมันทั่วไป แต่กลายเป็นสิ่งที่น่ากังวลกว่ารถเครื่องยนต์ เพราะใช้ทรัพยากรในการดับไฟมาก มีความเสี่ยงสูง ซึ่งแม้แต่ในประเทศที่เจริญแล้ว ก็ยังต้องเรียนรู้และปัญหาใหม่นี้กันอยู่ กว่าเทคโนโลยี EV จะแก้ปัญหาจนเสถียร เป็นองค์ความรู้ตั้งแต่ต้นน้ำจรดปลายน้ำ น่าจะใช้เวลาอีก 10 ปีโดยประมาณ
อ่านเพิ่มเติม : Toyota ยืนยันผลิต bZ4X รถเอสยูวีไฟฟ้าออกขาย แต่ทำตลาดแบบ “ค่อยเป็นค่อยไป”