Mazda (มาสด้า) เคยสร้างชื่อเสียงก้องโลกด้วยการผลิตเครื่องยนต์โรตารี และถึงแม้พวกเขาจะไม่มีการจัดจำหน่ายรถสปอร์ตที่ใช้ขุมพลังดังกล่าวแล้ว แต่ตัวเครื่องยนต์ยังคงถูกผลิตอย่างต่อเนื่อง
ค่ายรถจากแดนอาทิตย์อุทัยเผยแพร่บทความล่าสุดในคอลัมน์ Classic Mazda ระบุว่าพวกเขายังเดินหน้าผลิตเครื่องยนต์โรตารี่รหัส 13B อันลือลั่นมาจนถึงปัจจุบันที่โรงงานผลิตเครื่องยนต์หมายเลข 2 ในเมืองฮิโรชิม่า จุดประสงค์ก็คือต้องการรักษาตำนานขุมพลังสูบหมุนให้อยู่ยั้งยืนยงสืบไป
เท็ตสึยะ ซาโตะ-ซัง หัวหน้าสายการผลิตที่ทำงานในโรงงานดังกล่าวของ Mazda มานานถึง 36 ปี ได้บอกเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจสำหรับคอรถยนต์โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัย 30 ปีขึ้นไปที่เติบโตมากับเสียงแผดคำรามของขุมพลังโรตารี่
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
สายการผลิตยังคงดำเนินมาตลอดหลายทศวรรษ
ซาโตะซังเปิดเผยว่า เครื่องจักรทุกชิ้นภายในโรงงานผลิตเครื่องยนต์ฮิโรชิม่าหมายเลข 2 ยังคงทำงานเหมือนเดิมทุกประการนับตั้งแต่เริ่มต้นเดินสายการผลิตในปี 1973 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ จากในอดีต แต่ต้องมีการบำรุงรักษาอย่างทะนุถนอมและสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวันเพื่อที่จะรักษาความแม่นยำในการผลิตไว้เช่นเดิม
“หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า Mazda ยังผลิตชิ้นส่วนเครื่องยนต์โรตารี่อย่างต่อเนื่อง เครื่องยนต์รุ่นนี้เคยติดตั้งไว้ในรถสปอร์ต RX-8 (มาสด้า อาร์เอ็กซ์-8) ที่ถูกยุติสายการผลิตไปแล้ว หลังจากนั้น เราผลิตชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ 13B รวมถึงบล็อกเครื่องยนต์ด้วยชิ้นส่วนใหม่ ๆ ตามคำสั่งซื้อของลูกค้า นั่นเป็นสาเหตุที่เรายังคงสายการผลิตไว้เหมือนเดิม” ซาโตะซัง กล่าวเพิ่มเติม
ซาโตะ และทีมงานอีก 9 คนทำงานในโรงงานดังกล่าวเป็นประจำทุกวัน มีกำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 200 – 400 เครื่องยนต์ต่อเดือนที่ถูกส่งออกไปทั่วโลก กระบวนการผลิตทั้งหมดต้องใช้ทักษะ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงลิบลิ่ว
ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ 13B ที่ซาโตะกล่าวถึงนั้นมีทั้งตัวโรเตอร์หรือลูกสูบ เอเป็กซ์ซีลหรือแหวนอัด เฮาส์ซิ่งหรือกระบอกสูบ เพลาเยื้องศูนย์ และชิ้นส่วนอื่น ๆ อีกมากมาย
โยชิคาซุ วาชิโอะ อีกหนึ่งทีมงานที่สั่งสมประสบการณ์นานถึง 35 ปี อธิบายว่าระยะห่างของชิ้นส่วนบางรายการอยู่ที่ 2 มม. โดยการผลิตต้องมีความแม่นยำอย่างสุดขั้วบวกลบระดับ -5 ถึง 12 ไมครอน (1 ไมครอนเท่ากับ 0.0001 มม.) ทั้งหมดเกิดจากทักษะของทีมงานและความสมบูรณ์ของเครื่องจักรผสมผสานกัน
ขณะที่ฮิโรมิชิ อาเบะ ทีมงานอีกคนในโรงงานแห่งนี้เปิดเผยว่า เครื่องยนต์โรตารี่มีความแตกต่างกันถึง 10 รุ่นย่อย ขึ้นอยู่กับรถยนต์ที่ติดตั้งและสเปกของตัวรถ ดังนั้น จึงต้องผลิตตามคำสั่งออร์เดอร์ที่มีมาจากทั่วโลก ทำให้บางครั้งจะใช้เวลานาน
อาเบะเผยว่าหนึ่งชิ้นส่วนอาจใช้เวลา 1 – 2 เดือนในการผลิตเพราะต้องผ่านขั้นตอนต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสายการผลิต ก่อนที่จะถูกนำมาประกอบเข้าด้วยกันกับชิ้นส่วนอื่น ๆ
เมื่อซาโตะซังถูกถามว่าการทำงานที่โรงงานแห่งนี้ตลอดหลายปีที่ผ่านมาถือว่าหนักหนาเกินไปหรือไม่ เขาตอบว่าทุกคนที่เข้ามาทำงานกับ Mazda ในยุคเดียวกับตนเองนั้นย่อมหลงรักในเครื่องยนต์โรตารี่จึงยินดีที่จะทำงานในสายการผลิตนี้
“ถึงแม้เครื่องยนต์โรตารี่จะไม่มีการติดตั้งอยู่ในรถยนต์รุ่นใหม่แล้ว แต่ผมสามารถเข้าใจในความยิ่งใหญ่ของขุมพลังนี้ ลูกค้าทั่วโลกที่ครอบครองรถ Mazda ที่ใช้หัวใจโรตารี่จะเข้าใจความรู้สึกนี้เป็นอย่างดี และผมหวังว่าพวกเขาจะสนุกกับการขับขี่ไปอีกนาน” ซาโตะซังกล่าวด้วยความมุ่งมั่น
สำหรับราคาของชิ้นส่วนต่าง ๆ ในเครื่องยนต์โรตารี่ ลองชมด้านล่างนี้ได้เลย
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });